อากาศกรุงเทพ ฯ วันนี้ ตายผ่อนส่ง ... แก้ไขยาก
การจราจรของกรุงเทพ ฯ ทุกวันนี้
ไม่ต่างอะไรกับการจลาจลบนท้องถนน ชาวบ้านอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ต้องเผชิญอยู่ทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ท้องถนนทุกแห่งทุหนยังคลาคล่ำไปด้วยยวดยานรุ่นใหม่นานาชนิด
แม้หน่วยงานราชการหลายฝ่าย จะร่วมมือหาทางแก้ไขอยู่ก็จริง แต่ดูเหมือนว่า การแก้ไขไม่ถูกจุดและไม่จริงจังเสียมากกว่าปัญหาการจราจรจลาจลจึงดูเหมือนไม่ได้รับการเหลียวแล
ในขณะที่สถิติการจำหน่ายรถยนต์ในแต่ละวัน แต่ละเดือนยังมียอกจำหน่ายสูงจนน่าเป็นห่วงว่า จะไม่มีถนนให้รถราแล่นได้ ทั้งที่ในสภาวะปัจจุบันนี้ถนนสายต่าง ๆ ก็ยังแออัด ไม่พอที่จะรองรับจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
ผลพวงที่ตามมาจึงเกิดปัญหา มลพิษที่เกิดจากท่อไอเสีย ของยวดยานทุก ๆ คัน คือที่มาของมลพิษอากาศที่เป็นปัญหาของคนกรุงเทพ ฯ เมื่อรวมกับแหล่งพิษอื่น ๆ แล้ว
คุณภาพของอากาศในกรุงเทพ ฯ กำลังอยู่ในขั้นวิกฤต และอาจจะเลวร้ายถึงขั้นอันตรายได้ เนื่องจากอากาศที่เราสูดหายใจเข้าไปเต็มไปด้วยมลพิษ
สารมลพิษในอากาศได้แก่
ก๊าซคาร์บอนมอนน็อคไซด์ ก๊าซโอโซน ก๊าซไนโตรเจนไดอ๊อกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฝุ่นละอองและตะกั่ว สารมลพิษเหล่านี้ จะบ่งบอกถึงคุณภาพอากาศตรวจวัดโดยฝ่ายคุณภาพอากาศและเสียง กองมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ผลจากการตรวจวัดจะใช้เป็นเกณฑ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการตรวจสอบ และควบคุมให้สภาพแวดล้อมของบรรยากาศ มีความเหมาะสมกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ซึ่งหากเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดแล้วจะต้องมีการดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ตลอดจนควบคุมปริมาณสารพิษที่ถูกระบายออกมาจากแหล่งต่าง ๆ
จากการตรวจสอบพบว่า
แหล่งชุมชนใหญ่ ๆ กลายเป็นเขตอันตรายเสียแล้ว ย่านสำคัญ ๆ ที่มีการจราจรหนาแน่น อันได้แก่ ย่านประตูน้ำ ถนนราชปรารภ ย่านเยาวราช ย่านแม้นศรี ถนนบำรุงเมือง ถนนสีลม ย่านสะพานควาย ถนนพหลโยธิน ย่านวงเวียนใหญ่ และถนนอีกหลายสาย เป็นย่านที่น่ากลัวทั้งนั้น
แต่ละจุดที่กล่าวมา
พบว่าปริมาณฝุ่นละอองเกินกว่ามาตรฐานมาก โดยเฉพาะบางวันมีค่าเกิน 2 ถึง 3 เท่า เช่นการตรวจวัดเฉพาะบริเวณริมถนน ทำการตรวจวัดที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนตากสิน ระหว่างวันที่ 16 - 22 พฤศจิกายน 2533 คุณภาพของอากาศเลวมาก คือ
มีค่าดัชนีเท่ากับ 202 (ค่าดัชนีมาตรฐานเท่ากับ 100 หากสูงกว่านี้ ถือว่า คุณภาพอากาศเลว)
ฝุ่นละอองเหล่านี้
มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของคนเมืองหลวงอย่างมหันต์ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของโรคระบบทางเดินหายใจ หรือสาเหตุของการกำเริบโรคอื่น ๆ เช่นโรคแพ้อากาศหอบหืด
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกเลยที่พบเห็นชาวเมืองหลวงจำนวนไม่น้อยต้องใช้ผ้าปิดจมูก ขณะที่ต้องเผชิญอยู่บนท้องถนนนาน ๆ โดยเฉพาะตำรวจจราจร ผู้ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่บนท้องถนนตลอดทั้งวัน
เริ่มมีการสวมผ้ากรองฝุ่นกันมลพิษกันแล้ว ถ้าหากจะให้ทุกคนหันมาสวมผ้ากรองกันฝุ่นกันแล้ว โดยไม่แก้ไขที่ตัวแหล่งกำเนิดมลพิษ ก็เป็นการแก้ไขที่ตัวแหล่งกำเนิดมลพิษ ก็เป็นการแก้ไขไม่ถูกจุด เป็นการแก้ไขไม่ถูกจุด เป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ คือตัวผู้รับ
สำหรับการใช้ผ้ากรองอากาศกันฝุ่นพิษ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะป้องกันสารมลพิษต่าง ๆ ได้มากมายนัก ซึ่งในหลักความเป็นจริง เราไม่ได้สวมผ้ากรองกันฝุ่นตลอดเวลา
ถึงตรงนี้ท่านทั้งหลายคงจะทราบกันแล้วว่า "อากาศกรุงเทพ ฯ วันนี้ต้องกรอง"
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์
Digital Library for schoolnet
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต