หวัดดีสมาชิก Science Zone Club ทุกท่าน หลังจากหายหน้าหายตาไปนานพอสมควรเพราะติดสอบอยู่
วันนี้พี่อาชิก้อกลับมาพร้อมกับบทความใหม่ๆที่น่าสนใจอีกครั้ง.. หลังจากที่วันก่อนเพิ่งไปดูหนัง ผีชีวะ 3 มา สนุกตื่นเต้นมากๆๆๆเลยครับ ก้อเลยเกิดไอเดียอยากจะรู้ว่าจะมีไวรัสตัวไหนที่ใกล้เคียงพอที่จะเรียกว่าสิ่งมีชีวิตได้บ้าง ผมเลยไปเสาะหาข้อมูลมา และคิดว่าเจ้า มีมี่ไวรัส ไวรัสที่ตัวใหญ่และชื่อน่ารักที่สุดในโลก ซึ่งมีหน้าตาเหมือนเงาะปนสไมล์ลี่ นี่ล่ะ ที่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะไขข้อข้องใจให้เราในอนาคตได้ ว่า ไวรัสคือสิ่งมีชีวิตจริงหรือไม่ ??....
มีมี่ไวรัสยักษ์ เป็นสิ่งมีชีวิตแล้วจริงหรือ ???
ขอเชิญทำความรู้จักกับ มีมี่ ไวรัสที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า มันควรถูกจัดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง
จีโนม ของ มีมี่ ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Science ฉบับล่าสุด และแสดงให้เห็นว่า มันมียีนหลายๆยีนที่เคยคิดว่าสามารถพบได้ในแบคทีเรียขึ้นไปเท่านั้น การค้นพบนี้อาจช่วยตอบคำถามที่ว่า เซลล์ๆ แรกที่มี DNA ในนิวเคลียส มีวิวัฒนาการมาได้อย่างไร
ตั้งแต่ยุค 60s แล้ว ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ถกเถียงกันว่า ไวรัส เป็นสิ่งมีชีวิต หรือว่าเป็นแค่ก้อนโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดใหญ่ ปกติไวรัสจะมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียมาก และก็ไม่ซับซ้อนเท่า คือประกอบด้วย สารพันธุกรรม ที่ห้อหุ้มด้วยโปรตีน และไม่สามารถเจริญเติบโตด้วยตัวเองได้ ต้องอาศัยเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่นๆในการขยายพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ มันจึงถูกจัดเป็นสิ่งไม่มีชีวิต
ถึงแม้ มีมี่ จะมีลักษณะของไวรัสทั่วไปอยู่ในตัว แต่มันก็มีความซับซ้อนกว่ามาก
โดยมันมีประมาณ 50ยีน ที่สามารถทำงานในแง่ที่ไวรัสทั่วไปทำไม่ได้ เช่น มันสามารถซ่อม DNA ที่เสียหายเองได้ และยังสามารถสร้างโปรตีนได้เองประมาณ 150ตัว นอกจากนี้ ไวรัสโดยทั่วไปจะมี DNA หรือ RNA อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสารพันธุกรรม แต่มีมี่ มีทั้งสองอย่าง Didier Raoult หัวหน้าทีมที่ศึกษามีมี กล่าวว่า “นี่จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตแล้วล่ะ มันมีทั้ง DNA RNA และก็โปรตีนมากมายเลย”
Jean-Michel Claverie หนึ่งในผู้ค้นพบมีมี่ กล่าวว่า ความซับซ้อนที่พบในมีมี่ไวรัส ทำให้เราต้องคิดกันใหม่ว่า ควรสรุปว่า ไวรัสเป็นสิ่งไม่มีชีวิตหรือไม่ โดยเขาเชื่อว่า ครั้งหนึ่งมีมี่น่าจะสามารถแบ่งตัวได้ แต่ภายหลังมันอาจจะสูญเสียความสามารถนี้ไป มีมี่ไวรัส ยังมียีนและโปรตีนจำนวนมากที่มีหน้าที่ในการแบ่งตัว ในปัจจุบันคุณสมบัตินี้อาจจะช่วยให้มันขยายพันธุ์ได้เร็วกว่าไวรัสอื่นๆ
มีมี่ไวรัสถูกค้นพบในปี 1992 ในอมีบา ในแลบประเทศอังกฤษ ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาการระบาดของไข้หวัดใหญ่
ผลการวิจัยต่อๆมาได้เปิดเผยว่า มันเป็นยักษ์ตัวหนึ่งทีเดียว ด้วยขนาดประมาณ 800 นาโนเมตร ใหญ่กว่า ไวรัสที่ใหญ่ที่สุด 3-4 เท่า และการศึกษาล่าสุดนี้ พบว่า จีโนมของมีมี่ มีขนาด 1.2 ล้านเบส ซึ่งมากกว่า แบคทีเรียบางตัวเสียอีก เบสเหล่านี้ประกอบเป็นยีน 1,260ยีน ซึ่งทำให้มันมีความซับซ้อนพอๆกับแบคทีเรียได้เลย ยิ่งไปกว่านั้น DNAของไวรัสส่วนใหญ่จะไม่มีประโยชน์ หรือเป็น DNAขยะ ในขณะที่มากกว่า 90% ของ DNAของมีมี่ มีหน้าที่ที่เฉพาะเจาะจง
บางครั้งนักชีววิทยาจะแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นสามกลุ่ม คือ
1. แบคทีเรีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสลับซับซ้อนน้อยที่สุด เพราะมันไม่มีนิวเคลียส
2. Archaea ก็คล้ายๆแบคทีเรีย แต่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการแยกมา เพราะมี cell membrane ที่แปลกออกไป
3. Eukaryote คือสิ่งมีชีวิตที่เหลือทั้งหมด มีสารพันธุกรรมอยู่ในนิวเคลียส ทีมของ Dr. Raoult เชื่อว่า มีมี่ ต่างจากกลุ่มเหล่านี้มากพอที่จะแยกออกมาเป็นกลุ่มที่
4 และมันก็มี 7 ยีน ที่พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มันจึงควรจัดว่า มีชีวิตเทียบเท่ากลุ่มอื่นได้ อย่างไรก็ดี Anne Bridgen ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ซึ่งถึงแม้ว่าเธอเองจะทึ่งในความเป็นมีมี่ ก็ยังไม่เห็นด้วย 100% “การที่จะจัด มีมี่ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มใหม่ก็อาจจะดู over ไปหน่อย แต่ก็ต้องยอมรับว่า บางทีการที่เราจัดว่าสิ่งมีชีวิตมีอยู่แค่สามกลุ่มนั้นก็อาจจะง่ายเกินไป”
มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มที่เชื่อว่า eukaryote
พัฒนามาจากการรวมตัวกันของแบคทีเรีย และไวรัส โดยแบคที่เรียเป็นฝ่ายจัดหาไรโบโซมและโปรตีนที่จำเป็น ส่วนไวรัสก็มีหน้าที่ให้สารพันธุกรรม ข้อด้อยของทฤษฎีนี้คือ ไวรัสมักจะไม่มียีนตัวสำคัญๆที่ต้องพบใน eukaryote แต่มีมี่ มียีนเหล่านี้ ซึ่งช่วยสนับสนุนความน่าจะเป็นของทฤษฎีนี้เพิ่มขึ้น ขณะนี้ทีมของ Dr. Raoult กำลังศึกษาว่า มีมี่ใช้ยีนของมันทำอะไรอย่างไรบ้าง และเสาะหาว่ามีไวรัสยักษ์อื่นๆ อย่างมีมี่ หรือไม่.....
ขอขอบคุณสาระดีดี จาก