ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงและจันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 10 ธันวาคม 2554 ถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ส่งท้ายปี .. 2554

โดยดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามืดของโลก(จันทรุปราคาบางส่วน) ตั้งแต่เวลา 19:46 . และเข้าสู่ช่วงจันทรุปราคาเต็มดวงตั้งแต่เวลา 21:06 . ถึง 21:57 . คิดเป็นระยะเวลาจันทรุปราคาเต็มดวงยาวนานถึง 51 นาที ในขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกเต็มดวง จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงอิฐทั้งดวง สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าในทุกภูมิภาคของประเทศ ทางทิศตะวันออกสูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ 40 องศา หากพลาดชมจันทรุปราคาเต็มดวงคราวนี้คนไทยต้องรออีก 3 ปี จึงจะได้ชมจันทรุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 8 ตุลาคม 2557 และครั้งถัดไปในวันที่ 4 เมษายน 2558


                                 เหตุการณ์                                       เวลาในประเทศไทย

                      เริ่มเกิดจันทรุปราคาเงามัว(P1)                               18:33 .

                      เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน(U1)                            19:46 .

                      เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง(U2)                             21:06 .

                      กึ่งกลางจันทรุปราคา                                             21:31.

                      สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง(U3)                               21:57 .

                      สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน(U4)                               23:17 .

                      สิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัว(P4)                                  24:30 .


                  ตารางแสดงเวลาการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในประเทศไทยในวันที่ 10 ธันวาคม 2554


ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงและจันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี


ภาพที่ 1 : แสดงตำแหน่งของดวงจันทร์เทียบกับเงาของโลกขณะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในวันที่ 10 ธันวาคม 2554


ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงและจันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี


ภาพที่ 2 : แสดงตำแหน่งของดวงจันทร์ระหว่างเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 10 ธันวาคม 2554


        ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้สามารถสังเกตเห็นได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยตลอดทั้งปรากฏการณ์ ขณะเกิดจันทรุปราคาดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ผ่านทางตะวันออกของกลุ่มดาววัว (Taurus) อยู่ห่างจากดาวอัลดีบาแรนในกลุ่มดาววัว ประมาณ 9 องศา และอยู่ห่างดาวอัลเนธ (Alnath) ของกลุ่มดาวสารถี ประมาณ 5 องศา


ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงและจันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี


ภาพที่ 3 : แสดงตำแหน่งต่างๆ บนโลกที่สามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาในวันที่ 10 ธันวาคม 2554


        ในหลายภูมิภาคของโลกก็สามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคานี้ ได้ตลอดช่วงปรากฏการณ์เช่นกัน ได้แก่ ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ

 

        จันทรุปราคา คือ ปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยโลกอยู่กึ่งกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก หรืออยู่หลังโลกเมื่อมองจากดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาจะเกิดในช่วงดวงจันทร์เต็มดวง หากดวงจันทร์โคจรเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกทั้งดวง เรียกว่าจันทรุปราคาเต็มดวงหากดวงจันทร์โคจรเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกบางส่วน จะเรียกว่าจันทรุปราคาบางส่วน


ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงและจันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี


ภาพที่ 4 : แสดงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ ขณะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา


ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงและจันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี


ภาพที่ 5 : แสดงลำดับการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง


        จันทรุปราคาเต็มดวง คือ ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกทั้งดวง เราจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากได้รับแสงสีแดงซึ่งเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดหักเหผ่านบรรยากาศโลกไปกระทบกับดวงจันทร์ หลังจากนั้นเมื่อดวงจันทร์โคจรออกจากเงามืดของโลก ดวงจันทร์จะเริ่มสว่างขึ้นทีละน้อย จนสว่างทั้งดวง โดยทั่วไปการเกิดจันทรุปราคามักเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากเงาของโลกมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับดวงจันทร์ ดวงจันทร์จึงมักใช้เวลานานนับชั่วโมงในการโคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก


ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงและจันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี


ภาพที่ 6 : ภาพดวงจันทร์สีแดงอิฐขณะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 


        จันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี

        ในค่ำคืนของวันที่ 10 ธันวาคม 2554 นอกจากคนไทยทั่วประเทศจะเต็มอิ่มกับความงามของดวงจันทร์เต็มดวงสีแดงอิฐที่ยาวนานถึง 51 นาที แล้ว คนไทยยังมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี อีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันที่หาชมได้ยากอีกด้วย

        ปรากฏการณ์จันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดีในครั้งนี้ เกิดจากดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดี โคจรเข้าไปในเงามืดของดาวพฤหัสบดี ทำให้คนบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์ไอโอค่อยๆ เคลื่อนที่หายเข้าไปหลังดาวพฤหัสบดี ในเวลา 18:12 . และเคลื่อนที่ออกจากเงามืดของดาวพฤหัสบดีในเวลา 21:22 . อย่างไรก็ตามการสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาบน           ดาวพฤหัสบดีนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเนื่องจากดาวพฤหัสบดีอยู่ไกลมาก จึงต้องสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่  50 เท่า ขึ้นไปเท่านั้น


ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงและจันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี


ภาพที่ 7 : แสดงตำแหน่งดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีขณะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี

 

       


ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงและจันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี


รวบรวมและเผยแพร่โดย

ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์