เอพี/รอยเตอร์/บีบีซีนิวส์ นักดาราศาสตร์สหรัฐฯ ประกาศว่าพวกเขาได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ใหญ่กว่าดาวพูลโตอยู่ในวงโคจรรอบๆ ดวงอาทิตย์ การค้นพบครั้งนี้อาจจะนำไปสู่กลับมาถกเถียงอีกครั้งถึงนิยามที่ชัดเจนของ ดาวเคราะห์ และสถานภาพของ พูลโต ที่จะยังควรเป็นดาวเคราะห์ต่อไปหรือไม่
นักดาราศาสตร์พบ ดาวเคราะห์ดวงที่ 10
วัตถุที่ยังไม่มีชื่อเสียงเรียงนามชิ้นที่พบนี้ นับเป็นวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะเท่าที่นักดาราศาสตร์สามารถค้นหาได้ โดยวัตถุชิ้นนี้ห่างจากโลกประมาณ 15,000 ล้านกิโลเมตร และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 97 เท่าของโลก อย่างไรก็ดีนักดาราศาสตร์ยังไม่รู้ขนาดที่แท้จริงของวัตถุชิ้นนี้ แต่ว่าแสงสว่างของมันแสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ดังกล่าวน่าจะมีขนาด 1 เท่าครึ่งของดาวพลูโตที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,302 กิโลเมตร
นี่เป็นวัตถุชิ้นแรกที่ได้รับการยืนยันว่าน่าจะใหญ่กว่าดาวพูลโตในระบบสุริยะชั้นนอก
ไมเคิล บราวน์ (Michael Brown) นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย หรือ Caltech (California Institute of Technology) กล่าว ซึ่งบราวน์รีบร้อนให้สัมภาษณ์เนื่องจากเขาได้รับแจ้งว่ามีการแฮกเว็บไซต์ที่มีข้อมูลการค้นพบครั้งนี้ และแฮกเกอร์ก็ขู่ที่จะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
บราวน์ได้ติดป้ายวัตถุชิ้นนี้ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 10 แห่งระบบสุริยะไปแล้ว แต่ว่าเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงโต้เถียงถึงการระบุประเภทของดาวพูลโต ซึ่งยังไม่มีการกำหนดเงื่อนไขระบุสถานะอย่างเป็นทางการและไม่มีการตั้งมาตรฐาน อย่างเช่น ขนาด หรือรูปแบบวงโคจร ที่จะทำให้การค้นพบวัตถุบนท้องฟ้าเข้าข่ายดาวเคราะห์หรือไม่
บราวน์และเพื่อนร่วมงานอย่างชาด ทรูจิลโล (Chad Trujillo) จากหอดูดาวเจมินี (Gemini Observatory) และเดวิด ราบิโนวิตซ์ (David Rabinowitz) จากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ได้ร่วมกันบันทึกภาพวัตถุชิ้นใหม่นี้เป็นครั้งแรกเมื่อปลายเดือน ต.ค.2546 โดยใช้กล้องโทรทรรศน์เส้นผ่านศูนย์กลาง 48 นิ้วของหอดูดาวพาโลมาร์ (Palomar Observatory) ใกล้เมืองซานดิเอโก แคลิฟอร์เนีย แต่เนื่องจากอยู่ไกลเกินกว่าจะตรวจพบการเคลื่อนที่ได้ จนกระทั่งมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ใหม่อีกครั้งเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทางทีมงานจึงได้มีโอกาสวิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้วงโคจรยังทำมุม 45 องศากับระบบสุริยะ ทำให้ไม่มีใครเคยสังเกตวงโคจรที่สูงขึ้นไปจากมุมที่เคยสังเกตการณ์ตามปกติ นักดาราศาสตร์ระบุว่าจะสามารถสังเกตเห็นดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ตลอดช่วง 6 เดือนข้างหน้า ช่วงนี้กำลังโคจรอยู่เกือบเหนือศีรษะในช่วงเช้าตรู่ทางทิศตะวันออกในกลุ่มดาวเซตุส หรือกลุ่มดาวปลาวาฬ
บราวน์อธิบายว่า ดาวเคราะห์ดวงใหม่เต็มไปด้วยแนวหินและน้ำแข็งเหมือนกับดาวพูลโต และเป็นวัตถุที่สว่างมากเป็นอันดับ 3 ในแถบวงแหวนหรือเข็มขัดไคเปอร์ (Kuiper belt) ซึ่งเป็นแถบเศษน้ำแข็งอยู่บริเวณเหนือวงโคจรของดาวเนปจูน และดาวดวงใหม่นี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องใช้เวลานานในการค้นพบ เพราะดาวดวงนี้ใช้เวลาถึง 560 ปีโคจรครบรอบดวงอาทิตย์ และในอีก 280 ปีข้างหน้าดาวดวงนี้จะอยู่ใกล้เนปจูน
อลัน สเติร์น จากสถาบันวิจัยเซาท์เวสเทิร์น (Southwestern Research Institute) ในเมืองโบลเดอร์ โคโลราโด กล่าวว่าเขาไม่รู้สึกแปลกใจกับการค้นพบครุ้งนี้ ตั้งแต่มีการพบวัตถุต่างๆ ในแถบไคเปอร์ใกล้ดาวพูลโต ซึ่งคงจะต้องดูต่อไปว่าวัตถุที่พบล่าสุดมีขนาดใหญ่กว่าพูลโตและมีลักษณะเฉพาะอย่างไร
นอกจากนี้ ยังมีนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มจากสเปนอ้างว่าพวกเขาค้นพบวัตถุสว่างเหนือดาวเนปจูน แต่ดูเหมือนว่าจะเล็กกว่าดาวพูลโต ซึ่งบราวน์ก็กล่าวเช่นกันว่าทีมของเขาก็พบวัตถุอีกชิ้นที่สว่างกว่าพลูโตแต่มีขนาดเล
็กกว่า
อย่างไรก็ดี บราวน์ได้ส่งคำขอตั้งชื่อดาวเคราะห์ดวงใหม่ให้แก่ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union : IAU) ได้พิจารณาแล้ว แต่เขาปฏิเสธที่จะเปิดเผยว่าดาวดวงใหม่นี้มีนามว่าอะไร แต่มีชื่อเรียกชั่วคราวว่า 2003-ยูบี 313 (2003UB313) ซึ่งโครงการวิจัยของบราวน์ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ หรือนาซา
ที่สำคัญ ดร.บราวน์แห่ง caltech ผู้เดียวกันนี้ก็ได้สร้างความฮือฮาให้กับโลกเมื่อปีที่แล้ว (2547) ด้วยการประกาศว่าค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่ 10 โดย เมื่อค้นพบวัตถุรหัส "2003 VB12" ในแถบไคเปอร์ และต่อมาตั้งชื่อว่า "เซ็ดนา"ตามชื่อที่ชาวอินูอิตหรือชาวเอสกิโม ใช้ขนานนามเทพธิดาแห่งมหาสมุทร
การค้นพบดังกล่าวนำไปสู่การถกเถียงครั้งใหญ่ในวงการดาราศาสตร์ ซึ่งเซ็ดนาและพลูโตน่าจะถูกเรียกว่าเป็น วัตถุใน "แถบไคเปอร์" ซึ่งหมายถึงพื้นที่ที่ไกลออกไปจากดาวพลูโตและมีวัตถุทั้งเล็กและใหญ่ล่องลอยอยู่มากม
าย แทนที่จะเรียกว่าเป็น "ดาวเคราะห์" ในระบบสุริยะ แต่ที่สุดแล้ว "เซ็ดนา" ได้รับสถานภาพเป็นแค่เพียง "ดาวเคราะห์น้อย"