
อาชญากรรมไซเบอร์ พุ่ง5เท่า-เว็บอันตรายอื้อ

ไอบีเอ็ม" เผยแนวโน้มภัยคุกคามบนเว็บเพิ่มขึ้น 5 เท่า และพบ "เว็บลิงก์" ไม่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นกว่า 500 เปอร์เซ็นต์ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย รายงานของ "เอ็กซ์-ฟอร์ซ" หน่วยงานวิจัยทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางด้านไอทีของไอบีเอ็ม เกี่ยวกับแนวโน้มและภัยคุกคามทางด้านออนไลน์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 พบว่า ปัจจุบันมีภัยคุกคามทางเว็บเพิ่มมากขึ้นในหลากหลายรูปแบบซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อ "อาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ต" อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
รายงานดังกล่าวชี้ว่า ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มีปริมาณเว็บลิงก์ที่ไม่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นถึง 508 เปอร์เซ็นต์ และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะโดเมนชื่อเว็บแปลกๆ หรือเว็บที่ไม่น่าไว้วางใจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเสิร์ชเอ็นจิ้นยอดนิยม บล็อก กระดานข่าว เว็บไซต์ส่วนตัว นิตยสารออนไลน์ และเว็บไซต์ข่าวชั้นนำเช่นเดียวกัน
จุดมุ่งหมายของภัยคุกคามต่างๆ พุ่งเป้าไปที่การเข้าถึงและควบคุมข้อมูลของผู้ใช้งาน รวมทั้งการโจมตีจุดอ่อนในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
นอกจากนี้ "เอ็กซ์-ฟอร์ซ" ยังเปิดเผยถึงการโจมตีเว็บในลักษณะซ่อนเร้น (veiled web exploits) ซึ่งมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโจมตีผ่านช่องโหว่ในไฟล์ตระกูลพีดีเอฟ (PDF) แนวโน้มดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า "อาชญากรไซเบอร์" ใช้วิธีการที่แยบยลและซับซ้อนมากขึ้น โดยจำนวนช่องโหว่ในไฟล์พีดีเอฟ (PDF) ที่ตรวจพบในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 แซงหน้าสถิติของจำนวนช่องโหว่ที่พบของไฟล์ทุกประเภทตลอดปี 2551
ทั้งนี้ เฉพาะช่วงครึ่งแรกของปี ทีมงานเอ็กซ์-ฟอร์ซตรวจพบเนื้อหาที่น่าสงสัย ปลอมแปลง หรือเทคนิคการโจมตีซ่อนเร้นในเว็บเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า
"แนวโน้มทางด้านภัยคุกคามต่างๆ ที่พบจากรายงาน แสดงให้เห็นว่าพวกเราผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคนล้วนตกอยู่ในสภาวะของความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางอาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตด้วยกันทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งการเข้าเว็บไซตชั้นนำต่างๆ ซึ่งก็ไม่มีใครสามารถรับรองความปลอดภัยในการเข้าใช้งานได้ร้อยเปอร์เซ็นต์" นายยศ กิมสวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริการไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าว
ปัจจุบัน มาตรการรักษาความปลอดภัยบนเว็บไม่ครอบคลุมแต่เฉพาะบน "เว็บเบราเซอร์" หรือ ฝั่งผู้ใช้งานเท่านั้น
แต่ยังรวมไปถึง "เว็บแอพพลิเคชั่น" ที่ทำ งานอยู่เบื้องหลังเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งหลายเว็บอาจไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มแข็งดีพอ อาชญากรบนโลกไซเบอร์จึงใช้วิธีฉวยโอกาสจากช่องโหว่ของเว็บแอพพลิเคชั่นเหล่านี้มุ่งกระทำการโจรกรรม การพยายามเข้าถึงข้อมูล หรือควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน
ตัวอย่างเช่น การโจมตีแบบ "อัดฉีดผ่านเอสคิวแอล ซึ่งอาชญากรไซเบอร์ใช้วิธีอัดฉีดโค้ด หรือรหัสอันตรายเข้าไปในเว็บไซต์ที่ถูกกฎหมาย พุ่งเป้าไปที่การโจมตีผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์เหล่านั้น และวิธีการดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2551 ถึงไตรมาสแรกของปี 2552 ทั้งยังเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว