ไอโอดีนป้องกันสารกัมมันตภาพรังสี

รัฐบาลฝรั่งเศส


ได้แจกจ่ายเม็ดไอโอดีนให้กับประชาชนจำนวนประมาณ 600,000 คน ที่อาศัยอยู่ใกล้ที่ตั้งของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ (NUKE nuclear power plant) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้า Chernobyle ของประเทศรัสเซีย

ห้องปฏิบัติการ นิวเคลียร์ห้องปฏิบัติการ นิวเคลียร์


Herve Gaymard รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศฝรั่งเศส


ได้แถลงข่าวเมื่อ วันอังคารที่ 18 มีนาคม 2540 ว่า ฝรั่งเศสได้เริ่มแจกจ่ายเม็ดไอโอดีนให้แก่ประชาชนตั้งแต่เดือนเมษายน 2529 เป็นต้นมานับเป็นเวลา 10 ปี หลังจากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมือง Chernobyle ซึ่งได้กระจายกลุ่มหมอกควันกัมมันตภาพรังสีไปทั่วประเทศรัสเซีย และบริเวณส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป

ไอโอดีนเป็นสารที่ทราบกันดีว่า


ช่วยเป็นเกราะป้องกันร่างกายมนุษย์ อย่างน้อยที่สุดป้องกันสารพิษกัมมันภาพรังสีที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

เม็ดไอโอดีน


ได้ถูกพัฒนาให้สามารถรับประทานได้ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยจะไปรวมกันที่ต่อมไธรอยด์ซึ่งจะช่วยทำให้โรคมะเร็งอ่อนแอลง หลังจากที่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสี

ห้องปฏิบัติการ นิวเคลียร์ห้องปฏิบัติการ นิวเคลียร์


รัฐบาลฝรั่งเศสได้กล่าวว่า


สารกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลจากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมือง Chernobyle ไม่สามารถที่จะเข้าไปถึงประเทศฝรั่งเศสได้เพราะไหลผ่านท้องฟ้าฝรั่งเศสไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด

โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์


จำนวน 25 แห่งของประเทศฝรั่งเศสโดยทั่วไปกล่าวได้ว่า มีความ ปลอดภัยสูงสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบกระแสไฟฟ้าของประเทศฝรั่งเศสได้ถึง 77 เปอร์เซนต์

Florence Lepany-Duval โฆษกหญิงแห่งกระทรวงสาธารณสุข


ได้กล่าวถึงเหตุผลที่รัฐบาลได้กำหนดเวลาในการแจกจ่ายเม็ดไอโอดีนให้กับประชาชนตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันนี้ เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม 2538 ที่ผ่านมาได้เลือกช่วงเวลาครบรอบ 10 ปีที่เกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์Chernobyle นับเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้

ห้องปฏิบัติการ นิวเคลียร์ห้องปฏิบัติการ นิวเคลียร์


ประเทศฝรั่งเศสยังไม่เคยได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง


จากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งที่เมือง Grenobe ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากเกิดการรั่วไหลที่เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า ทำให้ต้องหยุดการทำงานเป็นเวลา 2 เดือน เมื่อปี พ.ศ. 2538

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า


ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้โรงงานกำจัดกากนิวเคลียร์ที่เมือง La Hague ใกล้ชายฝั่งทะเล Normandy ของประเทศฝรั่งเศสได้รับสารกัมมันตภาพรังสี และกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่า ประชาชนที่เดินเล่นบริเวณชายหาดใกล้ที่ตั้งของโรงงานกำจัดกากนิวเคลียร์ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีมากกว่า 3,000 เท่าของปกติ เนื่องจากท่อส่งกากสารกัมมันตภาพรังสีชำรุด



ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Digital Library for school net
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

ไอโอดีนป้องกันสารกัมมันตภาพรังสี


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์