กระดูกพรุน
กระดูกคืออะไร
กระดูกเป็นอวัยวะที่หนักที่สุดในร่างกาย พบได้ในสัตว์จำพวกมีกระดูกสันหลังเท่านั้น ประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตตลอดเวลา ประกอบด้วยโปรตีนชนิดไกลโคเจนและแคลเซี่ยมฟอสเฟต มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายสามารถรักษารูปทรงและเคลื่อนไหวได้ มีหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในที่สำคัญและบอบบาง เช่น สมอง ตับ ไต ปอด และหัวใจ เป็นต้น ร้อยละ 99 ของแคลเซี่ยมในร่างกายจะอยู่ในกระดูก และอีกร้อยละหนึ่งจะอยู่ในกระแสเลือด
วัฎจักรของเซลล์กระดูกเกิดขึ้นอย่างไร
ในตลอดชีวิตขัย กระดูกเก่าจะถูกละลายออก แล้วมีการสร้างกระดูกขึ้นใหม่ สลับกันไป ในวัยเด็กและวัยรุ่น กระดูกใหม่จะสร้างมากกว่าการละลายกระดูกออก กระดูกจึงใหญ่ขึ้น หนาขึ้น และ หนักขึ้น ขณะที่ในผู้สูงอายุกระดูกเก่ายังถูกละลายออกในอัตราที่เร็วกว่าการสร้างกระดูกใหม่ ผลทำให้กระดูกเหี่ยวเล็กลงและเบาลง ทำให้ความแข็งแกร่งเสียไป
โรคกระดูกพรุน หรือโรคกระดูกบาง หรือโรคกระดูกผุ เป็นโรคอะไร ?
เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น กระดูกจะบางลงโดยปัจจัยบางประการ ผลทำให้ร่างกายเตี้ยลง หลังคดงอ หลังโกง และกระดูกหักง่ายจากอุบัติเหตุเพียงเบา ๆ
โรคกระดูกพรุนคือโรคอะไร ?
โรคกระดูกพรุน หรือกระดูกบาง หรือกระดูกผุ คือโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย พบบ่อยมากในผู้สูงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป มีลักษณะคือมีมวลสารของกระดูกต่ำ โครงสร้างระดับจุลภาพเสื่อมลง ทำให้กระดูกไม่แข็งเท่าที่ควร จึงหักง่ายจากอุบัติเหตุเบา ๆ ผลทำให้เกิดปัญหาในการเคลื่อนไหวของ ร่างกาย และเจ็บปวดตรงบริเวณที่กระดูกหัก อันตรายที่สุดคืออาจเสียชีวิตได้จากภาวะแทรกซ้อน
การตรวจสุขภาพเพื่อวิเคราะห์โรคทางระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกควรทำหรือไม่ ?
ปัจจุบันพฤติกรรมของคนไทยในการดูแลสุขภาพได้เปลี่ยนไปในแง่ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับการป้องกันและรักษาโรคแต่เริ่ม ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป จึงพบว่าเรามีการตรวจ
น้ำตาล - โรคเบาหวาน
ความดัน - โรคความดันโลหิตสูง
ไขมัน - โรคหัวใจ เส้นเลือดหัวใจตีบ
ปัสสาวะ - โรคนิ่ว ไตอักเสบ ติดเชื้อ
ฉายรังสีปอด - วัณโรค ปอดบวม มะเร็งปอด
การวัดความหนาแน่นของกระดูก ไม่มีใครทำ ทั้ง ๆ ที่สามารถแยกผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อกระดูกหักแล้วทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ
ขณะที่เราไม่เห็นมีใครมาตรวจเช็คโรคข้อเสื่อมกับโรคกระดูกพรุน
ทำไมโรคข้อจึงถูกเมิน ไม่ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป ?
เนื่องจากความเข้าใจผิดว่าโรคข้อมักมีลักษณะดังนี้
อายุมาก เลยไม่อยากรักษา รักษาไม่หาย จึงไม่รักษา เกิดจากของแสลง จึงงดอาหารบางอย่างและซื้ออาหาร ขาดแร่ธาตุอาหาร อาหารเสริมรับประทานเอง ปรึกษาแพทย์แล้ว เลยไม่รักษา ทำอะไรให้ไม่ได้
ฉะนั้นปัญหาโรคข้อจึงเพิ่มความรุนแรงขึ้น