น้ำกระด้างแก้ได้อย่างไร
น้ำกระด้างแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
โดยอาศัยสารที่เจือปนเป็นเกณฑ์ในการจัดแบ่งได้แก่
1. น้ำกระด้างชั่วคราว หมายถึง
น้ำกระด้างที่มีสารต่อไนี้เจือปนอยู่ คือ แคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต แมกนีเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต เมื่อสารทั้ง 2 ชนิดนี้ได้รับความร้อนแล้วจะตกตะกอนและได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระเหยไป
2. น้ำกระด้างถาวร หมายถึง
น้ำกระด้างที่มีสารต่อไปนี้เจือปนอยู่คือ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมซัลเฟต แมกนีเซียมคลอไรด์ และแมกนีเซียมซัลเฟต 1
ในชีวิตประจำวันคนจำนวนมากต้มน้ำเพื่อใช้ดื่ม
การต้มน้ำนอกจากจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้แล้วยังทำให้น้ำหายกระด้างได้อีกด้วย แต่การต้มน้ำกระด้างจะมีสารบางอย่างแยกตัวออกมาจากน้ำซึ่งมักจะสังเกตได้จากภาชนะที่ต้ม
โดยทั่วไปจะพบว่า
มีคราบของแข็งเกิดขึ้นภายในกาต้มน้ำ ของแข็งดังกล่าวเรียกว่า ตะกรัน ซึ่งเป็นหินปูนที่แยกออกมาจากน้ำที่ต้มนั่นเอง ตามโรงงานต่าง ๆ ที่ใช้หม้อต้มน้ำต้องล้างหม้อน้ำกันบ่อย ๆ เพื่อเอาตะกรันออก มิฉะนั้นอาจทำให้หม้อต้มน้ำระเบิดได้ และยังสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในการหุงต้มอีกด้วย ถ้าภาชนะต้มที่มีตะกรันหนา 1 มิลลิเมตรจะต้องเพิ่มค่าเชื้อเพลิงในการหุงต้มอีก 10 %
ความแตกต่างของน้ำกระด้างชั่วคราวและน้ำกระด้างถาวรเป็นดังนี้
น้ำกระด้างชั่วคราว
1. ต้มแล้วหายกระด้าง
2. ทำให้เกิดหินงอกหินย้อย
3. มีเกลือคาร์บอเนตหรือเกลือไบคาร์บอเนต ละลายอยู่
4. พบในแม่น้ำและลำคลอง
น้ำกระด้างถาวร
1. ต้มแล้วไม่หายกระด้าง
2. ไม่ทำให้เกิดหินงอกหินย้อย
3. มีเกลือคลอไรด์หรือเกลือซัลเฟตละลายอยู่
4. พบในทะเลและมหาสมุทร
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Digital Library
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com