พิพิธภัณฑ์มด สวยงามด้วยความรู้
มด สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
อยู่ใกล้ชิดกับเราตลอดเวลา ไม่ต้องเดินหามดตามป่า ต้นไม้ แค่อยู่บ้าน ไม่ว่าจะบ้านตึก บ้านไม้ มดเข้ามาเยี่ยมเยือนได้เสมอ
หากบ้านไม่สะอาดมีเศษอาหารตกหล่น เก็บไม่มิดชิด
มดได้กลิ่นอาหารก็พากันเดินขบวนมาหา อาหารกันทิวแถว หรือโบราณว่ามด อพยพหนี กันขึ้นที่สูงเป็นสัญญาณเตือนว่าฝนจะตก
ประมาณการกันว่า ทั่วโลกมีมดอยู่ 10,000 ชนิด
ที่ค้นพบแล้ว 8,800 ชนิด ประเทศไทยมีมดอยู่ประมาณ 700-800 ชนิด มดตัวเล็ก ๆ หากชั่งน้ำหนักมดทั้งโลก พบว่ามีน้ำหนักพอ ๆ กับคนทั้งโลกโดยทีเดียว
มดใช้ภาษาของหนวดในการสื่อสารพูดคุย
โดยใช้การเคลื่อนไหวของหนวดจากด้านหนึ่งไปด้านข้าง ด้านหน้า หรือด้านหลัง เพื่อบอกตำแหน่งของอาหารหรือรัง เราจะเห็นมดเดินสวนกันคล้ายจูบกัน นั่นเป็นวิธีการสื่อสารอีกลักษณะหนึ่ง
นอกจากนี้มดยังสร้างระบบ นิเวศให้สมดุล
มดช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช ช่วยย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ และช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินทางกายภาพและทางเคมี
มดมีคุณค่าหลายอย่าง
แต่ในเมืองไทยยังไม่มีหน่วยงานไหนศึกษามดอย่างจริงจัง จากแนวคิดนี้ ทำให้ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย รศ.เดชา วิวัฒน์วิทยา อาจารย์ภาควิชาป่าไม้ ได้เริ่มศึกษาธรรมชาติของมด และก่อตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์มด เมื่อปี 2544
พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวเก็บตัว อย่างมดจากทั่วประเทศและทั่วโลก
ศึกษาด้านอนุกรมวิธาน ชีววิทยา นิเวศ วิทยาของมด และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้สนใจเรื่องมด นำความรู้ไปประยุกต์ในแง่ของใช้ประโยชน์จากมด
เดิมทีพิพิธภัณฑ์มด ณ ที่ แห่งนี้
เป็นทั้งห้องศึกษาวิจัย และห้องพิพิธภัณฑ์รวมกัน พื้นที่ขนาดเล็กที่ต้องรับทั้งสองบทบาทค่อนข้างวุ่นวายพอสมควร ล่าสุดพิพิธภัณฑ์มดอย่างเป็นทางการได้เปิดตัวขึ้น ณ ตึกวินิจวนันดร คณะวนศาสตร์
พิพิธภัณฑ์จัดแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
ส่วนที่ 1 มหัศจรรย์แห่งมด ชี้ให้เห็นเรื่องราววิวัฒนาการ รูปร่าง สังคม อาหารและการสื่อสาร
ส่วนที่ 2 สายใยสัมพันธ์แห่งมด แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงของมดกับมนุษย์ กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ส่วนที่ 3 คุณค่าอนันต์ของมด ชี้ให้เห็นว่ามดเป็นทั้งแหล่ง อาหาร และการท่องเที่ยว และ
ส่วนที่ 4 ชีวิตอัศจรรย์ของมด ชี้ให้เห็นว่า มดมี ผู้นำตัวเดียว แต่ก็อยู่กันได้อย่างสงบสุข แม้มีประชากรจำนวนมาก ในส่วนนี้ยังได้ ทำการเลี้ยงมดในกล่อง กระจก แสดงถึงความสามัคคี ความขยัน เสียสละของมด
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ นสพ.เดลินิวส์
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com