รู้มั้ย?? ขยะกำลังล้นอวกาศ
เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว
ที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอวกาศ เป็นกังวลว่าเศษชิ้นส่วนขยะต่าง ๆ ที่วิ่งไปมาในวงโคจร อาจจะวิ่งชนยานอวกาศขนาดใหญ่ ให้แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หลายร้อยชิ้นได้ ซึ่งเศษยานเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดปฎิกิริยาลูกโซ่ของการชนกันต่อไปเรื่อยๆ กินเวลานับหลายร้อยปี และจะค่อยๆกระจายความโกลาหลไปทั่วอวกาศ
เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา
นักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มหวั่นวิตกมากขึ้น เนื่องจากพวกเขาได้มีความเห็นตรงกันว่า จำนวนวัตถุในวงโคจรมีมากกว่าจุดวิกฤตที่คำนวณไว้แล้ว ซึ่งค่านี้บอกถึงความหนาแน่นในอวกาศในระดับที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับในปีนี้
หลังจากที่ได้มีการเพิ่มจำนวนวัตถุในอวกาศมา ตลอดกว่า 50 ปี รัฐบาลสหรัฐ ตรวจพบว่ามีวัตถุในอวกาศถึง 10,000 ชิ้นแล้ว โดยวัตถุที่จะตรวจพบได้จะมีขนาด 4 นิ้วขึ้นไป ซึ่งวัตถุเหล่านี้ได้แก่ ดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ชิ้นส่วนของจรวด กล้อง เครื่องมือที่ใช้ในอวกาศ รวมไปถึงกองขยะของเศษซากที่เกิดจากการระเบิด ทั้งที่ระเบิดเองหรือระเบิดจากการทดสอบ
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า
การที่ประเทศจีนได้ส่ง antisatellite ขึ้นไปทำลายดาวเทียมอีกดวงหนึ่ง เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ดาวเทียมดวงเก่านั้นแตกเป็นชิ้นส่วนขนาดใหญ่หลายร้อยชิ้น
ซึ่งมีความสำคัญก็คือ
มันจะทำให้ปฏิกิริยาลูกโซ่เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิดไว้เสียอีก ซึ่งถ้าการประเมินของนักวิทยาศาสตร์ถูกต้องแล้วล่ะก็ ปฏิกิริยานี้จะสร้างความเสียหายนับหลายล้านดอลลาร์ ต่อดาวเทียมดวงอื่นๆ และในที่สุดก็อาจมีผลให้เราไม่สามารถบินไปในอวกาศในอนาคตด้วย
ผู้เชี่ยวชาญทั้งของรัฐและเอกชน กล่าวว่า
การประมาณขั้นต้นเชื่อว่ามีชิ้นส่วนที่แตกมาจากดาวเทียมนี้ 800 ชิ้น และมันน่าจะมากถึง 1,000 ถ้านักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลจากกล้อง และเรดาร์เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะ 800 หรือ 1,000 ตัวเลขนี้ก็นับว่ามากที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นมาเลย
อาจจะวันนี้ ปีหน้า หรืออีกสิบปีข้างหน้าที่
ชิ้นส่วนที่วิ่งไปมาเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ขึ้นสักวันหนึ่งแน่นอน มันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย Dr. Nicholas Johnson จาก National Aeronautics and Space Administration กล่าว เศษซากเหล่านี้อาจจะวิ่งไปชนจรวดเก่าๆที่ไม่ได้ใช้แล้วสักลำหนึ่ง แล้วมันก็จะก่อให้เกิดเศษซากมากขึ้น ซึ่งมันเป็นสถานการณ์ที่ไม่ดีเลย
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ วิชาการ ดอทคอม
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com