
ข้าวจีเอ็มโอ วัคซีนต้านอหิวาต์

นักวิทยาศาสตร์ปรับปรุงพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่
ให้นำพาวัคซีนป้องกันเชื้ออหิวาตกโรค ใช้ง่าย ราคาถูก และยังสามารถจ่ายแจกได้ทั่วถึงกว่าการฉีดวัคซีนแบบมาตรฐาน โทโมโนริ โนชิ
จากมหาวิทยาลัยโตเกียว และทีมวิจัย ได้ปรับปรุงพันธุกรรมข้าวให้ผลิตโปรตีนคลอเลอรา ท็อกซิน บี
ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยทีมวิจัยกล่าวว่า วัคซีนข้าวต้านอหิวาต์มีประสิทธิภาพที่สุดเนื่องจากเป็นวัคซีนที่ให้ทางปาก (คล้ายกับวัคซีนโปลิโอ) และยังใช้รับมือภาวะติดเชื้ออหิวาต์ได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นการระบาดโดยธรรมชาติ หรือเกิดจากการก่อการร้ายก็ตาม

นอกจากนี้ วัคซีนข้าวยังมีต้นทุนที่เหมาะสม
สามารถนำไปดำเนินการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบปัญหาโรคอหิวาต์ระบาดได้รวดเร็ว ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง
อหิวาตกโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียไวบริโอ คลอเลอเร เข้าสู่ร่างกาย
จากการบริโภคอาหารและน้ำดื่มปนเปื้อนเชื้อโรค หลังติดเชื้อเพียงไม่กี่ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้จากอาการท้องร่วงรุนแรง และช็อกจากอาการเสียน้ำ มักพบระบาดในประเทศยากจน
คริสโตเฟอร์ ถัง ศาสตราจารย์ด้านโรคติดเชื้อจากอิมพีเรียล คอลเลจ
กล่าวเห็นด้วยว่า วัคซีนข้าวเป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนต่ำเหมาะกับประเทศกำลังพัฒนาอย่างมาก

ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ปรับปรุงพันธุ์พืช
ให้มีคุณสมบัติเป็นวัคซีนในตัวบ้างแล้ว เช่น ผักกาดหอมที่ผลิตสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ บี และผักโขมที่ป้องกันเชื้อพิษสุนัขบ้า และยังมีพืชอีกหลายชนิดที่อยู่ระหว่างการทดสอบเพื่อดูว่าปลอดภัยต่อคนหรือไม่
พืชดัดแปรพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอ เป็นพืชที่นำเอายีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น
เช่น แบคทีเรีย หรือไวรัส เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพันธุกรรมพืช โดยมุ่งให้พืชดังกล่าวผลิตโปรตีน หรือสารภูมิคุ้มกันที่ช่วยปกป้องพืชจากโรคพืช และแมลง ซึ่งเป็นวิธีป้องกันโรคคล้ายกับการฉีดวัคซีนให้แก่คน อย่างไรก็ตาม หลายประเทศยังไม่ยอมรับพืชดัดแปรพันธุกรรม โดยวิตกว่ายีนแปลกปลอมที่อยู่ในพืชอาจส่งผลต่อร่างกายมนุษย์เมื่อรับประทานเข้าไป
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ นสพ.คม ชัด ลึก
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com
Love illusion ความรักลวงตา เพลงที่เข้ากับสังคมonline
Love illusion Version 2คนฟังเยอะ จนต้องมี Version2กันทีเดียว
Smiling to your birthday เพลงเพราะๆ ไว้ส่งอวยพรวันเกิด หรือร้องแทน happybirthday