การค้นพบที่เกาะฟลอเรส ในประเทศอินโดนีเซีย
ความเห็นทั่วๆไปของนักโบราณมานุษวิทยาที่มีมาก่อนนี้ เชื่อกันว่า มนุษย์โบราณต้นสายพันธุ์ของมนุษย์ในสปีชี่ Homo erectus (พวกที่เดินสองขา)
ประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นต้นเผ่าพันธุ์มนุษย์พวกแรกที่เดินทางออกมาจากทวีปอัฟริกา (ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นแหล่งกำเนิดของมนุษย์ ) แล้วขยับขยายเดินทางออกไปยังทวีปยุโรปและเ้อเชีย โดยมีหลักฐานจากการค้นพบซากของ H. erectus ที่เมือง Dmanisi แห่งประเทศจอร์เจีย (ซึ่งเคยเป็นรัฐหนึ่งในสหภาพโซเวียตเก่า) กับซากที่อายุน้อยกว่าเล็กน้อย ในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ที่เรียกกันว่า มนุษย์ปักกิ่ง และบนเกาะชวา ที่เรียกว่า มนุษย์ชวา
แต่ยังไม่เคยมีหลักฐานใดปรากฏว่า มนุษย์โบราณพวกนี้ มีสมองพัฒนาได้ขนาดรู้จักสร้างเรือเดินทะเล นักโบราณมานุษยวิทยาส่วนมาก จึงไม่เชื่อกันว่า มนุษย์ H. erectus จะได้ข้ามไปถึงทวีปออสเตรเลีย เ้พราะว่าแผ่นดินใหญ่ทวีปเอเชียสมัยโบราณนั้น ยังเชื่อมต่อกับเกาะในหมู่เกาะอินโดนีเซียให้เดินถึงกันได้ในเวลาน้ำลง แต่เลยจากเกาะชวาไปทางตะวันออก ทะเลก็ลึกมาก ถ้าไม่รู้จักต่อเรือ ก็ไม่น่าจะสามารถข้ามทะเลเลยเกาะชวาไปได้
เมื่อ ๖ ปีก่อน ทีมนักโบราณมานุษยวิทยา ซึ่งนำโดย Mike Morwood แห่งประเทศออสเตรเลีย
ได้ตีพิมพ์บทความในนิตยสาร Nature (Morwood M. J., et al. Nature, 392. 173 - 176 (1998)) อ้างว่า ได้ขุดพบเครื่องมือสมัยหิน อายุกว่าแปดแสนปี ในถ้ำ เลียงบัว บนเกาะ Flores ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งตะวันออกของเกาะชวาไปถึง ๕๐๐ กิโลเมตร นักโบราณมานุษยวิทยาต่างคิดว่า ถ้าหากการค้นพบนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันได้จริง ก็เท่ากับว่า มนุษย์โบราณสปีชี่ H. erectus สามารถต่อเรืิอข้ามทะเลได้
ในเมื่อการพัฒนาสติปัญญาจนถึงขนาดต่อเรือได้ เชื่อกันว่า มีแต่พวก Homo Sapiens หรือบรรพบุรุษของเราเท่านั้น(ซึ่งยังไม่เกิดมาเมื่อแปดแสนปีก่อนนี้) ที่มีสมองพัฒนาได้ถึงขนาดรู้จักสร้างเรือ จึงยังแคลงใจว่า เครื่องมือเหล่านั้น จะเป็นของมนุษย์ปัจจุบัน Homo sapiens ที่เดินทางมาถึงในภายหลังแล้วสร้างเครื่่องมือทิ้งไว้ที่ถ้ำเดียวกันนี้
แต่ทีมที่นำโดย ศจ Morwood ก็ได้กลับไปขุดค้นในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ ก็กลับได้ค้นพบสิ่งที่เหลือเชื่อยิ่งกว่านั้นไปอีก
คือเมื่อขุดลึกลงไปก็พบโครงกระดูกมนุษย์ร่างเล็ก ที่ยังไม่ทันกลายเป็นฟอสซิล(หินแทนที่กระดูก) จึงเป็นโครงกระดูกที่มีสภาพยุ่ยและบอบบางมาก โดยเฉพาะหัวกะโหลก แต่นักโบราณมานุษยวิทยาชาวอินโดนีเซีย คือ Thomas Sutikna มีความชำนาญในการถนอมโครงกระดูกเป็นอย่างดี จนสามารถขุดขึ้นมาศึกษาได้ และยังพบเครื่องมือยุคหินในที่ที่พบกระดูก พร้อมกับกระดูกสัตว์ต่างๆ ที่มีรอยไหม้ เหมือนกับได้รับการเผาหรือปิ้งกับไฟมาแล้ว ดังปรากฏใน บทความตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature เมื่อเดือน ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๐๔ ที่ผ่านมา
โครงกระดูกนี้ จมอยู่ในชั้นดินลึก ๕.๙ เมตร เมื่อทำการตรวจวัดอายุอย่างถี่ถ้วนแล้ว ประมาณว่า โครงกระดูกมีอายุ ๑๘,๐๐๐ ปี ของมนุษย์ที่สูงเพียง ๑ เมตร ซากมนุษย์แคระนี้ มีช่องบรรจุสมองที่มีปริมาตรเพียงประมาณ ๔๐๐ ซีซี เท่านั้น ซึ่งมีขนาดเพียง หนึ่งในสามของมนุษย์ปัจจุบัน และยังเล็กกว่าซากมนุษย์โบราณในสปีชี่เดียวกัน คือพวก H. erectus ที่พบในเมือง Dmanisi อีกด้