ลดความเสี่ยง จากการช็อปปิ้งออนไลน์

ลดความเสี่ยง จากการช็อปปิ้งออนไลน์


ใกล้เทศกาลตรุษจีนและ   วาเลนไทน์เข้ามาทุกที หลายคนที่ไม่มี เวลาอาจจะต้องพึ่งพาโลกออนไลน์ในการจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อหาของขวัญสำหรับคนใกล้ชิด
  
เลยเก็บข้อแนะนำเล็ก ๆ  น้อย ๆ จากไอบีเอ็มมาฝาก เพื่อลดความเสี่ยงจากการชอปปิงออนไลน์
 
ข้อแรกไอบีเอ็มเตือนว่าถึงแม้จะมีรูปกุญแจปรากฏที่ด้านล่างของเบราว์เซอร์  ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัย
 
ซึ่งการเข้าหน้าเว็บไซต์ที่ต้องใส่ชื่อ ข้อมูลส่วนตัวรวมทั้งข้อมูลบัตรเครดิต ขอให้แน่ใจว่า URL address ในหน้านั้น ต้องทำผ่าน หรือเป็น address ที่ขึ้นต้นด้วย https เท่านั้น หากไม่แน่ใจให้ดับ เบิลคลิกที่ไอคอนรูปกุญแจที่ด้านล่างของ เบราว์เซอร์เพื่อดูว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีรายละเอียดเกี่ยวกับประกาศนียบัตรทางด้านความปลอดภัย (Security Certificate) หรือไม่ และประกาศนียบัตรนั้นเป็นของเว็บไซต์ นั้นจริงหรือเปล่า
 
ข้อต่อมา ไม่ใช้บัตรเดบิตในการซื้อของผ่านทางออนไลน์ เพราะจะหักเงินออกจากบัญชีทันที หากมีรายการผิดปกติจะร้องเรียนกับธนาคารได้ยากกว่าบัตรเครดิต
 
ข้อที่สาม อย่าคลิก link ที่มากับอีเมล ที่ดูเหมือนว่าจะส่งมาจากร้านค้าออนไลน์ เพราะอาจเป็นอีเมลปลอมก็ได้ หากท่านต้องการเข้าเว็บไซต์จาก link   ให้เปิดเบราว์เซอร์ขึ้นมาใหม่ และใส่ URL address ด้วยตัวเอง หาก URL address ยาวมาก และไม่มีเวลา อาจใช้วิธีพิมพ์โดเมนเนมของเว็บไซต์นั้น และคลิก link ที่ต้องการจะเข้าจากหน้า Home ของเว็บไซต์นั้น ๆ แทน
 
ส่วนข้อที่ 4 ถ้าเริ่มไม่ไว้ใจเว็บไซต์นั้น หรือเริ่มรู้สึกถึงความไม่ชอบมาพากลกับข้อเสนอที่ให้มา ให้เปลี่ยนไปเข้าเว็บอื่นแทน เพราะอาจจะถูกหลอกกับข้อเสนอที่ดีเกินความเป็นจริงหรือโดนเว็บนั้นแอบทำมิดีมิร้าย เช่น แอบเอา malware มาลงกับเครื่องผ่านทางเบราว์ เซอร์ โดยที่ไม่รู้ตัว
 
และข้อสุดท้ายสำคัญมากคือระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับการจ่ายเงิน ซึ่งปกติข้อมูล ที่เว็บไซต์ชอปปิงทั่วไปต้องการจะมีแค่ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ที่จะจัดส่งใบแจ้งหนี้  หมายเลขบัตรเครดิต วันหมดอายุของบัตร และ โค้ด CCV2 ด้านหลังบัตร
 
นอกจากนี้ บางเว็บไซต์อาจต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เช่น อีเมลแอด  เดรส หรือเบอร์โทรศัพท์ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการจัดส่งของ แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ท่านจะให้ข้อมูลดังกล่าว ควรตรวจสอบในเงื่อนไขว่าเว็บไซต์นั้นจะเก็บข้อมูลส่วนตัวของท่านเป็นความลับหรือไม่
 
นอกจากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่ต้องให้ข้อมูลอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นรหัสส่วนตัวของบัตร (PIN) หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ  เพราะเว็บไซต์ที่ทำธุรกิจอย่างถูกต้อง จะไม่ถามข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ หากพบเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ถามข้อมูลเกินพอดีเหล่านี้ ให้หยุดการทำธุรกรรมกับเว็บไซต์นั้นทันที และแจ้งธนาคารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รับทราบ
 
นี่คือการเตือน !!! เพื่อลดความเสี่ยง ก่อนที่เงินจะหายไปจากกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว.

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์