เมื่อประมาณ 20 ปีก่อนนี้
Walter Munk นักวิทยาศาสตร์แห่ง Scripps Institute of Oceanography ในสหรัฐอเมริกาได้พบว่า เขาสามารถรู้ว่าโลกเราร้อนขึ้นหรือเย็นลงเพียงใด โดยการวัด อุณหภูมิของนํ้าในมหาสมุทร
โดยอาศัยหลักความจริงที่ว่า
ความเร็วของเสียงในนํ้าร้อนนั้นช้ากว่าความเร็ว ของเสียงในนํ้าเย็น Munk จึงคิดว่าหากเขารู้ความเร็วเฉลี่ยของคลื่นเสียงในมหาสมุทร เขาก็สามารถจะวัดอุณหภูมิเฉลี่ย ของนํ้าในมหาสมุทรได้

ภาพประกอบเนื้อหา วิธีการวัดอุณหภูมิของทะเล
ทุกวันนี้ เราทุกคนรู้ดีว่าปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นปัญหาโลกแตก
เพราะนักวิชาการทั้งหลายต่าง ก็คาดคะเนว่า อุณหภูมิของโลกเราจะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่การวัดอุณหภูมิของอากาศทั้งโลกนั้นไม่มีใครทําได้ เพราะอุณหภูมิของอากาศในสถานที่แต่ละแห่งนั้นต่างกัน ถึงแม้สถานที่เดียวกันก็ตาม อุณหภูมิของอากาศ ในสถานที่นั้นๆ ในแต่ละเวลา ในแต่ละเดือน ในแต่ละปีก็ยังไม่เท่ากันเลย เมื่อความแปรปรวนของอุณหภูมิ มีมากเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงต้องหันมาศึกษาอุณหภูมิของนํ้ าทะเลแทน เพราะอุณหภูมิของนํ้ าทะเลมิได้ แปรปรวนมากเท่าอุณหภูมิของอากาศ
แต่การที่จะเอาเทอร์โมมิเตอร์
จุ่มวัดอุณหภูมิของนํ้าในสถานที่แต่ละแห่งของโลกนั้น ไม่สะดวกและให้ ผลไม่แน่นอน Munk จึงคิดว่า หากเขาสามารถส่งคลื่นไปใต้นํ้า แล้วใช้เครื่องรับเสียงดักฟัง ณ สถานที่ไกล ออกไป ในเวลาหนึ่งชั่วโมง หากเสียงเดินทางช้าไป 0.002 วินาที เขาก็สามารถสรุปได้ว่า อุณหภูมิของนํ้าได้เพิ่มสูงขึ้น 0.05 องศาเซลเซียสเรียบร้อย

ภาพประกอบเนื้อหา วิธีการวัดอุณหภูมิของทะเล
ดังนั้นในปี พ.ศ. 2532 ทีมทดลองที่นําโดย Munk ได้
ทดสอบความคิดนี้โดยใช้อุปกรณ์ โซนาร์ (sonar) ส่งเสียงไปในนํ้ า จากเกาะ Heard ที่อยู่กลางมหาสมุทรแอนตาร์กติกา เสียงที่มีความดัง 215 เดซิเบล (ดังพอๆ กับรถพยาบาล) เดินทางใต้นํ้ าไปได้ไกลถึงชายฝั่ง California ของมหาสมุทรแปซิฟิก และ เกาะ Bermuda ในมหาสมุทรแอตแลนติก
แต่การทดลองของ Munk นี้
ได้รับการต่อต้านจากบรรดานักชีววิทยาสัตว์ทะเลหลายคน เพราะคน กลุ่มนี้เกรงว่า การทดลองส่งเสียงเช่นนี้จะรบกวนสัตว์ทะเล เช่น ปลาวาฬ ปลาโลมา และแมวนํ้ า คือทํ าให้ มันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความเป็นอยู่ เช่นทําให้มันว่ายนํ้าหลงทางหรือทําให้มันหูหนวก
แต่ก็มีนักชีววิทยาอีกหลายคน ที่สนับสนุนโครงการวิจัยของ Munk
ฒฝิฬโดยให้เหตุผลว่าเสียงที่ใช้ในการ ทดลองนั้น ถึงแม้จะดัง แต่ก็คงไม่ทําให้สัตว์ทะเลพิการ เพราะ Munk จะค่อยๆ ส่งเสียงแทนที่จะเปิดดังทัน ที นอกจากนี้ความถี่ของเสียงที่ใช้ในการทดลองก็ไม่ตํ่าเท่ากับความถี่ที่ปลาโลมาหรือปลาวาฬใช้ในการหา อาหาร ยิ่งไปกว่านั้นตํ าแหน่งที่เสียงเดินทาง ก็ลึกมากและสัตว์ทะเลทั่วไปก็ไม่ดําลึกถึงระดับนั้น

ภาพประกอบเนื้อหา วิธีการวัดอุณหภูมิของทะเล
นอกจากนี้ทะเลก็ใช่ว่าจะสงบเงียบ
คือนอกจากจะมีเสียงคลื่น เสียงแผ่นดินไหว เสียงปลาวาฬ เสียง ขุดเจาะนํ้ามันในทะเล เสียงจากเรือเดินสมุทรต่างๆ ซึ่งสัตว์ทะเลที่ใครๆ ห่วงก็ชินชากับเสียงเหล่านี้อยู่แล้ว
แต่จะยังไงก็ตาม ทีมงานของ Munk
ก็ได้ปรับแผนการทดลองเล็กน้อย คือแทนที่จะส่งเสียงครั้งหนึ่ง ทุกๆ 4 วัน และได้ขอร้องให้นักชีววิทยาคอยสังเกตดูพฤติกรรมของสัตว์นํ้าตลอดเวลาที่เสียงกําลังดังเพื่อป้อง กันชีวิตของสัตว์เหล่านี้
นอกจากข่าวดีนี้แล้ว
ความนึกคิดของนักชีววิทยาเกี่ยวกับสุขภาพของสัตว์นํ้าก็ไม่มี เพราะนักชีว วิทยากลุ่มหนึ่งที่ได้เฝ้าศึกษาปลาวาฬและแมวนํ้าที่ระดับลึก 900 เมตร ได้พบว่าพฤติกรรมว่ายนํ้ ของสัตว์ ทะเลเหล่านี้ มิได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ภาพประกอบเนื้อหา วิธีการวัดอุณหภูมิของทะเล
และเมื่อปล่อยแมวนํ้าลงใกล้อุปกรณ์โซนาร์ มันก็ว่ายนํ้าต่อไป
เสมือนอุปกรณ์เหล่านี้ไม่มี แต่จะยังไงก็ตาม นักชีววิทยากลุ่มนี้ ได้บันทึกเสียงร้องเพลงของปลาวาฬ และ กําลังวิเคราะห์ดูว่า การทดลองนี้ทําให้ปลาวาฬหยุดร้องเพลงหรือไม่
ถึงแม้ความกังวลทั้งหลาย
จะถูกขจัดจนหมดสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ปัญหาใหม่ก็กํ าลังมีคือ โครงการมูล ค่า 1,600 ล้านบาทนี้ มีกําหนดสิ้นสุดลงในปลายปีนี้ และ Munk ก็คิดว่า ถ้าจะให้โครงการนี้ดําเนินต่อไป เขาต้องการงบประมาณสนับสนุนอีก 300 ล้านบาท/ปี
ตัวนักวิทยาศาสตร์นั้นคิดว่าโครงการนี้สํคัญ
แต่จะมีนักการเมืองใดบ้างที่คิดว่า การลงทุน 300 ล้านบาท/ปี เพื่อวัดอุณหภูมิของนํ้าทะเลนั้น สําคัญและคุ้ม

ภาพประกอบเนื้อหา วิธีการวัดอุณหภูมิของทะเล
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Digital Library for school net
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com
Love illusion ความรักลวงตา เพลงที่เข้ากับสังคมonline
Love illusion Version 2คนฟังเยอะ จนต้องมี Version2กันทีเดียว
Smiling to your birthday เพลงเพราะๆ ไว้ส่งอวยพรวันเกิด หรือร้องแทน happybirthday