ถึงน่ากลัว แต่ป้องกันได้
การป้องกันง่ายๆ มีอยู่ 2 แนวทางคือ
อย่างแรก “ถ้าไม่มียุงลาย ก็ไม่มีโรคไข้เลือดออก” เพราะคนที่เป็นไข้เลือดออกไม่สามารถมากัดเพื่อแพร่เชื้อสู่เราได้
การกำจัดลูกน้ำยุงลายนั้น กำจัดในช่วงที่เป็นลูกน้ำจะทำได้ง่ายกว่าการวิ่งไล่ตบตัวยุงกว่าเป็นไหนๆ ซึ่งยุงลายนั้นจะไข่ในน้ำใสค่อนข้างสะอาด(ไม่ไข่ในน้ำเน่า) ที่ขังนิ่ง เพียงแค่ทุกบ้านร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายภายในบ้านและรอบๆบ้านทุก 7 วัน ก็จะสามารถป้องกันโรคไขเลือดออกได้แล้ว
ไข้เลือดออก เพชฌฆาตหน้าฝน(4)
ข้อแนะนำในการกำจัดแหล่งเพราะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
•ปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด
•ตรวจดูแจกัน และเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์
•ใส่ปลาที่กินลูกน้ำ เช่นปลาหางนกยู.ลงในภาชนะเก็บน้ำที่ปิดฝาไม่ได้
•เก็บหรือทำลายภาชนะที่มีน้ำขังที่ไม่ใช้แล้ว
•คว่ำภาชนะไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขัง
•ใส่เกลือ น้ำส้มสายชูหรือผงซักฟอกลงในน้ำจานรองตู้กับข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข
•อีกวิธีที่นิยมและสะดวกอีกแบบก็คือ ใส่ทรายอะเบต(abate) ชนิด 1% ลงในภาชนะ ในอัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร และควรเติมใหม่ทุก 2-3 เดือน
ส่วนการป้องกันอีกทางหนึ่งนั้นก็คือ “ไม่โดนยุงลายกัด ก็ไม่เป็น”
อย่างที่รู้กันว่ายุงลายจะหากินในตอนกลางวัน อย่างนั้นแล้วเมื่อเราหรือเด็กๆต้องนอนกลางวันจึงควรกางมุ้งหรือจะหาอะไรครอบคลุมก็ตามแต่ อย่าให้ยุงกัดได้ และควรอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทสะดวก
ฟังดูแล้วน่าเป็นกังวลมาก ขอตบท้ายด้วยเรื่องดีๆเสียหน่อย เอาเป็นว่าถึงโรคนี้จะอันตรายและติดต่อกันง่าย แต่อย่างน้อยๆ โชคดีก็คือโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ซ้ำซากนั้นมีน้อย เพราะ การติดเชื้อครั้งในครั้งแรกและครั้งต่อๆมา จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในสายพันธ์อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น จนถึงระดับที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เราจึงมักพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกไม่เกินสองครั้ง
-ข้อมูลจาก แผ่นพับประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก
ศูนย์ควบคุมโรคไข้เลือดออก กองควบคุมโรคสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครโทร 02-2456466
วิชาการ.คอม ค่ะ