เรามารู้จักก๊าซธรรมชาติกันเถอะ!

เรามารู้จักก๊าซธรรมชาติกันเถอะ!


คำถามประจำวันสำหรับเด็ก คือ “วันนี้คุณดื่มนมหรือยัง?”

แต่คำถามประจำวันสำหรับผู้ใหญ่ในยุคนี้ คือ “วันนี้ราคาน้ำมันเป็นเท่าไหร่?” ภาพที่คุ้นตาทุกท่านเป็นอย่างดีทีเดียว คือ ปั๊มน้ำมันที่มีรถต่อคิวกันยาวเหยียดในตอนเย็น (จนล้นบริเวณปั๊ม) เมื่อมีข่าวว่าพรุ่งนี้ตั้งแต่เวลา 5 นาฬิกาเป็นต้นไป ราคาน้ำมันจะปรับขึ้นอีก 40 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งในบางช่วงนั้นเราได้ยินข่าวนี้เกือบทุกสัปดาห์เลยทีเดียว แย่ไปกว่านั้นอาจเป็นสองครั้งในบางสัปดาห์เสียด้วยซ้ำ 

ทั้งนี้เป็นเพราะเชื้อเพลิงที่ประเทศไทยใช้ในปัจจุบัน

ส่วนใหญ่ยังคงเป็นน้ำมันที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคาจะแปรผันตามสภาวะของตลาดน้ำมันโลก (เดี๋ยวขึ้น...เดี๋ยวลง) แน่นอนที่สุด ประเทศไทยไม่มีความสามารถ ที่จะควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อราคาน้ำมันได้  ซึ่งรัฐบาลเองก็พยายามรณรงค์ให้คนไทยใช้น้ำมันอย่างประหยัดให้มากที่สุด เชื่อแน่ว่าทุกคนคงมีคำถามอยู่ในใจว่า  “นี่เราไม่มีทางเลือกอื่นๆแล้วเหรอเนี่ย? หรือคนไทยอย่างเราๆ จะต้องอยู่ในสภาวะจำยอมอย่างนี้หรือ?”

นับว่าเป็นความโชคดีที่คนไทย ยังมีทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดการนำเข้าเชื้อเพลิง จากต่างประเทศได้นั่นคือ การนำก๊าซธรรมชาติ (จากแหล่งอ่าวไทย) มาใช้ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด ไม่สร้างมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม รวมทั้งยังมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้น้ำมันเสียอีกนะค่ะ  


เรามารู้จักก๊าซธรรมชาติกันเถอะ!

ก๊าซธรรมชาติ คือ ส่วนผสมของก๊าซไฮโดรคาร์บอน

และสิ่งเจือปนต่างๆในสภาวะก๊าซ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่พบในธรรมชาติ ได้แก่ มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น สิ่งเจือปนอื่นๆที่พบในก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนไดซัลไฟด์ ฮีเลียม ไนโตรเจนและไอน้ำ เป็นต้น

การที่ก๊าซธรรมชาติได้ชื่อว่าเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเนื่องจากเป็นสารที่มีส่วนประกอบของอะตอม 2 ชนิด คือ ไฮโดรเจน (H) กับ คาร์บอน (C) รวมตัวกันในสัดส่วนของอะตอมที่ต่างๆกัน โดยเริ่มตั้งแต่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอันดับแรกที่มีคาร์บอนเพียง 1 อะตอม กับ ไฮโดรเจน 4 อะตอม มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า "ก๊าซมีเทน"


ก๊าซธรรมชาติ ที่ได้จากแต่ละแหล่งอาจประกอบด้วยก๊าซมีเทนล้วนๆ หรืออาจจะมีก๊าซไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นๆปนอยู่บ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติ แต่ละแห่งเป็นสำคัญ แต่โดยทั่วไปแล้ว ก๊าซธรรมชาติจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนตั้งแต่ 70 เปอร์เซนต์ขึ้นไป และมีก๊าซไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นปนอยู่บ้าง

ก๊าซธรรมชาติที่ประกอบด้วยมีเทนและอีเทนเกือบทั้งหมด เรียกว่า “ก๊าซแห้ง (dry gas)” แต่ถ้าก๊าซธรรมชาติใดมีพวก โพรเพน บิวเทน และพวกไฮโดรคาร์บอนเหลว หรือก๊าซโซลีนธรรมชาติ เช่น เพนเทน เฮกเทน ฯลฯ ปนอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูง เรียกก๊าซธรรมชาตินี้ว่า ก๊าซชื้น (wet gas)”



เรามารู้จักก๊าซธรรมชาติกันเถอะ!


ก๊าซธรรมชาติ ที่ประกอบด้วยมีเทนหรืออีเทน

หรือที่เรียกว่าก๊าซแห้งนั้น จะมีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ดังนั้น การขนส่งจึงจำเป็นต้องวางท่อส่งก๊าซ ส่วนก๊าซชื้นที่มีโพรเพนและบิวเทน ซึ่งทั่วไปมีปนอยู่ประมาณ 4 – 8 เปอร์เซ็นต์ จะมีสถานะเป็นก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เช่นกัน เราสามารถแยกโพรเพน และบิวเทน ออกจากก๊าซธรรมชาติได้ แล้วบรรจุลงในถังก๊าซ เรียกก๊าซนี้ว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas หรือ LPG ซึ่งก็คือ ก๊าซหุงต้มที่เราใช้กันในครัวที่บ้านนั่นเอง)

ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวหรือก๊าซโซลีนธรรมชาติ ซึ่งเรียกกันว่า "คอนเดนเซ" (Condensate) คือ พวกไฮโดรคาร์บอนเหลว ได้แก่ เพนเทน เฮกเซน เฮปเทน และอ๊อกเทน ซึ่งมีสภาพเป็นของเหลว เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อ บนแท่นผลิต สามารถแยกออกจากก๊าซธรรมชาติ ได้บนแท่นผลิต การขนส่งอาจลำเลียงทางเรือหรือส่งไปตามท่อได้

ก๊าซธรรมชาติเกิดขึ้นได้อย่างไรล่ะ?


ก๊าซธรรมชาติเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากการสะสมและทับถมของซากสิ่งมีชีวิตตามชั้นหิน ดิน และในทะเลหลายร้อยล้านปี ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติซึ่งมีสาเหตุมาจากความร้อนและความกดดันของผิวโลก

จนซากสัตว์และซากพืชหรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล

ในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่า

ต้นพืชและสัตว์ รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถม และเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน

พวกนี้จึงมีองค์ประกอบ ของสารไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อนำไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้มาเผา จะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน เพียงแต่เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ให้ความร้อนมากกว่า 


ขอขอบคุณสาระดีดีจาก
ดร. อรสา อ่อนจันทร์ ผู้เขียน และ วิชาการ.คอม ค่ะ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์