กฟผ.-ก.วิทย์เตรียมฟื้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

กฟผ.-ก.วิทย์เตรียมฟื้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


รัฐบาลไฟเขียวแผนพลังงานชาติ


กำหนดให้ศึกษาแนวทางสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 โรงใน 14 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ควงคู่ กฟผ.เร่งศึกษาข้อมูลต่างประเทศ หาเทคโนโลยีที่ปลอดภัยที่สุด

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า


ประเทศไทยมีความสนใจเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และกำลังอยู่ในช่วงศึกษาเทคโนโลยีจากประเทศที่มีศักยภาพด้านนี้ โดยเลือกศึกษาดูงานเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นและประเทศรัสเซีย ขณะที่ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณ 224 โรง และจะเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่เว้นกระทั่งประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม อินโดนีเซียและมาเลเซีย ที่ต่างก็มีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

กฟผ.-ก.วิทย์เตรียมฟื้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


ล่าสุดคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับแผนพลังงาน PDP 2007


ที่จัดทำโดยกระทรวงพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยส่วนหนึ่งของแผนดังกล่าวให้ความสำคัญกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยตั้งเป้าที่จะสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวให้มีกำลังการผลิต 1,000 เมกะวัตต์ ให้ได้ 2 โรงในอีก 14 ปีข้างหน้า พร้อมทั้งตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ให้ได้ 10% ของพลังงานที่ใช้ในประเทศ

เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์สำหรับประเทศ


ยังคงอยู่ระหว่างการศึกษาถึงประสิทธิภาพ ความปลอดภัย

โดยปัจจุบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่ใช้ทั่วโลกแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

ระบบเตาปฏิกรณ์แบบต้มน้ำ (BWR) และ

ระบบผลิตน้ำภายใต้ความดัน (PWR)

ไทยจำเป็นต้องศึกษาในรายละเอียดและคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด

กฟผ.-ก.วิทย์เตรียมฟื้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


กฟผ.ยันเทคโนโลยีปลอดภัยสูง


นายนพพล มิลินทางกูร ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยสนใจพลังงานนิวเคลียร์มาประมาณ 30 ปี โดยศึกษาความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ศึกษาเลือกสถานที่ก่อสร้างโรงงาน ตลอดจนตรวจสอบความปลอดภัยจากทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)

แต่โครงการดังกล่าวต้องยุติลง เนื่องจากมีกลุ่มคัดค้าน

เพราะเกรงผลประทบด้านความปลอดภัย แต่แท้จริงแล้วเทคโนโลยีมีความปลอดภัยสูง จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในทวีปยุโรป รวมถึงเอเชีย อย่างประเทศญี่ปุ่น

กฟผ.-ก.วิทย์เตรียมฟื้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


เทคโนโลยีนิวเคลียร์คุ้มค่าต่อการลงทุน


เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้ คือ ยูเรเนียม 235 ซึ่งขุดได้ในธรรมชาติ มีจำนวนมากพอสำหรับการใช้งานในปัจจุบัน นอกจากนี้กากของแร่ยูเรเนียมสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จนกว่าจะเสื่อมสภาพ แร่ดังกล่าวมีอายุการใช้งานนานประมาณ 2 ปี" นายนพพล กล่าว

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังวลด้านความปลอดภัย ในการทิ้งกากยูเรเนียมที่เสื่อมสภาพแล้ว

ปัจจุบันประเทศที่ใช้เทคโนโลยียังคงเลือกวิธีการกำจัดด้วยการฝังดินเพื่อรอเทคโนโลยีในการกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

กฟผ.-ก.วิทย์เตรียมฟื้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์