ยุโรปเตรียมสร้างจักรวาลขึ้นใหม่
ยุโรปเตรียมสร้างจักรวาลขึ้นใหม่ใช้เครื่องเร่งอนุภาคยิงสสารชนกันสนั่น
ทีมนักวิทยาศาสตร์หัวกะทิเร่งมือสร้างอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่และแพงที่สุดในโลก จำลองจุดเริ่มต้นของกำเนิดจักรวาล ไขความลับที่มนุษย์ใคร่รู้มานาน "จักรวาลคืออะไร ชีวิตมาจากไหน"
สัปดาห์ที่แล้ว
นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือเซิร์น (CERN) ซึ่งตั้งอยู่บนชายแดนประเทศฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมคนงานได้นำแท่งแม่เหล็กน้ำหนัก 2,000 ตัน หรือเทียบเท่ากับเครื่องบินโดยสารจำนวน 5 ลำ ฝังลงในใต้ดินที่ลึกลงไป 100 เมตร แท่งแม่เหล็กกำลังสูงดังกล่าวจะติดตั้งอยู่ในอุโมงค์วงแหวนที่จะเส้นรอบวงราว 27 กิโลเมตร
แท่งแม่เหล็กนี้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่เรียกว่า แอลเอชซี
ออกแบบมาเพื่อใช้เร่งความเร็งของอนุภาคอย่างโปรตอน 2 ตัว ให้มาชนกันด้วยความเร็วสูง เพื่อหาสสารลึกลับที่อาจพบจากการปะทะกันของโปรตอน เครื่องแอลเอชซีจะเดินเครื่องที่อุณหภูมิต่ำกว่า -271 องศาเซลเซียส อนุภาคจะวิ่งชนกันด้วยความเร็ว 800 ล้านเท่าของวินาที
โครงการวิจัยมูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นี้หวังว่าจะใช้เครื่องแอลเอชซีสร้าง "บิ๊กแบง" ขึ้นมาอีกครั้ง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า จักรวาลเกิดจากการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อ 13 พันล้านปีที่แล้ว หรือที่เรียกว่า บิ๊กแบง ซึ่งให้พลังงานมหาศาล และยังเป็นจุดเริ่มต้นของสสารพื้นฐานก่อนที่จะเกิดกาแล็กซี กลุ่มดาว ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิต
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า จักรวาลประกอบด้วยสสาร 2 ชนิด ได้แก่
สสารปกติ
เป็นสสารที่มีมวล เช่น ก้อนหิน ก๊าซ ต้นไม้ เหล็ก ฯลฯ และ
สสารที่เป็นสื่อนำแรง ซึ่งสามารถแยกเป็น 4 ชนิด
แรงโน้มถ่วง
แรงแม่เหล็กไฟฟ้า
แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม และ
แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ปรารถนาอย่างยิ่งคือ
ทฤษฎีเดียวที่นำมาใช้อธิบายแรงทั้ง 4 ได้หมด หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีสนามรวม การทดลองที่จะมีขึ้นครั้งนี้อาจได้ข้อมูลที่นำมาอธิบายกำเนิดจักรวาลได้ชัดเจนขึ้น
ตามแผนที่วางไว้
เครื่องแอลเอชซีจะเริ่มทำการทดลองครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน แท่งแม่เหล็กและอุปกรณ์อื่นๆ จะทำหน้าที่ดันให้กระแสของอนุภาคโปรตอนที่อยู่ตรงข้ามกันเดินทางเข้าหากันด้วยความเร็วใกล้กับความเร็วแสง
ตามแบบจำลองที่ออกแบบไว้
คาดว่าเมื่ออนุภาคมาชนกันด้วยความเร็วระดับดังกล่าวจะเกิดอนุภาคตัวใหม่หลายตัว เหมือนกับการสร้างจักรวาลขึ้นมาอีกครั้ง หากการทดลองประสบความสำเร็จ ผลที่ได้สามารถนำไปอธิบายกำเนิดของมวลสารต่างๆ ได้
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com