เพาะพันธุ์กบโปร่งใส เห็นเครื่องในชัดแจ๋ว
กบโปร่งใสที่ว่านี้จะเป็นประโยชน์ในการทำงานวิจัย เพราะสามารถมองเห็นอวัยวะภายใน และสังเกตเส้นเลือดต่างๆได้โดยไม่ต้องผ่าตัดกบขณะทำวิจัย เนื่องจากที่ผ่านมาบ่อยครั้งในการทำการทดลองวิทยาศาสตร์
มีการวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มพิทักษ์สิทธิสัตว์ว่ามีการฆ่ากบ ก่อนหน้านี้ก็มีปลาโปร่งใสมาแล้ว แต่กรณีของกบนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกล่าวว่า เป็นผลจากการดัดแปลงพันธุกรรมจึงเป็นผลให้เกิดสัตว์ 4 ขาตัวแรกของโลกที่มีลักษณะโปร่งใส
ศาสตราจารย์มาซายูกิ ซูมิดะ หัวหน้าคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา กล่าวว่า
ผิวหนังของกบนั้นมีเม็ดสีน้อยมากในตอนที่เป็นลูกอ๊อด และนักวิจัยจะสามารถมองเห็นได้ว่าอวัยวะภายในเติบโตขึ้นมาและแปร สภาพกลายเป็นกบได้อย่างไร เมื่อมันเป็นกบโปร่งใส
ศาสตราจารย์ซูมิดะบอกว่า กบยังคงมีเม็ดสีเหลืองในผิวหนัง
และได้มีการเพาะพันธุ์ออกมา ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่ามีลักษณะด้อยทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้กบมีผิวสีซีด และกบรุ่นที่ 2 นั้นจะออกลูกออกหลานที่เป็นกบโปร่งใสออกมา อย่างไรก็ตาม เขากล่าวเพิ่มเติมว่าผิวของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างจากผิวของกบ ดังนั้น วิธีการเพาะพันธุ์แบบใหม่นี้จึงไม่อาจนำไปใช้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้