ก๊าซเฉื่อย หรือ ก๊าซมีตระกูล

ก๊าซเฉื่อย หรือ ก๊าซมีตระกูล


สารประกอบของธาตุ 20 ธาตุแรก เรียงตามมวลอะตอม ปรากฎว่า ก๊าฃฮีเลียม นีออน และอาร์กอน ไม่ทำปฏิกิริยากับคลอรีนและออกฃิเจน จึงเรียกธาตุกลลุ่มนี้ว่า ก๊าซเฉื่อย

ปัจจุบันพบว่า


Kr และ Xe สามารถทำปฎิกิริยาโดยตรงกับฟลูออรีน เกิดเป็นสารประกอบฟลูออไรด์ เช่น KrF2 , XeF2 , XeF4 , XeF6 นอกจากนี้ยังพบสารประกอบออกไฃด์ของฃีนอน เช่น XeO3 และ XeO4

ก๊าซเฉื่อย หรือ ก๊าซมีตระกูล


ก๊าซเฉื่อย หรือ ก๊าซมีตระกูล มีคุณสมบัติดังนี้



1. เป็นก๊าซที่ไม่ค่อยทำปฏิกิริยากับก๊าซอื่นๆทัง้นี้เพราะมีอิเลคตรอนชั้นนอกสุด ( verent electron ) ครบ 8 อะตอม ( ยกเว้น He ที่มีแค่ 2 อะตอม )

2. มีสถานะเป็นก๊าซทั้งหมด ( 1 โมเลกุล ประกอบด้วย อะตอม 1 อะตอม ) ได้แก่ He , Ar , Ne , Kr , Xe , Rn

3. ปัจจุบันพบก๊าซเฉื่อยบางชนิด เช่น Kr และ Xe สามารถทำปฏิกิริยากับ F และ O ได้ เช่น KrF2 , XeF2 ,XeF4 , XeF6 , XeO3 , XeO4

4. ก๊าซเฉื่อยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็น "วันเดอร์วาลส์" จึงทำให้มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ

ก๊าซเฉื่อย หรือ ก๊าซมีตระกูล


ประโยชน์ของก๊าซเฉื่อย


1. He ผสมกับ O2 ในอัตราส่วน 4 :1 โดยปริมาตรใช้เป็นอากาศหายใจของนักประดาน้ำที่ทำงานใต้ทะเลลึก ซึ่งมีความกดดันสูง เนื่องจากฮีเลียมละลายในเลือดได้น้อย ถ้าหายใจด้วยอากาศปกติ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ของไนโตรเจนอยู่มาก ก๊าซไนโตรเจนนี้สามารถละลายในเลือดได้ดีที่ความดันสูงๆ เมื่อนักประดาน้ำกลับขึ้นสู่ผิวน้ำซึ่งมีความดันปกติ ไนโตรเจนละลายได้น้อยก็แยกตัวออกจากเลือดเป็นฟองก๊าซอยู่ในอวัยวะ เช่น หลอดเลือด กล้ามเนื้อ ทำให้เจ็บปวดมาก

2. He และ Ar ใช้เป็นสารหล่อเย็นเพื่อศึกษาสมบัติของสารที่อุณหภูมิต่ำ

3. Ne และ Ar ใช้เป็นก๊าซบรรจุในหลอดไฟเพื่อยืดอายุการใช้งานของไส้หลอด

4. ก๊าซเฉื่อยใช้ในหลอดไฟโฆษณาเพื่อให้แสงสีต่างๆ

He ให้แสง สีชมพู

Ne ให้แสง สีชมพู

Ar ให้แสง สีม่วงน้ำเงิน

ก๊าซเฉื่อย หรือ ก๊าซมีตระกูล



5. Kr (คริปตอน) ใช้ในหลอดไฟแฟลชสำหรับถ่ายรูปด้วยความเร็วสูง

6. Xe(ซีนอน) เป็นก๊าซที่ช่วยให้สลบ

7. Rn(เรดอน)เป็นธาตุกัมมันตรังสี ใช้ในการบำบัดรักษามะเร็ง

8. Ar และ Kr บรรจุในหลอดผลิตแสงเลเซอร์ เพื่อใช้เป็นตัวกลางที่ทำให้แสงเลเซอร์มีความถี่ต่างๆกันได้


ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Digital Library for school net
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

ก๊าซเฉื่อย หรือ ก๊าซมีตระกูล


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์