เขตทะเลมรณะแพร่กระจายทั่วโลก


นักวิทยาศาสตร์เริ่มวิตก พบเขตทะเลมรณะที่สัตว์น้ำตายเกลี้ยงในหลายพื้นที่ของโลก


ดอกไม้ทะเลใต้ทะเลแดงดอกไม้ทะเลใต้ทะเลแดง


พื้นที่มรณะในมหาสมุทร


ที่เรียกว่า "เดดโซน" กำลังแพร่กระจายออกไปทั่วโลก อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้ทิศทางลมเปลี่ยนแล้วพลอยทำให้กระแสน้ำในมหาสมุทรเปลี่ยนไปด้วย จนเป็นเหตุให้สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในทะเลบริเวณนั้นตายจนหมด

รายงานข่าวแจ้งว่า


เมื่อสองสามเดือนที่ผ่านมา น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณนอกชายฝั่งรัฐโอเรกอนในสหรัฐ ที่เคยมีสีฟ้าใสกลับกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลอย่างกะทันหันเพราะเกิดมีแพลงตอนเพิ่มขึ้นอย่างผิดธรรมชาติในระดับที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยพบเห็นมาก่อน


หลังจากนั้น


แพลงตอนเหล่านั้นได้ตายลงแล้วจมลงสู่ก้นมหาสมุทรทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดลงเหลือศูนย์ มหาสมุทรที่เคยมีชีวิตชีวากลับกลายเป็นเขตมรณะ

เขตทะเลมรณะแพร่กระจายทั่วโลก


บรรดานักวิทยาศาสตร์


ที่นั่งเรือดำน้ำออกสำรวจพบแต่ซากปูและหนอนทะเลกระจายเกลื่อนทั่วพื้นมหาสมุทร และไม่มีปลาอยู่เหลือแม้แต่ตัวเดียว นักวิทยาศาสตร์เสนอรายงานต่อที่ประชุมประจำปีของสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกันในนครซานฟรานซิสโกว่า การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทรอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่มีความสมดุลเป็นอย่างดีทั่วทั้งโลก โดยเฉพาะบริเวณนอกชายฝั่งอเมริกาใต้ และแอฟริกา

ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องต้องกันว่า


ภาวะโลกร้อนเป็นตัวการที่ทำให้เกิดหายนะทางทะเลครั้งนี้ โดยไปทำให้ลมตามฤดูกาลเกิดการผันผวน ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่รู้ว่าทำไมลมเหล่านี้ถึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลง

เขตทะเลมรณะแพร่กระจายทั่วโลก


โดยกระแสลมตามฤดูกาลที่พัดผ่านทะเล


ส่งผลกระทบต่อกระแสน้ำในมหาสมุทรโดยได้พัดเอาผิวน้ำทะเลออกไปแล้วแทนที่ด้วยน้ำเย็นกว่าจากข้างล่าง แต่อุณหภูมิบนพื้นดินที่อุ่นกว่าส่งผลให้เกิดความกดอากาศสูงขึ้น และกระแสลมที่แรงขึ้นทำให้มีผลกระทบต่อกระแสน้ำ


ปกติแล้ว


ผลกระทบจากสิ่งนี้จะเป็นที่คาดเดาได้ แต่ในช่วงที่ผ่านมากลับกลายเป็นไม่แน่นอนและผันผวน สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป


ศ.เจน ลูบเชนโก จากมหาวิทยาลัยโอเรกอน กล่าวว่า


ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา 50 ปี แสดงให้เห็นว่าสภาวะเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน พร้อมชี้ว่าภาวะกระแสน้ำในมหาสมุทรเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหลายภูมิภาคแล้ว โดยเฉพาะนอกชายฝั่งเปรู ชิลี และบางส่วนของแอฟริกา


ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์