ผู้นำของเมืองจึงหาวิธีต่อสู้ธรรมชาติ ด้วยการสร้างเมืองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดด้วยวัสดุที่ได้มาตรฐาน เพราะเห็นว่า การเปลี่ยนเมืองให้เป็นสีเขียวนี้เป็นทางเดียวที่จะรักษาเมืองให้รอดพ้น จากทั้งทอร์นาโดและคนรุ่นหนุ่มสาวทิ้งเมืองไปอยู่ที่อื่น
นายธอมมัส คอร์นส์ ประธานธนาคารกรีนสเบิร์กสเตตแบงก์ กล่าวว่า การสร้างเมืองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้นำอุตสาหกรรมใหม่เข้ามารวมทั้งนำประชาชนกลับมาสู่กรีนสเบิร์ก การต่อสู้ทอร์นาโดด้วยการเปลี่ยนเมืองให้เป็นสีเขียว สร้างความสนใจให้กับสื่อมวลชน
โครงการมีทั้งตั้งศูนย์รีไซเคิลขยะ สร้างบ่อพักน้ำเพื่อนำน้ำฝนมาเป็นน้ำดื่ม สนับสนุนประชาชนให้ซื้อเครื่องไฟฟ้าที่ประหยัดไฟ หาทางหาแหล่งพลังงานอื่นๆ
เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ กังหันลม สนับสนุนให้สร้างบ้านและอาคารด้วยวัสดุที่มีในท้องถิ่น วัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่ไม่มีพิษ ปลูกต้นไม้มีขึ้นอยู่ตามท้องถิ่นเพื่อให้ร่มเงา เพราะไม้เหล่านี้ไม่ต้องรดน้ำมาก บริษัทแห่งหนึ่งในออสเตรเลียยังแสดงความจำนงบริจาคชักโครกประหยัดน้ำ 200 โถ คาดว่าจะประหยัดน้ำได้ 2.6 ล้านแกลลอนต่อปี ผู้นำเมืองกรีนสเบิร์กยังหาอาสาสมัครในการออกไปให้ความรู้กับประชาชนเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดด้วย