วิธีการทำงานของรอก
โดยปกติแล้ว หากเราต้องการที่จะยกหรือลากวัตถุใดๆ
เราจะต้องออกแรงกระทำต่อวัตถุนั้นๆด้วยปริมาณเท่ากับแรงต้านที่วัตถุนั้นๆมีอยู่ (Load) (มดยกของธรรมดา)นั่นหมายความว่า หากวัตถุที่เราต้องการยกนั้นมีน้ำหนักมาก เราก็ต้องออกแรงมากตามไปด้วย (มดยกของแล้วยกไม่ไหวโดนทับ)
จึงมีการคิดค้นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ เราสามารถยกวัตถุที่หนักมาก ๆ
โดยการออกแรงน้อยๆได้ เรียกว่า "เครื่องผ่อนแรง (Machines)"เครื่องผ่อนแรงนั้นใช้หลักการของการได้เปรียบเชิงกล (Mechanical Advantage M.A.) เพื่อช่วยลดแรงที่เราต้องใช้กับวัตถุต่างๆ
การได้เปรียบเชิงกล
สามารถหาได้จากอัตราส่วนระหว่างแรงต้านที่วัตถุนั้นๆมีอยู่ กับแรงที่เรากระทำต่อวัตถุ (แรงพยายาม) และอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่เคลื่อนที่โดย แรงพยายามกับระยะทางที่เคลื่อนที่โดยโหลด นั้นเรียกว่า "อัตราส่วนความเร็ว (Velocity Ratio - V.R.)"
เราสามารถหาค่าประสิทธิภาพ (Efficiency)
ได้จากการนำ
รอก (Pulley)
เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะกลมแบน หมุนได้คล้ายวงล้อ ใช้เชือกหรือโซ่คล้องสำหรับดึง
รอกแบ่งออกเป็นหลายชนิดได้แก่
รอกเดี่ยวตายตัว
จะมีเชือกคล้องผ่านวงรอก 1 ตัว ปลายเชือกด้านหนึ่งผูกติดวัตถุที่ต้องการยก อีกด้านหนึ่งสำหรับจับเพื่อดึงวัตถุ รอกแบบนี้ไม่ผ่อนแรง แต่อำนวยความสะดวกในการทำงาน
รอกเดี่ยวเคลื่อนที่
เป็นรอกที่เคลื่อนที่ได้เมื่อนำไปใช้งาน รอกแบบนี้ช่วยผ่อนแรงครึ่งหนึ่งของน้ำหนัก
รอกพวง
เกิดจากการนำรอกหลายอย่างและหลายตัวมาต่อกันเป็นระบบ มีลักษณะเป็นพวง
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Kmutt Libraty
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com