ปริมาตรและความดัน
ในของเหลวเมื่อเราออกแรงกระทำต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นั่นคือเราทำให้เกิดความดันบนสิ่งนั้น
ความดัน (Pressure) หมายถึง
ปริมาณแรงดันที่กระทำตั้งฉาก ต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ของสาร ให้ P คืออักษรย่อของความดัน หน่วยของความดัน คือ พาสคัล (Pascal,Pa) โดย 1 พาสคัล เท่ากับ แรง 1 นิวตันกระทำบนพื้นที่ 1 ตารางเมตร
ปริมาตร คือ
ปริมาณของพื้นที่ว่างที่อยู่ในสสาร substant หรือวัตถุ หรือ ที่ถูกปิดล้อมอยู่ในภาชนะบรรจุ
ความหนาแน่น คือ
มวลต่อ 1 หน่วยปริมาตร
คุณสมบัติของความดันในของเหลว
1. ณ จุดใดๆ ในของเหลวจะมีแรงกระทำเนื่องจากของเหลวไปในทุกทิศทาง
2. ถ้าเราพิจารณาที่ผิวภาชนะ แรงที่ของเหลวกระทำจะตั้งฉากกับผิวภาชนะเสมอ
3. สำหรับความดันบรรยากาศ เรียกว่า ความดันสัมบูรณ์ (เป็นความดันที่มีค่าคงที่เสมอ)
4. ความดัน ณ จุดใด ๆ ในของเหลว ที่เป็นความดันจากน้ำหนักของของเหลว จะแปรผันตรงกับความลึกและความหนาแน่นของของเหลว เมื่อของเหลวอยู่นิ่งและอุณหภูมิคงที่
5. ความดันในของเหลวชนิดหนึ่งๆ ไม่ขึ้นอยู่กับปริมาตรและรูปร่างของภาชนะ
เนื่องจากความดันขึ้นอยู่กับความสูงและความหนาแน่นของของเหลว ถ้ากำหนดให้ของเหลวในภาชนะเป็นชนิดเดียวกัน ( จะมีความหนาแน่นเท่ากัน ) และของเหลวมีระดับความสูงเท่ากัน ดังนั้นจากรูปที่ก้นชนะทั้งสี่จึงมีความดันเท่ากัน แต่สำหรับแรงดันที่กระทำต่อก้นภาชนะทั้งสี่ใบมีค่าต่างกัน เพราะมีน้ำหนักของของเหลวที่ต่างกัน
ดังนั้นได้ว่า ที่ระดับความสูงต่างกันจะทำให้ ความดันต่าง ณ ตำแหน่งของแต่ละระดับความลึกของของเหลวมีค่าต่างกันกัน โดยที่ความดันเหล่านี้ไม่ขึ้นกับรูปทรงของภาชนะนั้นๆ
ก๊าซปริมาตรและความดันของก๊าซ
กฎของบอยล์
คือสำหรับก๊าซในปริมาณหนึ่ง ปริมาตรของก๊าซ จะ แปรผกผันกับความดันเมื่ออุณหภูมิของก๊าซคงที่
กฎของชาร์ล
คือสำหรับก๊าซในปริมาณหนึ่ง ปริมาตรของก๊าซ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิสัมบูรณ์ เมื่อความดันของก๊าซคงที่
กฎของเกย์ลูสแซก
คือสำหรับก๊าซในปริมาณหนึ่ง ความดันของก๊าซ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิสัมบูรณ์ เมื่อความดันของก๊าซคงที่
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Kmutt Library
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com