มารู้จัก เอนไซม์ กัน!!
เอนไซม์ (Enzymes) คือ
สารอินทรีย์เร่งปฏิกริยา (Organic catalysts) ทีมีโครงสร้างซับซ้อน คนไทยนิยมเรียกเอนไซม์ว่า น้ำย่อย (อาหาร) เช่นน้ำย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน เอนไซม์สร้างมาโดยเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตทั้งพืชและสัตว์
หน้าที่ของเอนไซม์เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวะเคมี คือ
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีของกรรมวิธีต่างๆ ทางชีววิทยา เช่น การย่อยอาหาร การหมัก เอนไซม์แต่ละชนิดทำหน้าที่ได้ดี ณ อุณหภูมิ, pH และ substrate (สารที่ถูกทำให้ลลายตัว) เฉพาะเท่านั้น
เอนไซม์ทั้งหลายที่เรารู้จัก คือ โปรตีน
เอนไซม์บางชนิดมีสาร non-proteins รวมอยู่ด้วย เรียกว่า prosthetic groups ซึ่งจำเป็นในการเร่งปฏิกริยาบางอย่าง แต่องค์ประกอบส่วนมากแล้วเป็นโปรตีนเกือบทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะถูก inactivate ด้วยความร้อน
ในน้ำนมมีเอนไซม์มากมายหลายชนิด
ซึ่งหลั่งออกมาจากเซลล์ของต่อมเต้านม เอนไซม์เหล่านี้ยังไม่ทราบหน้าที่แน่นอนว่ามีอยู่ในน้ำนมเพื่อทำหน้าที่อะไร หรือเป็นส่วนที่มากเกินพอแล้วถูกขับออกมาในน้ำนมระหว่างการหลั่งน้ำนม
เอนไซม์ที่พบในน้ำนมมีประมาณ ๒๐ ชนิด
มีประมาณ ๕ ชนิดที่ทราบรายละเอียด
อีกประมาณ ๑๕ ชนิด ยังไม่ทราบรายละเอียดมากนัก
ส่วนเอนไซม์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยแบคทีเรียในน้ำนม ไม่จัดว่าเป็นเอนไซม์ที่เป็นส่วนประกอบของน้ำนม
เอนซม์ในนมมีหลายชนิด เช่น ไลเปส คะตะเลส แลคเตส เป็นต้น
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Digital Library for school net
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com