อย่างไรก็ตาม นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซาน ดีเอโก้ Vinai K.Rai, Teresa L.Jackson และ Mark H.Thiemens คิดว่าพวกเขาสามารถถอดรหัสความลับประการหนึ่งที่เหลือรอดจากช่วงกำเนิดอันวุ่นวายของระบบสุริยะได้ ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายว่าพวกเขาใช้อุกกาบาตที่เก่าแก่ที่สุดเพื่อวัดปริมาณการแผ่รังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ในช่วงทารก(protosun) สู่สภาวะแวดล้อมอย่างไร โดยการวัดปริมาณไอโซโทปสารเคมีหลัก ทีมได้พบหลักฐานว่าแสงยูวีอาบไปทั่วบริเวณที่อุกกาบาตก่อตัวขึ้น พวกเขายังบอกว่าลมสุริยะพลังงานสูงเกิดขึ้นก่อนที่ดาวเคราะห์จะก่อตัว
Thiemens อธิบายว่า มีทางเป็นไปได้สองอย่าง หนึ่งคือสร้างดวงอาทิตย์, สร้างดาวเคราะห์ แล้วค่อยให้ดวงอาทิตย์ทำงาน อีกอันก็ ดวงอาทิตย์ทำงานก่อน และก่อตัวดาวเคราะห์จากวัสดุสารที่ถูกแสงอาทิตย์อาบไว้ ในกรณีหลังนี้ ดวงอาทิตย์ในช่วงทารกจะเปลี่ยนเคมีของระบบสุริยะโดยเปล่งพลังงานยูวีให้เพียงพอที่จะอาบวัสดุสารรอบข้าง ผลจากปฏิกิริยาเคมีโดยมีแสงเกี่ยวข้องจะสร้างโมเลกุลที่ซับซ้อนขึ้น รวมทั้งโมเลกุลสารอินทรีย์ด้วย
เมื่อปรับใช้เทคนิคในห้องทดลองเข้ากับชั้นบรรยากาศของโลก Thiemens และเพื่อนนักเคมีของเขาก็พบว่าแสงยูวีจากดวงอาทิตย์ได้ทิ้งสัญญาณที่เป็นเอกลักษณะเปลี่ยนแปลงสารเคมีในอุกกาบาต กล่าวคือ ปริมาณของไอโซโทป กำมะถัน -33 ด้วยการใช้ตัวบ่งชี้นี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถบอกถึงการมีอยู่ของลมสุริยะ และวิเคราะห์ความเข้มของยูวีของดวงอาทิตย์ทารกได้ Thiemens กล่าวว่า อุกกาบาตเหล่านี้กำลังบอกเราว่าแสงยูวีจากดวงอาทิตย์ทารกได้สร้างสารเคมีขึ้นในเนบิวลากำเนิดดวงอาทิตย์ และช่วยลดระยะเวลาการก่อตัวสารอินทรีย์ในระบบสุริยะ