สารระเหยจากกัญชารักษาโรค

สารระเหยจากกัญชารักษาโรค


จากการศึกษาพบว่า


การทำให้สารระเหยจากใบกัญชาแทนที่การเผามัน จะช่วยให้สารออกฤทธิ์ของกัญชาเกิดประสิทธิภาพได้ โดยการหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารพิษที่เกิดจากการสูดดมควันของมัน ผลการศึกษาอาจเป็นข่าวดีสำหรับคนที่ใช้กัญชาในทางการแพทย์

ผลประโยชน์ที่สำคัญของกัญชา

รวมถึงการบรรเทาอาการเจ็บปวดจากหลายๆ โรค ใช้รักษาโรคต้อหิน ใช้กระตุ้นความอยากอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์ และใช้เป็นยาแก้อาเจียนสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด แต่การสูบกัญชาไม่ใช่วิธีที่ดีของการให้ยานี้เพราะว่ามีผลเสียที่อันตราย เช่นโรคมะเร็งปอดและโรคหัวใจ

สารระเหยจากกัญชารักษาโรค


นอกจากการสูบแล้ว


บางคนยังใช้ใบกัญชามาใช้ในการทำเป็นชาหรือใส่ในเค้กเพื่อการบริโภค แต่นั่นหมายความว่าสารสำคัญของมันจะถูกเมตาบอไลท์โดยตับมากกว่าที่จะผ่านเข้าไปในกระแสเลือดโดยตรงโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง

วิธีการอื่นๆ ได้เน้นไปที่

การสกัดส่วนประกอบสำคัญเช่น tetrahydrocannabinol หรือ THC และให้โดยตรงโดยทำให้อยู่ในรูปของยาเม็ดหรือสเปรย์ฉีดพ่นเข้าทางปาก อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายคิดว่าการสกัดแยกเอาส่วนประกอบออกมาจะไม่มีฤทธิ์ในทางรักษาได้เท่ากับการใช้พืชทั้งต้นและมันก็เป็นการยากที่จะกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสมกับแต่ละคนได้ด้วยการให้กินยาเม็ด

Donald Abrams จาก University of California ซานฟรานซิสโก


และทีมของเขาได้ตัดสินใจที่จะทำการศึกษาผลดีของเครื่อง 'Volcano' ที่ใช้ทำให้สารระเหยเป็นไอ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เครื่องมือนี้จะทำการให้ความร้อนใบกัญชาที่อุณหภูมิระหว่าง 180-200 องศาเซลเซียส ดังนั้นสาร THC จึงระเหยออกจากน้ำมันบนพื้นผิวของใบที่ยังไม่เกิดกระบวนการเผาใหม่

การศึกษาก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นถึง

อันตรายของสารพิษที่ถูกปล่อยออกมาขณะที่มีการสูบกัญชา เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอ๊อกไซม์ (carbon monoxide), เบนซีน (benzene) และสารที่เป็นต้นกำเนิดของสารพวก polycyclic aromatic hydrocarbons หรือที่เรียกว่าสารก่อมะเร็ง (carcinogens) สารเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้

สารระเหยจากกัญชารักษาโรค


การศึกษาของ Abrams


ได้ทำการเปรียบเทียบผลของการสูบและการใช้ไอระเหยจากกัญชาในคน เป็นครั้งแรก เขากล่าวว่าเขาสามารถให้สารที่เทียบเท่ากับ THC เข้าสู่กระแสเลือดได้ ความแตกต่างหลักๆ

ระหว่างวิธีการให้สาร 2 วิธีคือ

สาร THC ดูเหมือนว่าจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเร็วการการใช้เครื่อง vaporizer และได้มีการเปรียบเทียบผลทางเภสัชวิทยาและสรีระวิทยา ถึงแม้ว่ายังต้องการการศึกษาที่มากกว่านี้เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าทั้งสองวิธีนี้ให้ผลทางชีววิทยาที่เท่ากัน

การศึกษาแรกที่เน้นศึกษาถึงข้อดีของการใช้เครื่อง vaporizer


กับกัญชาได้มีการตีพิมพ์มากว่า 5 ปีแล้ว แต่ความก้าวหน้าของงานวิจัยเป็นไปอย่างเชื่องช้า ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่ามีแหล่งวิจัยเพียงแหล่งเดียวที่ได้รับอนุญาตให้ใช้กัญชาในสหรัฐอเมริกา คือสถาบัน the National Institute on Drug Abuse (NIDA) การวินิจฉัยทางกฎหมายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์นี้แนะว่าสั่งให้ US Drug Enforcement Administration (DEA) และ NIDA มีเอกสิทธิ์เพียงผู้เดียวทางกฎหมายในการผลิตกัญชาสำหรับใช้ในงานวิจัย

สารระเหยจากกัญชารักษาโรค


Laura Bell จาก Multiple Sclerosis Society ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า


ในสมาคมของเธอได้สนับสนุนการวิจัยเรื่อง cannabinoid ในคนเกี่ยวกับโรค multiple sclerosis การสูบกัญชามีผลทำให้ได้รับสารเคมีที่เป็นพิษหลายตัว และยินดีที่จะรับงานวิจัยที่มีวิธีที่ดีกว่า ปลอดภัยกว่าในการได้รับสารดังกล่าว

ใ บกัญชาไม่ได้เป็นสารเดียวที่เหมาะสำหรับทำให้ระเหย

โดย vaporizer พืชสมุนไพรตัวอื่นเช่น ยูคาลิปตัส และคาโมไมล์ก็สามารถใช้ได้ หรือพืชอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติทางการแพทย์ของสารระเหยที่มีอยู่ในใบของมัน


*ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ วิชาการ ดอทคอม
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

**ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์