ตะลึง ขุมทองแมคเคนนา แห่งใหม่ นำไส้ปลวกมา ผลิตพลังงานทดแทน
คณะนักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯซึ่งควักไส้ของปลวกเมืองร้อนชนิดหนึ่งออกมาดู พบด้วยความรู้สึกตื่นตะลึงว่า เป็นความก้าวหน้า ในการค้นหาพลังงานทดแทนรุ่นใหม่ ครั้งใหญ่เข้าแล้ว
พวกเขาเล่าเมื่อตรวจวิเคราะห์ อวัยวะส่วนล่างลงมาของมัน ก็เห็นว่าได้ พบขุมทรัพย์ซึ่งเป็นเอนไซม์ ซึ่งสามารถจะเอามาใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับรุ่นต่อไป ดีกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งสกปรก ราคาแพง ซ้ำยังต้องเสี่ยงอันตรายทั้งทางธรณีวิทยาและการเมืองอีกด้วย ปลวกเป็นสัตว์ซึ่งมีแต่โดนแช่งด่า เพราะเหตุที่มันกัดกินบ้านเรือนที่สร้างด้วยไม้อย่างเงียบๆ ไม่หยุดยั้ง ชั่วนาตาปี สร้างความเสียหายปีหนึ่งเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท
คณะนักวิจัยซึ่งประกอบด้วยนัก พันธุศาสตร์เปิดเผยว่า ลำไส้ส่วนท้ายของปลวกอเมริกากลางพันธุ์หนึ่ง มีสภาพเท่ากับเป็น “ขุมทองแมคเคนนา” ของจุลชีพ
ซึ่งขับเอนไซม์ออกมาย่อยสลายใยของไม้ เอาสารอาหารเลี้ยงตัว พวกเชื้อเพลิงชีวภาพต่างๆในปัจจุบัน มักทำจากข้าวโพด อ้อย และพืชพันธุ์อื่นๆ โดยทำให้ แป้งในตัวของมันกลายเป็นเอทานอล ด้วยเอนไซม์ส หรือด้วยการหมักหรือการกลั่น ทำให้เกิดปัญหาว่าเมื่อใช้พืชพันธุ์เหล่านี้มาเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นเหตุให้ราคาของอาหารต่างๆพลอยขึ้นไปด้วย ดังนั้นจึงพยายามหาเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นใหม่ ซึ่งใช้สารเซลลูโลสที่มีอยู่ในผนังเซลล์พืชที่ไม่ได้เป็นอาหาร เช่น พวกเศษไม้และฟางแทน หากแต่ต้องใช้ขบวนการใหม่อันมีต้นทุนสูงและซับซ้อน ในการแปลงให้เป็นเชื้อเพลิง แต่สำหรับไส้พุงของปลวก จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาเหล่านี้