ภารกิจ 2 เด็กไทย เพื่อมนุษย์อวกาศ
เพราะนิยามของมนุษย์อวกาศ
คือใครก็ตามที่ขึ้นไปอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก หรือเหนือพื้นผิวโลก 100 กิโลเมตรขึ้นไป แม้เพียง 1 วินาทีก็จะได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์อวกาศ ทำให้หลายคนฝันอยากไปเที่ยวในอวกาศสักครั้งในชีวิตแม้ต้องทุ่มเม็ดเงินมหาศาล
นักบินอวกาศแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มนักบินซึ่งมักเป็นทหาร
กลุ่มมิสชั่น สเปเชียล ลิสต์ หรือมนุษย์อวกาศที่ฝึกมาพิเศษเพื่อการปฏิบัติการเฉพาะอย่าง เช่น ซ่อมแซมกล้องดูดาวฮัมเบอร์ คนควบคุมแขนโรบอต
และสุดท้ายคือ เพลโหลด สเปเชียลลิสต์ ที่ขึ้นไปพร้อมยานอวกาศและทำหน้าที่เอาสิ่งของไปทดลองในอวกาศ เพื่อค้นหาสิ่งใหม่"
คำบอกเล่าของ ดร.สวัสดิ์ ตันติพันธุ์วดี รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
ดร.สวัสดิ์เล่าต่อว่า
หลังจากที่มีเด็กสมัครร่วมประกวดโครงงานที่ได้รับความร่วมมือระหว่าง JAXA และสวทช. สำหรับการการแข่งขันการออกแบบการทดลองในภาวะแรงโน้มวงศูนย์ที่จัดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว มี 7 โครงการที่นำเสนอ และมี 4 โครงงานที่ผ่านเข้ารอบ คือ การดูความร้อนกระจายในของเหลว น้ำแข็งแห้งกระจายตัวอย่างไร การหุบของใบไมยราบ และการแตกตัวของยาในสภาพไร้น้ำหนัก
หลังจากคณะกรรมการ สวทช.
ให้คอมเมนต์ในรายละเอียดให้เด็กๆ ไปปรับปรุงเพื่อไปพัฒนาต่อเนื่อง และในวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา ตัวแทนจากญี่ปุ่นบินมาตัดสินให้คะแนน หาความน่าจะเป็น และความเป็นไปได้อีกครั้ง
ดร.สวัสดิ์กล่าว
เมื่อมนุษย์อยู่นอกโลกก็มีโอกาสเจ็บป่วย ยารักษาจะให้ผลเหมือนตอนอยู่บนโลกหรือไม่ ตัวยาแตกตัวอย่างไร การศึกษาการกระจายตัวของเม็ดยา แรงโน้มถ่วงต่ำได้รับเลือก ง่ายและมีแนวโน้มสำเร็จ เพราะเลือกโจทย์ที่กระชับ สั้นๆ และเป็นประโยชน์"
เจ้าของโครงงานที่ว่านี้คือ
สองสาวพี่น้อง ฒิฬน.ส. อาภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ หรือแพรว อายุ 20 ปี ชั้นปี 4 มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และ ด.ญ.สรัลพร บุณยรัตพันธุ์ หรือพลีส อายุ 14 ปี ชั้นม.3 โรงเรียนนานาชาติเซนต์จอห์น
แพรวเล่าถึงที่มาไอเดียครั้งนี้
ช่วงนี้โรคหวัดระบาด เป็นหวัดก็ต้องกินยา บ่อยๆ กินยาบนพื้นโลกเป็นแบบนี้ ถ้ากินในสภาวะนั้นจะเป็นอย่างไร ไอเดียมันแวบขึ้นมา และกลายเป็นที่มาของโครงการทดลองการกระจายตัวของเม็ดยาแรงโน้มถ่วงต่ำหรือ Study of Medical Drug dispersion under microgravity environment
โครงการนี้เลือกใช้เครื่องบินจำลอง LEAR JET
ในสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำโดยทำการบินชนิดพาราโบลิก (Parabolic Flight) คือบินเป็นเส้นโค้งเกือบครึ่งวงกลมติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง จะทำให้เกิดสภาพแรงโน้มถ่วงประมาณ 20 วินาทีในแต่ละรอบในช่วงที่เครื่องบินลดระดับลงสู่พื้นดิน โดยจะทำการทดลองในช่วง 20 วินาทีนั้น
แพรวบอกว่า
ไม่ได้หวังสูงว่าจะเป็นตัวแทนในการทดลอง ตอนพรีเซ็นต์ทำเหมือนทดลองจริงๆ ถูกคอมเมนต์เรื่องอุปกรณ์หากเป็นหลอดแก้วอาจแตกกระจายจึงได้เลือกใช้สติ๊กเกอร์พัน น้ำยาจะกระฉอกออกมาระหว่างทดลองก็หาจุกมาปิดไว้ และเพิ่มความส่องสว่างเวลาถ่ายวิดีโอ โดยต้องอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักรวม 10 ครั้ง ครั้งละ 20 วินาที รวมเวลาทดลอง 1 ชั่วโมง
ก่อนหน้านี้ได้นำเม็ดยาหรือแป้งมา ทดลองบ้างแล้ว
แต่ด้วยระยะเวลา 20 วินาที ตัวยาแตกตัวช้าเกินไป จึงสั่งทำตัวยาพิเศษเม็ดเล็กๆ ขนาดเท่ากับยาพาราเซตา มอล พร้อมกับทดลองละลายน้ำดู พบว่ายาพองตัวและขยายตัวก่อนแตกตัวละลายขึ้นเป็นชั้นๆ คล้ายแป้งดินสอพองเมื่อโดนน้ำ
การทดลองต้องเตรียมอุปกรณ์ทุกชิ้นไปให้พร้อม
คือหลอดแก้วทดลองใส่น้ำเตรียมไว้ 9 หลอด และไซริงจหรือหลอดฉีดยาตัดปลายออกโดยใส่ตัวยาไว้ด้านในปิดปลายหลอดไว้ด้วยแผ่นฟอยล์ ตั้งกล้องห่างไว้ 1 ฟุต พร้อมตั้งเวลาบันทึกภาพตลอดการทดลอง ภายในช่วงเวลา 20 วินาทีขณะทำการทดลอง ต้องรีบลุกไปตำแหน่งที่วางอุปกรณ์ให้เร็วที่สุด และกดไซริงจที่มีเม็ดยาลงไปในหลอดทดลองรอบละ 1 หลอด
สาวน้อยทั้งสอง
ออกเดินทางจากประเทศไทยถึงเมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น สถานที่ทดลองเมื่อวันที่ 7 มี.ค. โดยการทดลองจะมีขึ้นในวันนี้ 8 มี.ค.
แพรวกล่าวถึงวิทยาศาสตร์กับเด็กไทยว่า
หลายคนมีความสามารถ แต่สื่อที่จะรับรู้น้อย ถึงจะมีอินเตอร์เน็ต แต่คนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยเข้าไปดูกันทุกคน และโอกาสถึงข้อมูลมีน้อย ส่วนตัวแล้วชอบเรียนสายวิทย์ อาจารย์สอนดี สนุก ในอนาคตยังไม่ได้เจาะจงว่าอยากเป็นอะไร เพราะยังมีอะไรที่ไม่รู้อีกเยอะ ส่วนโครงการนี้อยากพัฒนาต่อไป ไม่ทิ้ง เพราะคิดว่าน่าจะนำมาปรับปรุงได้
ด้านพลีสกล่าวก่อนออกเดินทางว่า ตื่นเต้นมาก
ตรวจสุขภาพตามที่กำหนด วันทดลองจริงคงไม่กินอะไรเข้าไปมาก ต้องฝึกกระโดดออกจากเก้าอี้ให้เร็ว เพราะมีโอกาสหนเดียว และเตรียมกดยา อนาคตอยากเป็นอะไรยังไม่แน่ใจ ยังกำหนดไม่ได้ แต่สนใจเรื่องเศรษฐศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ หากได้พบกับนักบินอวกาศจริงๆ อยากพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ด้านดร.สวัสดิ์คาดหวังต่อไปว่า
อยากให้เด็กไทยทำโครงงานวิทยาศาสตร์และอวกาศให้มากขึ้น สมองของเด็กไทยไม่แพ้เด็กญี่ปุ่น แม้โอกาสและข้อมูลของเราจะมีน้อยกว่าก็ตาม ครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายให้เด็กร่วมโครงการมากขึ้น
โครงการใหม่ ๆ ที่เสนอให้กับทางญี่ปุ่นคือ
การทดลองปลูกข้าวบนดวงจันทร์ เพื่อส่งไปสถานีอวกาศนานาชาติ แต่อย่างน้อยต้องรออีก 3 ปีถึงจะทราบผล
แม้วันนี้ 2 พี่น้องอาจยังไม่ใช่มนุษย์อวกาศ
เพราะบินสูงขึ้นไปเพียง 10 กิโลเมตร ไม่ถึง 100 กิโลเมตรตามที่กำหนด แต่ทั้งคู่จะได้พบนักบินอวกาศหญิงชาวญี่ปุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภารกิจของเด็กไทยครั้งนี้แม้จะเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ แต่นับเป็นประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์ในวงอวกาศยามเจ็บไข้
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด