หัวเฉียว" สำรวจพฤติกรรมการบริโภควิตามิน-อาหารเสริมของคนกรุง แนะภาครัฐจับมือเอกชนให้ข้อมูลผู้บริโภครอบด้านทั้งคุณและโทษ
ดร.วรางคณา วิเศษมณี ลี หัวหน้าทีมสำรวจและผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจากคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหา วิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เปิดเผยว่า จากการออกแบบสำรวจ "หัวเฉียวโฟกัส" พบว่า ประชาชนในกรุงเทพฯ ร้อยละ 60 เคยรับประทานวิตามินและอาหารเสริม
โดยในส่วนของวิตามินนั้น ร้อยละ 66.2 บริโภควิตามินซี ขณะที่ร้อยละ 73.8 บริโภคอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย
หัวเฉียวเผยคนกรุง ชอบกินวิตามิน-อาหารเสริม
นอกจากนั้นพบด้วยว่า ประชาชนร้อยละ 38.6 ทานอาหารเสริมหรือวิตามินอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งหรือมากกว่า และร้อยละ 30.7 รับประทานเป็นประจำทุกวัน ในเรื่องค่าใช้จ่าย ร้อยละ 60.8 มีค่าใช้จ่ายเดือนละไม่เกิน 1,000 บาท
ผลสำรวจทัศนคติที่มีต่อวิตามินและอาหารเสริม ผู้บริโภคร้อยละ 54.2 คิดว่าการทานวิตามินและอาหารเสริมเป็นสิ่งมีประโยชน์ เพราะร่างกายอาจได้รับสารอาหารไม่ครบทุกประเภท อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 21.6 ไม่บริโภควิตามินและอาหารเสริม เพราะคิดว่าไม่มีประ โยชน์ และก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายเพราะ การรับวิตามินหรืออาหารเสริมที่มากไป อาจเกิดสารตกค้างและเป็นอันตรายต่อร่างกาย ควรรับจากธรรมชาติดีกว่าของที่สังเคราะห์ขึ้นมา
ดร.วรพจน์ กนกกันฑพงษ์ หนึ่งในผู้ร่วมทำการสำรวจ อธิบายว่า เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกบริโภค "วิตามินซี" มากเป็นพิเศษ
น่าจะเกิดขึ้นเพราะว่าประเทศไทยอยู่ในเขตอากาศร้อนชื้น มีความผันแปรของ อากาศอยู่ตลอดเวลา ทำให้คนเป็นหวัดบ่อยครั้ง คนส่วนมากทราบคุณประโยชน์ของวิตามินซีว่าสามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรคภูมิแพ้ และป้องกันการเป็นโรคหวัดได้ ร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินซีขึ้นเองได้ จึงต้องรับประทานเสริม วิตามินซีสามารถรักษาอาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้ด้วย "แต่การป้องกันโรคใดๆ ต้องใช้หลายวิธีการร่วมกัน และเราสามารถรับวิตามินซีได้จากอาหารประเภทผักและผลไม้" ดร.วรพจน์ ระบุ
ด้าน ดร.ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความเห็นเรื่องตลาดของอาหารเสริมในอนาคตว่า น่าจะมีการเจริญเติบโตในระดับที่สูง
เนื่องจากปัจจุบันประชาชนหันมาใส่ใจกับเรื่องของสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ผู้คนยังคงต้องการมีสุขภาพที่ดี และ "โฆษณา" ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดอาหารเสริมยังอยู่ได้และมีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ทั้งภาคราชการและผู้ประกอบการจึงควรให้ข้อมูลการบริโภควิตามิน-อาหารเสริมกับประชาชนทั้งคุณและโทษ รวมถึงปัจจัยความคุ้มค่าในเรื่องราคาด้วย