มารู้จัก ตระกูลผีเสื้อกัน!!
วงศ์ผีเสื้อหนอนหอย (Eucleidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีลำตัวอ้วน ปีกสั้น แต่บินได้เร็ว ส่วนมาก มีสีน้ำตาลแต้มเขียวหรือน้ำตาลแดง ส่วนปากเสื่อมไปมาก ไข่มีรูปร่างแบนคล้ายเหรียญ
หนอนมีรูปร่างแปลกจากวงศ์อื่น ๆ
โดยมีรูปร่างคล้ายตัวทาก มีสีและลวดลายต่างๆสวยงาม หัวซ่อนอยู่ใต้ลำตัว รอบๆ ตัวมีกระจุกขนที่มีพิษทำให้ผู้ที่โดนมี อาการปวดแสบปวดร้อน จึงเรียกกันว่า "ตัวเขียวหวาน" หนอน บางชนิดมีลำตัวเรียบ ไม่มีหนามเลย ชนิดที่มีความสำคัญทาง เศรษฐกิจ เช่น Parasa lepida กินใบพืชหลายชนิด และ Thosea spp. กินใบไม้ผลหลายชนิด
วงศ์ผีเสื้อหนอนมะไฟ (Zygaenidae)
ผีเสื้อกลางคืนที่ออกหากินในเวลากลางวัน สีสดใส บอกความเป็นพิษในตัว จึงมีผีเสื้อชนิดอื่น ๆ มาเลียนแบบ ใน ประเทศไทย พบว่าเป็นศัตรูของไม้ผล กินใบมะไฟ คือ Cyclosia panthona และ C. papilionaris
วงศ์ผีเสื้อลายจุด (Yponomeutidae)
ผีเสื้อขนาดเล็กถึงขนาดกลาง บริเวณหัวดูเรียบกว่าผีเสื้อ พวกอื่นๆ ปีกสีสวย หรือสีหม่น บางชนิดที่ปลายปีกคู่หน้ามี ลักษณะคล้ายขอ หนอนบางชนิดอาศัยอยู่เป็นกลุ่มในรังที่ทำด้วย ใยเหนียว บางชนิดเป็นหนอนชอนใบ บางชนิดเจาะผลไม้
วงศ์ผีเสื้อหนอนเจาะไม้ (Cossidae)
วงศ์ผีเสื้อขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่มาก ปีกค่อนข้าง ยาว ลำตัวใหญ่มาก มีขนปกคลุมแน่น การเรียงของเส้นปีกเป็นแบบโบราณ จำนวนเส้นปีกมีมากกว่าปกติ และมีเซลล์ปีก เล็กๆ หลายเซลล์ หนอนเจาะเข้าไปอาศัยอยู่ในเนื้อไม้ใช้เวลา หลายปี กว่าจะโตเต็มที่ มักพบปลอกดักแด้คาอยู่ปากรูที่หนอน เจาะเอาไว้ ในประเทศไทยมีชนิดที่สำคัญ ๒ ชนิด คือ หนอน เจาะสัก (Xyleutes ceramicus) และหนอนกาแฟสีแดง (Zeuzera coffeae)
วงศ์ผีเสื้อปีกใส (Sesiidae)
ส่วนมากมีสีฉูดฉาด ปีกยาวเรียว มักมีบริเวณใสๆ บน ปีก มองทะลุลงไปได้ หนวดพองออกตอนปลาย คล้ายหนวด ของพวกผีเสื้อกลางวัน ปลายท้องมีกระจุกขนรูปคล้ายพัด ส่วนมากอาศัยอยู่ในซีกโลกภาคเหนือ ออกหากินในเวลากลางวัน บางชนิดในขณะบินดูคล้ายพวกผึ้งหรือต่อแตน หนอนเจาะกิน อยู่ภายในลำต้นและรากพืช
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ thaigoodview
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com