Pinatubo กับปรากฎการณ์เรือนกระจก
ภูเขาไฟ Pinatubo ในประเทศฟิลิปปินส์ได้ระเบิด
หลังจากที่ได้นอนสงบนิ่งมานาน 600 ปี การระเบิดครั้งนี้ จัดได้ว่าเป็นการระเบิดของภูเขาไฟ ครั้งใหญ่ที่สุดประจำศตวรรษ เถ้าถ่าน ฝุ่นละออง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ลอยเป็นพวย พุ่งขึ้นไปในบรรยากาศชั้นบนถึงระดับความสูง 23 กิโลเมตร และเพียงแค่สามอาทิตย์เท่านั้น กระแสลมแรงเหนือโลกก็ได้พัดพาละอองดาวเหล่านี้ แผ่กระจายเป็นสายสะพายขนาดยักษ์ พาดไปบนฟ้าครอบคลุม 40% ของพื้นที่โลกเบื้องล่าง
ฝุ่นภูเขาไฟสะท้อนแสงอาทิตย์ ที่มาตกกระทบได้ล้ำเลิศ
ดังนั้นจึงทำหน้าที่บดบังแสงอาทิตย์ได้ดียิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้บรรยากาศของโลกเบื้องล่างจึงเย็นลง นักอุตุนิยมวิทยาจาก National Oceanic and Atmospheric Administration(NOAA) ของสหรัฐอเมริกาได้คำนวณพบว่า อิทธิพลจากการระเบิดของภูเขาไฟ Pinatubo ครั้งนี้จะทำให้อุณหภูมิของอากาศ ในบริเวณเส้นศูนย์สูตรลดต่ำลง 2 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิของอากาศทั้งโลกในช่วงระยะเวลา 2 4 ปีข้างหน้า เย็นลงครึ่งองศาเซลเซียส
การทำนายนี้มีโอกาสเป็นไปได้
เพราะในปี พ.ศ. 2426 ตอนที่ภูเขาไฟ Krakat ของอินโดนีเซียระเบิดนั้น ฝุ่น ดิน และผงถ่านปริมาณหนึ่งหมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ลอยฟุ้งฟ้านานถึงขนาดที่ทำให้ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในทวีปยุโรปตอนเหนือ ไม่มีฤดูร้อนไปหนึ่งปี
นอกจากเถ้าถ่านที่กระเด็นออกมาจากภูเขาไฟแล้ว
นักธรณีวิทยายังพบว่า แร่มีค่า เช่น ทองคำ โครเมียม ทองแดง ฯลฯ ได้ไหลทะลักออกมาด้วย แต่ปริมาณทองคำที่ผุดออกมาแบบธรณี บันดาลให้ลักษณะนี้มีน้อยนิดเพียง 0.000002% เท่านั้นเอง ดังนั้นการที่จะคิดร่ำรวย โดยอาศัยการสกัดทองคำจากภูเขาไฟ จึงต้องเลิกล้ม เพราะได้ไม่คุ้มเสีย
แต่นักธรณีวิทยาก็ถือว่า
ข้อมูลธาตุต่าง ๆ ที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟนั้นมีค่ามาก เพราะข้อมูลเหล่านี้ชี้บอกว่า ใต้ภูเขาไฟนั้น ๆ มีธาตุอะไร ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทราบโครงสร้าง อีกทั้งสามารถทำนายการระเบิดของภูเขาลูกนี้ ในครั้งต่อไปได้อีกด้วย
ปัจจุบันนี้ เทคนิคการทำนายเวลาระเบิดของภูเขาไฟ ได้ก้าวหน้าไปมาก
นักวิทยาศาสตร์ที่ใช้ seismometer วัดการสั่นไหวของแผ่นดินรอบภูเขาไฟ เขาจะวัดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก และใช้เครื่องบิน บินตรวจสอบปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะมีเพิ่มขึ้นมากก่อนภูเขาไฟระเบิด
นอกจากนี้เขายังใช้แสงเลเซอร์ วัดขนาดของภูเขาไฟ
ซึ่งมักจะพองโตก่อนที่มันจะตูมตามขึ้นมา ความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ ในการเตือนภัยภูเขาไฟ ในปัจจุบันได้ล้ำลึกถึงขนาดที่ว่า ในการระเบิดของภูเขาไฟ St. Helens ในสหรัฐอเมริกาจำนวน 22 ครั้งที่ผ่านมานี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถทำนายล่วงหน้า ได้ถูกต้องถึง 19 ครั้ง
ในอนาคต เราคาดหวังกันว่า
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Digital Library for school net
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com