มะพร้าวแก่ทั้งผล ใครจะคิดว่ามีประโยชน์มากกว่าการนำมาปรุงอาหารรับประทาน
แต่มีนักวิทยาศาสตร์หญิงชาวเปรูนำมะพร้าวทั้ง ผลมาใช้เพาะเชื้อแบคทีเรียชื่อ บีทีไอ (Bacillus thuringiensis var israelansis H–14) แล้วนำไปฆ่าลูกน้ำยุงก้นปล่องซึ่งเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยเรื้อรังของ โรคมาลาเรีย ได้อย่างดี ที่เมืองลิมา ประเทศเปรู เป็นประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เป็นที่ซึ่งเต็มไปด้วยแหล่งน้ำ เช่น บ่อ สระ ภายใต้ผิวน้ำเต็มไปด้วย
มะพร้าวฆ่าลูกน้ำยุงได้
เปรูได้มีการกวาดล้างมาลาเรียอย่างหนัก โดยการฉีดพ่นด้วยดีดีที ในปี 1959–1960 การระบาดของโรคลดลง มากมาย จนเหลือน้อย คือ 4 คนใน 10,000 คน
จะเป็นโรคนี้ ซึ่งถือว่าต่ำมาก แต่ในปี 1970 เศรษฐกิจเปรูตกต่ำ การควบคุม ประชากร ยุงถดถอยไป ยุงเริ่มระบาดจนถึงจุดวิกฤต ในปี 1970 ที่พบคน เป็นโรค 20 คนใน 10,000 คน ในการกำจัดยุงได้ ใช้ดีดีทีและ สารเคมีอื่นที่ใช้ฆ่าแมลงรวมทั้งยุงซึ่งจะมีพิษต่อสัตว์อื่นรวมทั้งแมลงที่มีประโยชน์ด้วย และโดยเฉพาะยุงได้ พัฒนากระบวน การต้าน ยาฆ่าแมลงได้จึงต้องใช้ยาแรงขึ้นในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีสารพิษตกค้างใน บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นภัยเงียบต่อพืช สัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงและเข้าสู่มนุษย์ ตามวงจรอาหารได้อีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์หญิงชาวเปรู ชื่อ พาลมิลา เวนโตซิลลา (Palmira Ventosilla) ได้รับทุน IDRC ค้นพบว่า ผลมะพร้าว แก่ที่มีน้ำมะพร้าวข้างในเป็นอาหารวิเศษสุดในการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียชื่อ บีทีไอ สามารถฆ่าลูกน้ำยุง
ซึ่งเป็นพาหะนำ โรคไข้มาลาเรียได้ แบคทีเรียบีทีไอสามารถฆ่าลูกน้ำยุงได้อย่างเฉพาะเจาะจง โดยมันจะถูกลูกน้ำยุง กินเข้าไป และจะ เข้าไปทำลายเยื่อบุทางเดินอาหารของลูกน้ำยุง ยุงจะตายลงก่อนจะเติบโตเป็นยุงเต็มวัยแบคทีเรีย บีทีไอ นี้ไม่มีพิษภัย ต่อปศุสัตว์และมนุษย์ และเป็นที่รู้จักกันมากว่า 20 ปีแล้ว โดยมีการผลิตในเชิงการค้าในประเทศ พัฒนา แต่มีราคาสูง และวิธีการผลิตต้องใช้เทคโนโลยีและบุคลากรที่ฝึกหัดมาอย่างดี ไม่อาจถ่ายทอดสู่การพัฒนาเป็น เทคโนโลยีพื้นบ้านได้
และจะซื้อมาใช้เพื่อปราบยุงทั้งประเทศก็ไม่อาจทำได้สำหรับเปรูที่กำลังมีสภาวะตึงตัวด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ชาว เปรูคนนี้จึงค้นคว้าทดลอง นำวัตถุดิบพื้นเมืองของเปรูมาทำการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียบีทีไอแบบง่ายๆ โดยได้ทดลองจากกล้วย สับปะรด ธัญพืชต่างๆ ในที่สุดก็ค้นพบว่า มะพร้าวแก่ สามารถทดแทนเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการเพาะเชื้อบีทีไอ เช่น นำเชื้อ 100 ตัวฉีดใส่ผลมะพร้าว น้ำมะพร้าวจะทำ หน้าที่เป็นอาหารเพาะเชื้อเพิ่ม ปริมาณเป็นทวีคูณในเวลา 3 วันที่อุณหภูมิห้อง จะได้แบคทีเรียบีทีไอ 1,000,000 ตัว ส่วนผลมะพร้าวก็ทำหน้าที่ปกป้อง ดุจถังบ่มเพาะเชื้อแบคทีเรีย
พาลมิลายังได้ทุน IDRC เพื่อทำการศึกษาภาคสนามในบริเวณป่าแห่งหนึ่งของบราซิลแถบอเมซอนเหนือ ซึ่งเต็มไปด้วยนาข้าว บึงน้ำขัง
เป็นแหล่ง เพาะพันธุ์ของยุง พบว่าหลังจากทดลองภาคสนามในการใช้เชื้อเพาะในผลมะพร้าวฆ่าลูกน้ำยุงในบ่อนั้นเพียงครั้งเดียว ยุงตายเกือบหมดและ สามารถ ควบคุมอยู่ได้ 45 วัน จากการที่ได้พิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าลูกน้ำยุงนำโรคได้ จึงได้สนใจจะพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ชาว ชนบทผลิตและ ใช้ด้วยตนเอง ได้ทำการประดิษฐ์ชุดสำเร็จรูปสำหรับเพาะเลี้ยงบีทีไอ
ประกอบด้วยสำลีพันปลายไม้ที่ชุบหัวเชื้อแบคทีเรียบีทีไอ และจุกสำลีปลอดเชื้อ วิธีเพาะเชื้อทำโดยเสียบสำลีพันปลายไม้เข้าไปในลูกมะพร้าวตรงช่องที่เจาะไว้บริเวณขั้วลูกมะพร้าว อุดด้วยจุกสำลีที่เตรียมไว้ ทิ้งมะพร้าวที่เพาะ เชื้อบีทีไอไว้ 2–3 วัน ให้หัวเชื้อแบคทีเรียเพิ่มปริมาณเป็นนับล้านตัวต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งพร้อมใช้การได้ วิธีใช้ทำได้ง่ายดายโดยเพียงแต่ผ่าผล มะพร้าวแล้วโยนลงบ่อ บ่อขนาดเล็กใช้มะพร้าว 2–3 ผล ก็สามารถควบคุมปริมาณยุงไว้ได้แล้ว
จุดมุ่งหมายของผู้คิดค้นคือ ต้องการแพร่ขยายเทคโนโลยีชนบทนี้
เริ่มจาก 1 ครอบครัวเพื่อปราบยุงในบ่อน้ำของตนและขยายขอบข่ายออก ไปเรื่อยๆ ด้วยการอบรมพนักงานด้านสาธารณสุขชุมชนก่อน โดยที่รัฐมนตรีสาธารณสุขเปรูก็สนใจจะให้ความสนับสนุนโครงการนี้ ผู้วิจัยหวังว่า สักวันหนึ่งเปรู จะลดจำนวนยุงลงได้จนปราศจากภัยคุกคามจากโรคมาลาเรีย และเปรูก็จะไม่เสียงบประมาณมากเนื่องจากมะพร้าวแก่ที่ร่วงลง พื้นแล้วถือว่าเป็น ของเหลือทิ้ง
สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้ข่าวว่าเทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำมาใช้ อย่างไรก็ตามมะพร้าวเป็นพืชพื้นเมืองซึ่งปลูกในบริเวณกว้างและแทบทั่ว ประเทศไทย สามารถนำมา พัฒนาทำแหล่งเพาะเชื้อบีทีไอฆ่าลูกน้ำยุงได้ แต่ในประเทศไทยได้พัฒนาการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงได้ จากบีทีไอ และบีเอส (B. sphaericus) โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพาะในถังหมักขนาด 300 ลิตรได้แล้ว แต่ขณะนี้ยังรอฝ่ายเอกชนนำสู่การผลิตใน ระดับอุตสาหกรรมต่อไป