ข้างแรม (Waning) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนวันเพ็ญจนถึงคืนเดือนมืดอีกครั้ง โดยใช้ด้านมืดของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด แล้วแบ่งออกเป็น 15 ส่วนเช่นกัน เริ่มจาก แรม 1..2...3.. ค่ำ จนถึงแรม 14-15 ค่ำ โดยจะเริ่มเห็นดวงจันทร์ ตั้งแต่ตอนหัวค่ำจนถึงเกือบรุ่งเช้าด้านทิศจะวันออก โดยหันด้านสว่างของดวงจันทร์ไปทางทิศตะวันออกหรือด้านใกล้ดวงอาทิตย์ จะเป็นช่วงที่อยู่ตรงข้ามกับข้างขึ้นนั่นเอง เราแบ่งช่วงข้างแรมออกเป็น 3 ช่วงเช่นกันคือ
1) ช่วงข้างแรมอ่อนๆ ตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ..2..3..4 จนถึงแรม 7 ค่ำ
จะเรียกว่า Waning Gibbous จะเป็นช่วงที่เราเห็นด้านสว่างของดวงจันทร์ค่อนข้างมาก และเริ่มลดลงเรื่อยๆจนถึงครึ่งดวง เห็นได้ตั้งแต่ตอนหัวค่ำจนถึงเที่ยงคืนด้านทิศตะวันออก
2) จันทร์ครึ่งดวงครั้งสุดท้าย หรือ Last Quater ตรงกับแรม 8 ค่ำ
ดวงจันทร์ทำมุม 90 องศาระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์อีกครั้ง ซึ่งจะเริ่มเห็นจับของฟ้าด้านทิศตะวันออกตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนโดยประมาณ และตกลับขอบฟ้าในตอนเที่ยงวันของอีกวันหนึ่ง ซึ่งด้านมืดและด้านสว่างของดวงจันทร์ในคืนแรม 8 ค่ำนี้ จะอยู่สลับกันคือตรงข้ามกับคืนวันขึ้น 8 ค่ำ
3) ช่วงข้างแรมแก่ๆ ตั้งแต่ แรม 9 ค่ำ ...10..11..จนถึงแรม 14 -15 ค่ำ
จะเรียกว่า Waning Crescent ซึ่งเราจะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวตั้งแต่ครึ่งดวงจนถึงบางๆอีกครั้ง แต่จะเห็นค่อนข้างดึกจนถึงใกล้รุ่งเช้า โดยหันด้านเสี้ยวสว่างเข้าหาดวงอาทิตย์ด้านทิศตะวันออก
และต่อจากนี้ดวงจันทร์ก็จะไปอยู่ด้านหน้าดวงอาทิตย์อีกครั้ง คือเริ่มต้น New Moon อีกครั้งแบบนี้ไปเรื่อยๆเริ่มวัฏจักรของข้างขึ้นข้างแรมใหม่
ซึ่งจะกินเวลา 1 รอบ 29.5 วัน เราเรียก 1 รอบดวงจันทร์ หรือ 1 เดือน (เมื่อเดือนนั้นเราหมายถึงดวงจันทร์ ในขณะที่ภาษาอังกฤษเองก็ใช้คำว่า Month มาจากคำว่า Moon นั่นเอง) จะเห็นว่าถ้าเราเข้าใจลักษณะเสี้ยวของดวงจันทร์รวมถึงทิศและเวลาในการปรากฏของดวงจันทร์บนท้องฟ้าแล้ว เราก็จะทราบได้ทันทีว่าคืนนั้นตรงกับข้างขึ้นหรือข้างแรมกี่ค่ำ ตัวอย่างเช่น เราเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวสว่างราว 3 ใน 15 ส่วนของดวงจันทร์ และอยู่บนขอบฟ้าด้านทิศตะวันตก เราก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นขึ้น 3 ค่ำ ในทางตรงกันข้ามหากเราเห็นเสี้ยวสว่าง 3 ใน 15 ส่วนของดวงจันทร์เช่นกัน แต่อยู่บนขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก เราก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นช่วงข้างแรม 12 ค่ำ (พิจารณาด้านมืดจะมี 12 ส่วน มาจาก 15 ลบ 3)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระองค์ทรงแต่งตั้งตำแหน่งงานทางวิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในการบอกเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมีตำแหน่ง พันทิวาทิตย์ ทำหน้าที่เทียบเวลาตอนกลางวันโดยสังเกตดวงอาทิตย์ และตำแหน่ง พันพินิจจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนโดยสังเกตดวงจันทร์
เกร็ดความรู้
วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์อยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์จะขึ้นทางทิศตะวันออก ขณะที่ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก
ดวงจันทร์ขึ้นช้า วันละ 50 นาที ข้างขึ้น: เราจะเห็นดวงจันทร์ในช่วงหัวค่ำ ข้างแรม: เราจะเห็นดวงจันทร์ในช่วงรุ่งเช้า
ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยวบาง แต่เราก็สามารถมองเห็นด้านมืดของดวงจันทร์ได้ เป็นเพราะแสงอาทิตย์ส่องกระทบพื้นผิวโลก แล้วสะท้อนไปยังดวงจันทร์ เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “เอิร์ธไชน์” (Earth Shine)