ก่อนจะมาเป็น WiMAX IEEE 802.16
ความเดิม
ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารนับวันยิ่งเป็นที่จำเป็นอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพของธุรกิจหรือชีวิตประจำวัน
ที่พบเห็นกันมากและบ่อยที่สุดคือ การใช้โทรศัพท์มือถือสื่อสารกันไม่ว่าจะเป็นคนอยู่ในวัยใด จะพบการสื่อสารประเภทนี้ค่อนข้างมาก นอกจากการสื่อสารทางโทรศัพท์แล้วการใช้ computer ในการติดต่อกันนั้นก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจ หรือแม้แต่ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ในการธุรกิจ หรือจะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ Internet
เบื่อสาย
เมื่อต้องการที่จะเชื่อมโยงอุปกรณ์สักอย่างเข้ากับระบบเครื่อข่ายนั้นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเชื่อมต่อนั้นก็คือ
สื่อ ที่นิยมและพบเห็นได้บ่อยก็คือสายเชื่อมโยงที่มักจะเรียกกันง่ายว่า สาย LAN เพื่อที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์ของตนเองเข้ากับเครื่อข่าย บางครั้งสาย LAN เองก็ไม่ได้วางไว้อย่างมีระเบียบสักเท่าไรนัก เสี่ยงต่อการที่ให้คนอื่นมาทำให้สายหลุด บางครั้งสาย LAN เสียก็ต้องไปหาสายเพื่อที่จะมาเชื่อมต่อให้ได้ หรือแม้แต่บางครั้งก็ต้องมานั่งปอกสายแล้วทำสาย LAN ขึ้นมาใหม่
อีกทั้งจุดเชื่อมต่อของสาย LAN นั้นมีจำกัดไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ หรือในบางสถานที่การวางระบบสาย LAN บางก็วางไว้ตามผนัง เพดาน หรือพื้นล่าง เพื่อไม่ให้ไปเกะกะทางเดิน ในบางครั้งโต๊ะทำงานนั้นอยู่ไกลต้องมีการวางสายเชื่อมต่อกัน ต้องเจาะกำแพงบ้าง ผนังบ้าง เสียงก็ดัง ฝุ่นก็มี ฝุ่นเข้าร่างกาย ไม่สบายอีก หรือบางทีกำลังทำงานอยู่ก็ต้องเข้าประชุม ก็ต้องถอดสายเชื่อมต่อ แล้วไปเข้าห้องประชุมก็ต้องนำสาย LAN มาเชื่อมต่อใหม่ บางครั้งห้องประชุมนั้นสาย LAN ก็ไม่เพียงพออีก
ไร้สาย
จากที่กล่าวมา ถ้าในกรณีที่การเชื่อมต่อนั้นไม่จำเป็นต้องมี สื่อ
ที่เป็นสายมาเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อล่ะ ทุกที่สามารถเชื่อมต่อได้ทันทีไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของที่ทำงานหรือสถานที่ส่วนตัว ในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ก็ไม่ต้องมีสายมาให้ถอดเข้าถอดออก หรือเวลาจะเดินไปไหนมาไหนในสถานที่ทำงานจะได้ไม่ต้องกังวลกับการที่จะต้องไปสะดุดกับสาย LAN ของเพื่อนร่วมงาน ดังนั้นถ้ามีการเชื่อมต่อที่สะดวกทำได้ทุกที่ รวดเร็วในการรับส่งข้อมูล สามารถเชื่อมต่อได้โดยที่ไม่ต้องกังวลกับระยะทางในการเชื่อมต่อ สิ่งนั้นคือ “WiMAX”
WiMAX IEEE 802.16
ทำไมเมื่อกล่าวถึง WiMAX จะต้องมาคู่กับ IEEE 802.16 เพราะ IEEE คือ องค์กรที่ทำหน้าที่ออกแบบ และวางข้อกำหนดต่างๆ ทางวิศวกรรมไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาคือ ซึ่งย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronics Engineer และเป็นผู้กำหนดมาตราฐานของการสื่อสารแบบไร้สาย
จากรูป
จะเห็นได้ว่าระยะการให้บริการการเชื่อมต่อนั้นถูกแบ่งออกเป็นบริเวณต่างๆ PAN (Personal Area Network) จัดอยู่การสื่อสารแบบไร้สายอัตราเร็วต่ำ ใช้ได้กับระยะใกล้ๆ อัตราความเร็วรับส่งจะอยู่ในช่วงที่น้อย มาตราฐานช่วงนี้จะเป็น IEEE 802.15 ส่วนการสื่อสารในส่วนอื่นจะเป็น การสื่อสารไร้สายแบบบรอดแบนด์ ได้แก่ เครื่อข่ายเฉพาะที่ LAN (Local Area Network) , การสื่อสารไร้สายในพื้นที่กว้าง MAN (Metropolitan Area Network) และ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์โดยทั่วไป WAN (Wide Area Network)