ชื่อไทย กระชายดำ, ว่านกระชายดำ, กระชายม่วง, ว่านเพชรดำ
ชื่อสามัญ Belamcanda chimensis
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora
วงศ์ ZINGIBERACEAE
กระชายดำมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ พบมากในเขตป่าและภูเขาของประเทศไทยและประเทศลาว ในส่วนของประเทศไทยปลูกกันมากในพื้นที่จังหวัดเลย พิษณุโลกและเพชรบูรณ์ บางกระแส ระบุว่ากระชายดำเป็นพืชประจำเผ่าม้ง กล่าวกันว่าเวลาเดินทางจะพกกระชายดำติดตัวป้องกันภูตผีปีศาจ
กระชายดำคืออะไร
กระชายดำเป็นพืชชนิดหนึ่งใช้หัวนำมาใช้ทำประโยชน์ทางยาและอาหาร จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุก อยู่ในวงศ์เดียวกับกระชายแกง และคล้ายกับข่า ขิง ขมิ้นแต่มีลักษณะเฉพาะประจำตัว จำแนกออกตามส่วนต่างๆ ดังนี้
ต้น กระชายดำเป็นพรรณไม้ล้มลุก ขนาดลำต้นสมบูรณ์เต็มที่สูงประมาณ 30 ซม. ส่วนของแกนกลางลำต้นจะมีลักษณะแข็ง มีกาบใบที่อาบหนา นุ่ม หุ้มแกนลำต้นไว้ ลำต้นโดยรวมจะอวบอุ้มน้ำเหมือนกับพืชล้มลุกทั่วไป
ใบ ใบของกระชายดำ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ออกเรียงสลับซ้อนกันเป็นรูปกรวย และจะแยกออกจากกันเป็นอิสระเมื่อโตขึ้น สีของใบกระชายดำเมื่อเริ่มแตกใบอ่อนจะมีสีเข้มม่วงอมแดง และจะค่อยๆ สีจางไปเป็นสีเขียวเข้ม เส้นขอบใบจะมีสีแดงระเรื่อ หรืออมชมพูคล้ายรอยไหม้ กาบใบจะยาวเป็นร่อง แทงขึ้นมาจากหัวที่อยู่ในดิน ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะขนาดของใบกว ้างประมาณ 7-20 ซม. ยาวประมาณ 30-40 ซม.ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของ ธาตุอาหารในดิน หรือการดูแลรักษา
ดอก สีของดอกกระชายดำจะมีสีขาวอมชมพู หรือบางพื้นที่พบว่าสีดอกจะออกเข้มเป็นสีม่วงอมแดง ออกดอกเป็นช่อ โดยจะแทงช่อออกมาระหว่างก้านใบยาวประมาณ 4-5 ซม.ช่อละ 1 ดอก
ผล กระชายดำมีผลขนาดเล็ก มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับผล เมื่อแก่จัดผลจะแตกออกเป็น 3 แฉก เมล็ดสามารถนำไปเพาะขยายพันธุ์ได้ แต่อัตราการงอกค่อนข้างต่ำเหง้าหรือหัว ลักษณะของหัวกระชายดำจะมีลักษณะเฉพาะ เป็นข้อๆ รวมกันประกอบเป็นหัว ลักษณะข้อจะเป็นรูปวงกลมและวงรี แต่ละข้อเล็กกว่าข้อของหัวข่า
การวัดคุณภาพของกระชายดำ วัดได้จากหัวที่มีข้อเป็นวงกลมใหญ่จำนวนมากรวมอยู่ในหัวหรือเหง้าเดียวกันจะมีเกรดดีกว่า หัวที่มีข้อเป็นวงรีเล็กยาวรวมกัน เนื้อในและสีของกระชายดำจะต้องเป็นสีม่วง ถึงม่วงเข้ม หรือสีดำ เนื้อค่อนข้างละเอียด เส้นใยน้อย มีกลิ่นเฉพาะตัว และหัวสดจะมียางสีขาวขุ่นด้วย
ราก กระชายดำมีรากช่วยหาอาหาร ลักษณะเล็ก เป็นเส้นยาวคดเคี้ยว ถ้าปลูกในพื้นที่อุดมสมบูรณ์เพียงพอ รากจะสร้างปมเป็นที่เก็บสะสมอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงหัว ลักษณะปมจะเป็นรูปวงรีสีขาวนวล เนื้อในอวบน้ำ เนื้อในละเอียดเรียกส่วนนี้ว่า รากน้ำนม
การขยายพันธุ์กระชายดำ
การขายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด โดยนำเมล็ดที่แก่จัดจากผลกระชายดำมาเพาะกับแปลงเพาะ แต่ไม่ค่อยได้ผล อัตราการงอกต่ำ
การขยายพันธุ์ด้วยเหง้าหรือหัว เป็นวิธีที่ใช้กันมาก เพราะขึ้นง่ายได้ผลเร็ว
การขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ จะต้องใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูงและผู้ปฏิบัติการจะต้องมีความรู้เฉพาะทางในส่วนของกระชายดำ