การจำแนกเสียง
การสั่นพ้อง (Resonance)
การสั่นพ้อง คือ
ปรากฏการณ์ที่มีเสียงทำให้วัตถุเกิดการสั่นไหวหรือแกว่ง โดยความถี่ของการแกว่งของวัตุจะเท่ากับความถี่ธรรมชาติของวัตถุนั้นๆ ทำให้วัตถุมีการสั่นแรงกว่ากติ ความถี่จากแหล่งกำเนิดเสียงจะเท่ากับความถี่ธรรมชาติของอากาศในท่อเรโซแนนซ์ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการสั่นพ้อง
ถ้าเราส่งเสียงที่มีความถี่คงที
เข้าไปในท่อปลายปิด(ท่อที่มีปลายข้างใดด้านหนึ่งปิดอีกข้างขะเปิดไว้)เมื่อคลื่นเสียงเข้าไปในท่อและกระทบกับผนังคลื่นเสียงจะสะท้อนกลับโดยจะกลับเฟสตรงกันข้าม(180 องศา)
ปรากฏการณ์ดอปเปอร์
เป็นปรากฏการณ์ที่ความถี่ของเสียง เปลี่ยนเมื่อแหล่งกำเนิดเสียงหรือผู้ฟังเคลื่อนที่
1. เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ โดยทั่วไปคลื่นเสียงจะมีลักษณะดังนี้
เมื่อ จุด S เป็นแหล่งกำเนิดเสียง
เป็นคความยาวคลื่น
เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่จะมีลักษณะ แบบนี้
ตัวอย่างการเกิดปรากฏกาณ์ดอปเปอร์ที่แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ในปัจจุบัน คือ
ขณะที่รถพุ่งเข้าหาตัวคุณเสียงจะแหลมเสียดแก้วหู แต่พอผ่านตัวคุณไปแล้วเสียงจะทุ้มลง
2. เมื่อแหล่งกำเนิดหยุดนิ่งแต่ผู้ฟังเคลื่อนที่
เมื่อ จุด L เป็นผู้ฟัง
จุด S เป็นแหล่งกำเนิดเสียง
เป็นความยาวคลื่น.
หมายเหตุ - ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ ความถี่ที่ผู้ฟังได้รับเปลี่ยบนไป เพราะความยาวคลื่นเสียงเปลี่ยนไป
ถ้าผ็ฟังเคลื่อนที่ ควารมถี่ที่ผู้ฟังได้รับเปลี่ยน เพราะความมเร็วที่ผู้ฟังได้รับเปลี่ยนไป
ในกรณีที่ผู้ฟังและแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่เข้าหากัน จะเกิดทั้ง 2 เหตุการณ์พร้อมกันคือ เสียงดังขึ้น เนื่องจากคว่ามเข็มเสียงเปลี่ยน เสียงจะแหลมขึ้นเนื่องจากความถี่เปลี่ยนไปเป็นปรากฏการณ์ดอป เปอร์
คุณประโยชน์ (ข้อดี) ของดอปเปอร์
สามารถนำปรากฏการณ์นี้มาสร้างเป็นอุปกรณ์ต่างๆได้ที่เกี่ยวกับความ เร็วของสิ่งของเช่น เรดาร์ เครื่องตรวจจับความเร็ว
SHOCK WAVES หรือ ชอร์กเวฟ
ชอร์กเวฟเกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่ได้เท่ากับความเร็วของคลื่นหรือ เร็วกว่า จะเกิดปรากฎการณ์ที่ว่าสันคลื่นไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ออกไปจากแหล่งกำเนิดเสียง โดยถ้าแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่ได้เท่ากับความเร็วของคลื่น สันคลื่นจะเกิดการซ้อนกัน เสริมกันกลายเป็นแอมพลิจูดขนาดใหญ่เรียกว่า ชอร์กเวฟ
ชอร์กเวฟเกิดขึ้นได้บ่อยมากในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน ดังเช่น
โซนิกบูม คือ ชอร์กเวฟประเภทหนึ่งของเครื่องบินที่วิ่งเร็วเหนือเสียง ซึ่งจะเกิดเสียงดังมาก
คลื่นที่เกิดหลังเรือเร็วก็เป็นชอร์กเวฟอีกประเภทหนึ่ง นอกอวกาศก็สามารถจะเกิดชอร์กเวฟได้ อย่างเช่น ลมสุริยะที่วิ่งด้วยความเร็วสูงเข้าชนสนามแม่เหล็กโลก
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Kmutt Library
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com