เกิด วันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล (Dole) มลรัฐจูรา (Jura) ประเทศฝรั่งเศส (France)
เสียชีวิต วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895 ประเทศฝรั่งเศส (France)
ผลงาน - ค้นพบวัคซีนป้องกันพิษสุนัขป่า - ค้นพบว่า จุลินทรีย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย - ค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการนำมาต้มหรือเรียกว่า พาลเจอร์ไรเซชัน(Pasteurization)
ปาสเตอร์เป็นนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขา และคุณประโยชน์อย่างมากให้กับสาธารณชน คือ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เป็นโรคระบาดที่รุนแรง แต่ก็สามารถคร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมากเช่นกันนอกจากนี้เขายังค้นพบวัคซีนอีกหลายชนิด ได้แก่ อหิวาตกโรค วัณโรค และโรคคอตีบ ผลงานของเขาที่สร้างคุณประโยชน์อย่างมากอีกชิ้นหนึ่ง คือ การค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แบบพาสเจอร์ไรต์ ในปัจจุบันวิธีการนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะสามารถเก็บรักษาอาหารได้นานและปลอดภัยมากที่สุด
ปาสเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล มลรัฐจูรา ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นช่างฟอกหนังชื่อว่า จีน โจเซฟ ปาสเตอร์ (Jean Joseph Pasteur) และเคยเป็นทหารในกองทัพของพระเจ้านโปเลียนมหาราช และได้รับเหรียญกล้าหาญจากสงครามด้วย ต่อมาครอบครัวของปาสเตอร์ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอาร์บัวส์ (Arbors) แม้ว่าฐานะครอบครัวของเขาจะมีฐานะไม่ดีนัก แต่บิดาก็ต้องการให้หลุยส์มีความรู้ที่ดี การศึกษาขั้นแรกของปาสเตอร์เริ่มต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดอาร์บัวส์ ซึ่งวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เขาเรียนได้ดีที่สุด นอกจากนี้เขามีความสามารถในการวาดรูปอีกด้วย โดยเฉพาะภาพเหมือน (Portrait) เขามีความชำนาญมากที่สุดรูปเหมือนที่ปาสเตอร์ได้วาด เช่น ภาพบิดา มารดา และเพื่อน ๆ ของเขา เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันภาพเหล่านี้ได้ถูกแขวนประดับไว้ในสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (The Pasteur Institute in Paris)ด้วยความที่ปาสเตอร์เป็นนักเรียนที่เรียนดี มีความสามารถ และความประพฤติเรียบร้อย จึงได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ใหญ่ของวิทยาลัยอาร์บัวส์ให้ไปเรียนที่อีโคล นอร์เมลซูพีเรีย (Ecole Normale Superiere) ซึ่งเป็นสถาบันฝึกหัดครูชั้นสูงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงปารีสด้วยอาจารย์ใหญ่ต้องการให้เขากลับมาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยอาร์บัวส์นั่นเอง แต่ปาสเตอร์เรียนอยู่ที่นี่ ได้ไม่นาน บิดาก็ต้องมารับกลับบ้าน ด้วยเขาป่วยเป็นโรคคิดถึงบ้าน (Home Sick) อย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะถึงขั้นเป็นโรคประสาทได้ในเวลาต่อมา
ต่อมาเขาได้เข้าเรียนต่อวิชาอักษรศาสตร์ ที่รอยับลคอลเลจ (Royal College) ในเบซานกอน (Besancon) หลังจาก จบการศึกษาแล้ว ปาสเตอร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ต่อจากนั้นปาสเตอร์ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันฝึกหัดครูชั้นสูง Ecole Normale Superiere อย่างที่เขาตั้งใจในครั้งแรก ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่เขามีโอกาสได้เรียนวิชาเคมีกับนักเคมี ผู้มีชื่อเสียง 2 ท่าน คือ เจ.บี. ดีมาส์ (J.B. Dumas) และ เอ.เจ. บาลาร์ด ซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (SorbonneUniversity) เนื่องจากมีบางวิชาที่ต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาที่ อีโคล นอร์เมล ซูพเรีย เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลึก (Crystallography) ในปี ค.ศ. 1852 เมื่อปาสเตอร์จบการศึกษาแล้ว เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับกรดทาร์ทาริก หรือกรดปูนที่ใช้ทำน้ำส้ม (Tartaric acid) จากผลงานการทดลองชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1849 เขาได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยสตราส์เบิร์ก (Strasburg University) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาเคมี
ต่อจากนั้นในปี ค.ศ. 1854 ปาสเตอร์ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองลิลล์ (University of Lille) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาเคมีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยความที่เมืองลิลล์เป็นเมืองอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีทั้งเหล้าเบียร์ และไวน์ และครั้งหนึ่งปาสเตอร์ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานทำแอลกอฮอล์จากน้ำตาลหัวผักกาดแห่งหนึ่ง ทำให้เขารู้ปัญหาของโรงงานที่ว่าเกิดการเน่าเสียของแอลกอฮอล์ และยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ ดังนั้นปาสเตอร์จึงนำตัวอย่างแอลกอฮอล์ไปตรวจสอบในขณะนั้นมีนักวิทยาศาสต์ท่านหนึ่งสามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ เขาจึงนำกล้องจุลทรรศน์มาใช้ในการตรวจสอบครั้งนี้ด้วย โดยในส่วนแรกเป็นแอลกอฮอล์ที่ดีเมื่องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูปรากฏว่า มีแบคทีเรียชนิดหนึ่งลำตัวกลมมีชื่อว่า ยีสต์ (Yeast) ซึ่งมีฤทธิ์เปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอล์และได้พบแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเป็นท่อน ๆ แบคทีเรียชนิดนี้มีชื่อว่า บาซิลลัส (Bacillus) ซึ่งมีฤทธิ์สามารถเปลี่ยนน้ำตาลแดงให้เป็นกรดแลคติกได้ หรือเป็นตัวการที่ทำให้แอลกอฮอล์มีคุณภาพต่ำ จากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ปาสเตอร์เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับของหมักดอง ในที่สุดปาสเตอร์ได้พบว่า การหมักดองทำให้เกิดกรดขึ้น 2 ชนิด ได้แก่ กรดซักซินิก (Succinic acid) และกลีเซอร์ไรน์ (Glycerin) การค้บพบครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากในวงการอุตสาหกรรมและเป็นการบุกเบิกการค้นคว้าหาสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากขึ้น ปาสเตอร์ได้ตั้งทฤษฎีการหมักดอง (Fermentation Theory) กล่าวว่า การหมักดองเป็นผลมาจากจุลินทรีย์
เมื่อเขาค้นพบว่าจุลินทรีย์ทำให้เกิดผลเสียมากมาย ปาสเตอร์จึงทำการค้นคว้าเกี่ยวกับจุลินทรีย์ต่อไป และพบว่า จุลินทรีย์ ที่มีอยู่ทั่วไปในอากาศทำให้เกิดความเจ็บป่วย และอาหารรวมถึงนมเน่าเสียได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นวิธีการเก็บรักษาของให้อยู่ได้นาน ๆ ก็คือ ต้องฆ่าจุลินทรีย์เหล่านี้ให้หมดไป ปาสเตอร์ได้ทดลองฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ โดยการนำนมมาต้มในความร้อน 145 องศาฟาเรนไฮต์ ทำให้เย็นลงโดยเร็วที่สุด ภายใน ? ชั่วโมง เพื่อให้จุลินทรีย์ตายหมด ก่อนนำไปบรรจุใส่ขวด จากนั้นใช้สำลีอุดปากขวด ให้แน่นป้องกันไม่ใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าได้ ผลปรากฎว่านมสดอยู่ได้นานกว่าปกติ โดยที่ไม่เน่าเสีย จากนั้นปาสเตอร์ได้นำวิธีการดังกล่าวไปใช้กับเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น เหล้า เบียร์ น้ำกลั่น และไวน์ เป็นต้น วิธีการนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ พาสเจอร์ไรเซชัน(Pasteurization) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากการค้นคว้าทดลองครั้งนี้ปาสเตอร์ยังพบวิธีการทำน้ำส้มสายชูโดยใช้จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดเหล้าองุ่นมาเพาะ แล้วเติมลงไปในเหล่าองุ่นที่ผ่านวิธีพาสเจอร์ไรต์แล้วด้วยวิธีการนี้จะได้น้ำส้มสายชูที่มีคุณภาพดี
การค้นคว้าเรื่องจุลินทรีย์ของปาสเตอร์ไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ ในปี ค.ศ. 1865 เขาพบถึงสาเหตุของเซลล์ที่ตายแล้วเน่าเปื่อย ก็เป็นผลมาจากเชื้อจุลินทรีย์เช่นเดียวกัน ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไป ด้วยปาสเตอร์กลัวว่าเมื่อฝังศพทั่งของสัตว์ และมนุษย์ลงในดินแล้ว ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นลงไปอยู่ในดินได้และอาจจะปนเปื้อนไปกับน้ำบาดาล เมื่อคนนำน้ำบาดาลไปดื่มโดยที่ไม่ต้องต้มฆ่าเชื่อก่อน อาจจะทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ เมื่อการค้นคว้าของปาสเตอร์จบสิ้นลงผลปรากฏว่าเป็นดังเช่นที่ปาสเตอร์กล่าวไว ้คือมีจุลินทรีย์บางชนิดสามารถอยู่ในดินได้จริง เช่น เชื้อบาดทะยัก และแอนแทรกซ์ เป็นต้น
ต่อมาเขาได้ทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตัวไหม ซึ่งทำความเสียหายอย่างหนักให้กับโรงงานอุตสาหกรรมผ้าไหม เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้มาขอความช่วยเหลือจากปาสเตอร์ เขาได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้อยู่นางถึง 5 ปี จึงพบว่าโรคนี้เกิดขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อว่า โนสิมา บอมบายซิล (Nosema Bombysis) ซึ่งตัวหนอนกินเข้าไป ดังนั้นปาสเตอร์จึงอธิบายวิธีการป้องกันโรคนี้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมฟังอย่างละเอียด ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้เป็นอย่างดี จากผลงานทาวิทยาศาสตร์วิชาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) และในปีเดียวกันนี้เขาได้เผยแพร่ผลงานการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการ หมักดองออกมาอีกเล่มหนึ่งจากความสามารถของปาสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เขาได้เชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมอะเคดามี ออฟ เมดิซีน (Academy of Medicine)
ในปี ค.ศ. 1887 ปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ โดยเริ่มจากโรคที่ร้ายแรงที่สุด คือ โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ปาสเตอร์ใช้ปัสสาวะของสัตว์ที่ป่ายเป็นโรคแอนแทรกซ์มาเพาะเชื้อให้อ่อนกำลังลง แล้วไปทำวัคซีน การที่เขานำ ปัสสาวะของสัตว์มาทำวัคซีนทำให้คนทั่วไปไม่เชื่อถือในวัคซีนของเขา ปาสเตอร์ต้องการให้สาธารณชนประจักษ์แก่สายตาจึงทำการทดลอง ปาสเตอร์ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมเกษตร (Agriculture Society) มอบแกะในการทดสอบวัคซีนถึง 50 ตัว ปาสเตอร์แบ่งแกะออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 ตัว กลุ่มหนึ่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ฉีด จากนั้นจึงฉีดเชื้อโรคแอนแทรกซ์ให้กับแกะทั้งหมด ผลปรากฏว่าแกะกลุ่มที่ฉีดวัคซีนไม่ป่วยเป็นโรคแอนแทรกซ์เลย แต่แก่กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป่วยและเสียชีวิตหมดทุกตัว
จากผลงานการค้นคว้าชิ้นนี้ ทางรัฐบาลประเทศฝรั่งเศสได้ขอร้องและมอบเงินสนับสนุนให้กับปาสเตอร์ในการค้นคว้าหา วัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ ปาสเตอร์ทำการทดลองค้นคว้าและสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ได้สำเร็จโดยเขาผลิตวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนฉีดให้กับไก่ ปรากฏว่าไก่ที่ป่วยมีอาการดีขึ้นและหายไปในที่สุด
การค้นพบวัคซีนที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุด คือ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า แม้ว่าจะไม่ใช่โรคระบาดที่ร้ายแรงแต่ก็สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนได้มากเพราะเมื่อผู้ใดที่ถูกสุนัขบ้ากัดแล้วต้องเสียชีวิตทุกรายไป สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ก็ต้องตายโดยไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกัน จากการค้นคว้าปาสเตอร์พบว่าเชื้อสุนัขบ้าอยู่ในน้ำลาย ดังนั้นเมื่อถูกน้ำลายของสุนัขที่มีเชื้อโรคอยู่ไม่ว่าจะทางใด เช่น ถูกเลียบริเวณที่เป็นแผล หรือถูกกัด เป็นต้น เชื้อโรคในน้ำลายก็จะซึมเาไปทางแผลสู่ร่างกายได้ ปาสเตอร์ได้นำเชื้อมาเพาะวัคซีน และนำไปทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี แต่ปาสเตอร์ไม่กล้านำมาทดลองกับคน จนกระทั่งวันหนึ่ง โจเวฟ เมสเตร์ เด็กชายวัย 9 ปี ถูกสุนัขบ้ากัด ถึงอย่างไรก็ต้องเสียชีวิต ดังนั้นพ่อแม่ของเด็กจึงได้นำบุตรชายมาให้ปาสเตอร์รักษาซึ่งเป็นโอกาสดีที่ปาสเตอร์จะได้ทดลองยา ปรากฏว่าเด็กน้อยไม่ป่วยเป็นโรคสุนัขบ้าน การค้นพบครั้งนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 1888 ปาสเตอร์ได้ก่อตั้งสถาบันปาสเตอร์ (Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นสถาบันปาสเตอร์ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่ง ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยในประเทศไทยใช้ชื่อว่า สถานเสาวภาสถาบันปาสเตอร์ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดต่อชนิดต่าง ๆ เช่นโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้นปาสเตอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895
|