ภัยเชื้อโรคในอาหารสุญญากาศ
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดนมาร์ก พบว่า
อาหารจำพวกเนยและเนื้อบดที่ผนึกด้วยบรรจุภัณฑ์สุญญากาศตามห้างสรรพสินค้าอาจเป็นแหล่งพำนักอาศัยชั้นดีสำหรับเชื้อที่ก่อให้เกิดพิษในอาหาร
อาหารที่บรรจุด้วยระบบสุญญากาศ
เป็นระบบที่ไล่ออกซิเจนออกจากบรรจุภัณฑ์เพื่อคงความสดและยืดอายุวางจำหน่าย แต่วิธีนี้กลับเป็นประโยชน์ต่อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ลิสเทอเรีย โมโนไซโตเจนส์ เป็นแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเป็นพิษ และร้อยละ 25 ของคนที่ได้รับเชื้อมีโอกาสเสียชีวิต
แบคทีเรียชนิดนี้ต่างจากเชื้อโรคในอาหารชนิดอื่น
พวกมันสามารถเจริญเติบโตได้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำ คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐยังระบุด้วยว่า แบคทีเรียบลิสเทอเรียนี้ถูกโฉลกกับอาหารจำพวกนมสด ไอศกรีม ชีสแบบนุ่ม ฮอตดอก เนื้อสด ผักสด เนื้อสัตว์ปีกชนิดปรุงสุกและเนื้อสด ปลาสดและรมควัน
ทีมวิจัยจากเดนมาร์กระบุในรายงานว่า
แบคทีเรียสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องการออกซิเจน ดังนั้น เมื่อยู่ในบรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ โอกาสที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายจึงมากกว่าการบรรจุอาหารในสภาวะทั่วๆ ไป
อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยไม่ได้สนับสนุนให้เลิกใช้วิธีการบรรจุอาหารแบบสุญญากาศ
เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาแบคทีเรียหรือเชื้อโรคชนิดอื่น แต่งานวิจัยครั้งนี้ต้องการที่จะช่วยสร้างแนวทางพยากรณ์ความเสี่ยงของโรคเกี่ยวกับอาหาร ในอนาคตทีมวิจัยนี้วางแผนศึกษายีนสำคัญของเชื้อลิสเทอเรียเพื่อหาวิธีป้องกันและต่อสู้กับเชื้อโรคร้ายนี้
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์นสพ.คมชัดลึก
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
*ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com