หลายๆ เว็บไซต์ในวันที่ 18 มกราคม 2555 ได้รวมตัวกันประท้วงสภาคองเกรสของสหรัฐอย่างเต็มตัว ด้วยการคาดแถบสีดำ(สัญลักษณ์สื่อถึงการเซนเซอร์) หรือไม่ก็เพิ่มแถบคาดสีดำต่อต้าน SOPA เข้ามาในเว็บ
การแสดงออกครั้งนี้มีเพื่อกดดันไม่ให้สภาคองเกรสผ่านร่างกฏหมาย SOPA ซึ่งเราคนไทยทั้งหลายอาจจะสงสัยว่า "SOPA นี่มันอะไรล่ะ?"
SOPA ย่อมาจาก Stop Online Piracy Act
ร่างกฏหมายนี้มีไว้เพื่อให้อำนาจรัฐบาลและเอกชนในการจัดการกับการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา
ถาม: ฟังดูก็ดีนะ แล้วมันมีปัญหาตรงไหนล่ะ?
ตอบ: ตรงตัวกฏหมายที่ให้อำนาจกว้างสุดๆ เราลองมาไล่ดูทีละข้อ
ภายใต้กฏหมายนี้ ให้อำนาจไว้กับรัฐและเอกชนไว้สามส่วนใหญ่ๆ
- Section 102: ให้อัยการสามารถขออำนาจศาล เพื่อประกาศแบนเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง จากเว็บค้นหา, บริการ DNS, เซิร์ฟเวอร์ใดๆ, บริการจ่ายเงิน, และการโฆษณา ถ้าเวบมีส่วนในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและถูกแบนจากกฎหมายนี้ เราจะไม่มีทางหามันเจออีกเลย เพราะโดนขุดรากถอนโคนตั้งแต่ลบทิ้งจากเซิฟเวอร์ ค้นหาก็ไม่เจอ แม้กระทั่งลิงก์โฆษณาที่เกี่ยวข้องก็จะถูกลบล้างให้หายออกไปจากสารบบจนหมด สิ้น
- Section 103: ให้อำนาจเจ้าทุกข์ในการยื่นคำร้องไปยังบริการจ่ายเงิน เพื่อให้บริการ เช่น Paypal หรือ VISA เพื่อหยุดให้บริการแก่เว็บที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อผู้ให้บริการจ่ายเงินได้รับคำร้องจะมีหน้าที่ต้องติดต่อเว็บไซต์ที่ ถูกกล่าวหาเอง เพื่อรอรับการอุทธรณ์คำร้อง และกระบวนการทั้งหมดต้องเสร็จสิ้นภายในห้าวัน เช่น Ebay/amazon มีคนขายของละเมิดลิขสิทธิ์ หากเจ้าทุกข์ร้องขอไปยังอัยการ ทุกระบบการจ่ายเงินของเวบไม่ว่าจะเป็นทางไหนก็ตามจะถูกระงับ ...เว็บขายของโอน/จ่ายเงินไม่ได้ก็เหมือนถูกสั่งแช่แข็งนั่นแหละ
แล้วผู้ให้บริการทางการเงินที่หยุดให้บริการเพราะถูกร้องขอมีหน้าที่ต้องติด ต่อกับเวบที่มีปัญหาทางลิขสิทธิ์เพื่อรอการอุทธรณ์ต่อไป ...คือถ้าเคลียกันไม่ลงก็เสียหายกันระนาวทั้งเวบขายของและผู้ให้บริการทาง การเงิน เพราะค่าธรรมเนียมโอน/จ่ายผ่านอินเตอร์เนทนี่วันนึงไม่ใช่น้อยเหมือนกัน
- Section 104: บริการจ่ายเงินสามารถหยุดให้บริการเองได้ แม้จะไม่ได้รับคำร้องใดๆ หากพิจารณาว่าเว็บไซต์หนึ่งๆ ทำความผิดฐานละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาก็สามารถไม่ให้บริการได้โดยไม่มีความ ผิด อันนี้คล้ายอันบนเพียงแต่ให้อำนาจผู้ให้บริการทางการเงินสามารถถอนตัวหนี ปัญหาได้เลย หากสงสัยว่าเวบที่ตนเป็นตัวกลางจ่าย/โอนเงินมีความเกี่ยวข้องกับการละเมิด ลิขสิทธิ์ทางปัญญาได้ด้วยตัวเอง
ถาม: อ่านดูแล้ว ถ้าไม่ทำผิดกฏก็ไม่เป็นไรไม่ใช่เหรอ?
ตอบ: เวบต้นทางสรุปไว้ว่า
กฏหมายฉบับนี้ให้อำนาจรัฐไว้กว้างมากถึงขนาดที่สามารถห้ามการ "ลิงก์" ไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จุดที่เป็นปัญหาน่าจะเริ่มจาก Section 102 เพราะการทำ "ลิงก์" ใดๆ ก็ตามมีผลให้เวบนั้นๆ มีส่วนในความผิดด้วย หมายความว่าถ้าเซิจ Google แล้วเจอเว็บดาวน์โหลดฟรี Google ก็มีส่วนผิดเพราะทำ "ลิงก์" ใครโพสต์ "ลิงก์" ในเฟซบุ๊คแล้วเป็นเพลงหรือหนัง หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเฟซบุ๊คก็ผิด หากกฏหมายนี้ผ่าน ทุกเว็บต้องคอยลบ "ลิงก์" ที่น่าจะผิดออกไปให้หมด
แล้วมันจำสามารถทำได้รึ?
แถมในข้อกฎหมายการให้ข้อมูลหรือความรู้ต่างๆ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดร้ายแรง ดังนั้น วิกิพีเดียที่มีข้อมูลหลากหลายแจกฟรี ก็รับเคราะห์ไปเต็มๆ ตัวอย่างเช่น ผมทำวีดีโอสอนเทคนิคการทำอาหารแล้วมีคนเอาข้อมูลในวีดีโอไปโพสในวิกิ หากผมฟ้องร้อง วิกิมีสิทธิ์โดนปิดได้เพราะละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผม (เท่าที่อ่านมาจากหลายๆ ที่ก็น่าจะประมาณนี้)
เพิ่มเติมจากที่เพื่อนเล่ามา
หากท่านถ่ายวีดีโอแล้วมีเสียงเพลงมีลิขสิทธิ์อยู่ในวีดีโอ อันนั้นก็ผิด, หากร้องเพลง COVER นั่นก็ผิด, เซฟรูปจากเว็บอื่นแล้วเอามาโพสลงในเวปตัวเอง FB Twitter ก็ถือว่าผิดหมด ...ดังนั้นเรื่องนี้ถึงเป็นปัญหามากๆ