จับหนอนมาศึกษา หาเค้าเงื่อนโรคพาร์คินสัน

จับหนอนมาศึกษา หาเค้าเงื่อนโรคพาร์คินสัน


นักวิทยาศาสตร์ พบหนอนมีลักษณะยีนร่วมกันกับมนุษย์ถึงครึ่งหนึ่ง ขณะที่ อังกฤษมีผู้ป่วยโรคพาร์คินสันประมาณ 120,000 คน ในจำนวนนี้ 5% เชื่อว่ามีสาเหตุโดยตรงมาจากกรรมพันธุ์…

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าหนอนอาจเป็นกุญแจสำคัญในการไขปัญหาการเกิดโรคพาร์คินสันได้ เพราะว่าหนอนมีลักษณะยีนร่วมกันกับมนุษย์ถึงครึ่งหนึ่ง ในจำนวนนี้รวมถึงกรรมพันธุ์การเกิดโรคพาร์คินสันอีกด้วย

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดันดี ในอังกฤษ จะทำการศึกษาหนอนชนิดหนึ่งมีชื่อว่า ซี.อีลีแกนส์ โดยพยายามจะขบคิดปัญหาว่าเงื่อนไขใดเป็นเหตุให้เซลล์สมอง ของผู้ป่วยโรคพาร์คินสัน หรืออัมพาตแบบสั่น ตายลง ในการศึกษาครั้งนี้ สมาคมโรคพาร์คินสันในอังกฤษจะให้งบประมาณแก่มหาวิทยาลัย เป็นจำนวน 190,000 ปอนด์ (ราว 10,640,000 บาท)

ปัจจุบันในอังกฤษมีผู้ป่วยโรคพาร์คินสันประมาณ 120,000 คน ในจำนวนนี้ 5 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่ามีสาเหตุโดยตรงมาจากกรรมพันธุ์

อาการของโรคนี้จะเกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การพูด การเขียน ทั้งหมดนั้นเป็นผลจากการสูญเสียของเซลล์ประสาทในสมอง ดร.แอนตัน การ์ตเนอร์ หัวหน้าคณะนักวิจัย กล่าวว่า "งานวิจัยครั้งนี้จะนำไปสู่การรักษาโรคพาร์คินสัน ซึ่งเป็นงานที่น่าครั่นคร้ามยิ่งและต้องอาศัยความรู้อันกว้างขวางจากสหวิทยาการมาช่วยกันทำงาน"

การที่นำหนอนมาศึกษาเรื่องนี้ เพราะว่ามันเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทง่ายที่สุด และมียีนหลายตัวที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ หนึ่งในนั้นคือ แอลอาร์อาร์เค 2 ที่เกี่ยวข้องกับโรคพาร์คินสันทางพันธุกรรม.


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์