ประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย
แถบที่มีการเกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด ส่วนสีชมพูในภาพ ต่อกันเหมือนวงแหวนคร่าวๆ ส่วนที่เป็นแนวร่อง (trench) คือเส้นสีฟ้า
อันเป็นเขตที่เป็น Subduction Zone คือแนวที่เปลือกโลกแผ่นหนึ่งชนกับอีกแผ่นหนึ่ง แล้วแผ่นหนึ่งจะมุดลงเข้าไปชั้นในเปลือกโลก อีกแผ่นหนึ่งจะถูกดันขึ้นคร่อมแผ่นแรก บริเวณ Trench เหล่านี้ คือบริเวณที่จะมีแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดเกิดที่ ใกล้ trench ในประเทศชิลีเมื่อวันที่ ๒๒ พค ค.ศ. ๑๙๖๐ วัดได้ถึง ๙.๕
สังเกตได้ว่า ตามแนว trench เหล่านี้ จะมีแนวหมู่เกาะเรียงรายไปข้างๆทุกแห่ง เช่น หมู่เกาะญี่ปุ่น ถัดจาก Japan Trench, หมู่เกาะอลูเชี่ยน ถัดจาก Aleucian Trench, หมู่เกาะฟิลิปปินส์ ถัดจาก Philippine Trench เป็นต้น เพราะการชนกันของแผ่นเปลือกโลกนี้ก่อให้เกิดการปะทุเป็นภูเขาไฟขึ้นมาในแผ่นที่ถูกดันให้ขึ้นคร่อมอีกแผ่น นานไปภูเขาไฟดับไปหรือไม่ค่อยแอคทีฟแล้ว ก็กลายเป็นหมู่เกาะถัดจาก trench ดังกล่าว
ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีแนวหมู่เกาะเรียงรายเหนือ Java หรือ Sunda Trench ก็นับว่าเป็นเขตที่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยมากแห่งหนึ่งในโลก
เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงเช่นนี้ มันก็ไปทำลายความสุมดุลย์ของจุดเครียดอื่นๆตามแนวร่องริมขอบเปลือกโลกเดียวกัน ก่อให้เกิด aftershock คือ แผ่นดินไหวทุติยภูมิ ตามมา ในเวลาเพียงวันเดียว ก็มี aftershock ที่มีขนาดใหญ่กว่า ๖ ขึ้นไปถึง ๑๒ ครั้ง
แผ่นดินไหวครั้งนี้ จะส่งแรงสะท้อนกลับไปกลับมาภายในโลกอีกนาน นักธรณีฟิสิกส์ก็ยังได้ผลประโยชน์จากแผ่นดินไหวครั้งนี้ เพราะเราสามารถวิเคราะห์อะไรได้จากเสียงสะท้องแผ่นดินไหว มาเข้าใจส่วนประกอบภายในโลกได้มาก เพราะแรงสะเทือนหนักๆที่ส่งเสียงดังฟังชัดได้ขนาดนี้ มนุษย์เราไม่สามารถสร้างได้ ต้องรอธรรมชาติทำให้เกิดขึ้นมา แล้วเราถึงจะไปศึกษาทำความเข้าใจมันอีกที