ระบบการแยกสารโดย Hydrocyclone
Hydrocyclone
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแยกชองผสมในขบวนการอุตสาหกรรม และที่มันได้ชื่อว่า Hydrocyclone ก็เพราะมันใช้กลไกลแยกสารโดย อาศัยหลักการเคลื่อนที่แบบหมุน ให้เกิดแรงเหวี่ยง มีลักษณะคล้ายการหมุนของพายุไซโคลนนั่นเอง
หลักในการแยกสาร
ก็อาศัยความแตกต่างของความหนาแน่น หรือ ขนาดของสาร (ในกรณีของแข็ง) ที่เคลื่อนที่โดยแตงเหวี่ยงบวกกับการออกแบบรูปร่างของ Hydrocyclone
แรงเหวี่ยงเกิดจาก
การฉีดของผสมเข้าทางด้านข้างของ Hydrocyclone ด้วยความเร็วสูงโดยที่เจ้าตัว Hydrocyclone ไม่ได้เคลื่อนที่เลย
ในระบบที่มีของแข็งปนอยู่กับของเหลว
สารที่เป็นของเหลว หรือสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า จะเคลื่อนที่ในทิศทาง หมุนเข้าสุ่ศูนย์กลางของ Hydrocyclone แบะไหบออกทางด้านบน (overflow) ส่วนของแข็ง หรือสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะเคลื่อนที่ในทิศทาง หมุนออกจากศูนย์กางของ Hydrocyclone และไหลออกทางด้านล่าง (underflow)
สมัยก่อน Hydrocyclone
คิดขึ้นมาเพื่อใช้แยก พวกแร่, กรวด, หิน, ดิน, ทราย, โคลน, ออกจากน้ำ ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจาก Hydrocyclone จะใช้แยกของผสมระหว่างของแข็งกับของเหลวแล้ว ยังสามารถแยกของผสมระหว่าง ของเหลวกับของเหลวเช่น น้ำกับน้ำมันดิบได้อีกด้วย รวมทั้งของแข็งที่มีขนาด และน้ำหนักต่างกัน
ปัจจุบัน Hydrocyclone ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย
ในอุตสาหกรรมเคมี, ปิโตรเคมี, อาหารและยา ตัวอย่างเช่น กระบวนการแยกน้ำออกจากน้ำมันดิบ แยกกรวดทรายออกจากน้ำอ้อย ในอุตสาหกรรมน้ำตาล, อุตสาหกรรมการผลิตยีสต์, น้ำมันพืช รวมถึงการแยกสารกัดกร่อนในโรงงานนิวเคลียร์ เป็นต้น
Hydrocyclone unit
หรือระบบการแยกสารโดย Hydrocyclone ที่ใช้ในอุตสาหกรรมมักจะใช้ Hydrocyclone หลายๆตัวมาต่อกันเป็นอนุกรม เพื่อประสิทธิภาพในการแยกสารที่สูงขึ้นค่ะ ขนาดของ Hydrocyclone มีตั้งแต่เส้นผ่าศุนย์กลาง 10 มิลลิเมตรจนถึงหลายเมตร ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน
Hydrocyclone ค่อนข้างจะเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับอุตสาหกรรมในบ้านเรา
เนื่องจากกลไกการแยกสารไม่ซับซ้อน ราคาไม่แพง และไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อบบำรุงมาก และยังมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงอีกด้วย อย่างไรก็ตามการรั่วใหลของสาร อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากการผุกร่อนของอุปกรณ์ (จากการกัดกร่อนของสารบางชนิด) ดังนั้นจึงต้องมีการป้องกันในขณะทำงาน "Safery first" ค่ะ
ปัจจุบัน
ได้มีการนำอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูงจากต่างประเทศเข้ามาใช้ใน เมืองไทยมากมาย เราควรจะคำนึงถึงความเหมาะสมต่อการใช้ในบ้านเราเป็นสำคัญ ขอเรียกว่า "เทคโนโลยี ความเหมาะสม" บางที่เรารับอุปรณ์ที่ทำงานได้อย่างเลิศหรู ซับซ้อน ราคาแพงมาใช้กับงานง่ายๆ เวลาเกิดต้องมีการซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนแปลง ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงๆ เข้าตำราขี่ช้างจับตั๊กแตนไป
เรามาช่วยกันพัฒนาอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม กับการใช้งานในบ้านเรากันดีกว่าค่ะ "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" เย้...
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ วิชาการดอทคอม
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com