ซัคเกอร์..ตัวอันตราย รุกทำลายสัตว์น้ำไทย

ซัคเกอร์..ตัวอันตราย รุกทำลายสัตว์น้ำไทย


ปลาซัคเกอร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Sucker Catfish, Hypostomus plecostomus มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้

โดยเฉพาะที่ ประเทศบราซิล มีอยู่เป็นจำนวนมาก อยู่ในสายพันธุ์เดียวกับปลากด ปลาแขยง และปลาดุกของ ประเทศไทย ลักษณะรูปร่างส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ปากจะคว่ำลง มีกล้ามเนื้อปากที่หนา แข็งแรง เพื่อ ใช้เกาะหรือดูดเก็บอาหารกิน เป็นปลาที่หน้าตาขี้เหร่มาก บางคนก็เกลียดมันด้วยซ้ำไป...เพราะมีลำตัวทั้งสีดำ หรือลายดำ ลายคล้ายตุ๊กแกและลายอื่นๆ


...ซัคเกอร์มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 15-30 เซนติเมตร ชอบว่ายน้ำช้าๆและเป็นปลาที่แข็งแรงและทนทานต่อทุกสภาพ แม้ว่าน้ำที่ใกล้จะเน่าเสียมันก็มีชีวิตอยู่ได้...
 

จากการทดลองนำตัวปลาซัคเกอร์ขึ้นมาไว้บนพื้นแห้งๆ มันสามารถมีชีวิตรอดอยู่ ได้เกินกว่า 6-12 ชั่วโมง และทดลองจับแช่ในน้ำแข็งเพื่อให้เกิดการ ช็อกแล้วสลบไปมันก็ทนทานต่อความหนาวเย็นได้นานกว่า 2 ชั่วโมง... ด้วยความอดทนนี้จึงเป็นตัวอันตราย...!!


ดร.นฤพล สุขุมาสวิน
หัวหน้ากลุ่มวิชาการ สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า...เมื่อหลายปีก่อน โดย กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม ได้มีการนำเข้า ปลาซัคเกอร์มาจากประเทศบราซิลเข้ามาในบ้านเรา...โดยเจตนาเลี้ยงเพื่อให้มัน ทำความสะอาดตู้ปลา


ซัคเกอร์..ตัวอันตราย รุกทำลายสัตว์น้ำไทย


...แต่ในระยะต่อมา มีการหลุดรอดลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ...ส่งผลให้เจ้า ปลาโบราณหน้าตาแปลกประหลาด นี้

มันขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วตั้งแต่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา...ไปถึงแม่น้ำโขงและในแม่น้ำ อีกหลายสายทั่วประเทศ......จากเดิมที่เข้าใจว่ามันกินอาหารจำพวกสาหร่ายหรือพืชเท่านั้น...แต่พอนำตัวมันมา เลี้ยงเพื่อทำวิจัย พบว่ามันกินเก่งและกินทุกอย่างที่ขวางหน้าตั้งแต่ขยะเศษอาหาร ไข่ปลา ไปจนถึงปลาชนิดอื่นๆ...หากมันหิวโหยขึ้นมา...


สำหรับ เนื้อของมันสามารถบริโภคได้แต่รสชาติไม่น่าชวนกิน แถมหน้าตาที่น่าเกลียด และลำตัวที่แข็งเปรียบเสมือนเกราะของมันจึงดูน่ากลัวมากกว่า ด้วยปัจจัยนี้เลยทำให้มันรอดชีวิตและอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นจำนวนมาก (คาดว่าหลายล้านตัว) พร้อมทั้งกำลังอาละวาดทำลายล้าง “ปลาพื้นบ้าน” อันเป็นทรัพยากรท้องถิ่นของเมืองไทยเรา


หัวหน้ากลุ่มวิชา การสำนักวิจัยและพัฒนา ประมงน้ำจืด


ก็บอกเตือนเอาไว้ด้วยว่า หากผู้ที่จะเลี้ยงซัคเกอร์ไว้ในตู้ปลาควรระมัดระวังให้ดี อย่าให้หลุดลงไปในแหล่ง น้ำธรรมชาติ ส่วนใครที่ เพาะเลี้ยงไว้ในกระชัง ควรต้องแจ้งให้ทาง ประมงจังหวัด ทราบเพื่อคอยควบคุมดูแล
 

...กรมประมงกำลังหาทางควบคุมและ กำจัดเจ้าซัคเกอร์ตัวนี้ออกไปจากแหล่งน้ำ ของบ้านเรา เพื่ออนุรักษ์และ ปกป้องสัตว์ น้ำในท้องถิ่นไว้เป็นมรดกแก่ชนรุ่นหลัง ต่อไป...!!!


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์