จำแนกประเภท - การเรียกชื่อแอลกอฮอล์
การจำแนกประเภทและการเรียกชื่อแอลกอฮอล์ | |
เนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาของแอลกอฮอล์ขึ้นกับการจัดตัวของคาร์บอนภายในโมเลกุล จึงแบ่งแอลกอฮอล์ออกเป็น 3 กลุ่ม โดยพิจารณาจากการ จัดตัวของ คาร์บอน ที่ก่อพันธะกับหมู่ไฮดรอกซิล ดังนี้ | |
1. แอลกอฮอล์ปฐมภูมิ คือ แอลกอฮอล์ที่หมู่ไฮดรอกซิลก่อพันธะกับคาร์บอนปฐมภูมิ |
2. แอลกอฮอล์ทุติยภูมิ คือ แอลกฮอล์ที่หมู่ไฮดรอกซิลก่อพันธะกับคาร์บอนทุติยภูมิ
3. แอลกอฮอล์ตติยภูมิ คือ แอลกอฮอล์ที่หมู่ไฮดรอกซิลก่อพันธะกัยคาร์บอนตติยภูมิ
ซึ่งการเรียกชื่อแอลกอฮอล์มี 2 แบบ คือ ชื่อสามัญ ซึ่งนิยมใช้เรียกแอลกอฮอล์ที่มีนํ้าหักโมเลกุลตํ่า โดยเรียกชื่อหมู่อังคิลก่อนแล้วลงท้ายด้วยคำว่า alcohol และ ชื่อ IUPAC ซึ่งอาศัยหลักดังนี้ | |
1) เรียกโซ่ไฮโดรคาร์บอนยาวที่สุดที่มีคาร์บอนก่อพันธะกับหมู่ไฮดรอกซิลเป็นโซ่หลัก | |
2) นับตำแหน่งให้คาร์บอนที่ก่อพันธะกับหมู่ไฮดรอกซิลมีตัวเลขน้อยที่สุด ใส่ตำแหน่งของหมู่ไฮดรอกซิลหน้าชื่อไฮโดรคาร์บอนโซ่หลัก | |
3) ตัด -e ที่อยู่ท้ายชื่ออัลเคนโซ่หลัก ทิ้งแล้วเติม -ol แทน |
4) เรียกชื่อและแสดงตำแหน่งของหมู่แทนที่ตามหลักการเรียกชื่อ IUPAC ของอัลเคนสำหรับโมเลกุลที่เป็นวง ให้เรียกคาร์บอนที่ก่อพันธะ กับหมู่ ู่ไฮโรอกซิล เป็นตำแหน่งที่ 1 เสมอ จึงไม่ต้องเขียนเลข 1 ที่ชื่อ IUPAC
5) ถ้ามีหมู่ไฮดรอกซิลมกกว่า 1 หมู่ ให้เติมท้ายว่า diol , triol เมื่อมีหมู่ไฮดรอกซิล 2,3 หมู่ ตามลำดับ สำหรับกณณีนี้ ยังคงมี -e อยู่ท้ายชื่อของ อัลเคน โซ่หลัก
6) ถ้ามีหมู่ฟังก์ชันที่เป็นพันธะไม่อิ่มตัว ให้ใช้โซ่ที่มีพันธะไม่อิ่มตัวเป็นโซ่หลัก