|
|
| เมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ค.ศ.1935-40 ได้เกิดคดีสยองขวัญขึ้น
มีการพบศพมนุษย์ชายหญิงจำนวนมาก ศพแล้วศพเล่า ในเขตลำน้ำคิงส์เบอรี รัน ลำน้ำ สายยาวที่ไหลตัดผ่านด้านตะวันออกของเมือง ทุกรายล้วนถูกฆาตกรรมโดยฝีมือของฆาตกรคนเดียวกัน ที่ปฏิบัติการอย่างเย้ยกฎหมาย สร้างความหวาดผวาแก่ชาวเมือง และเป็นคดีดังแห่งประวัติศาสตร์ที่ยังคงปริศนาว่าใครคือฆาตกร และเขาฆ่าคนไปตั้งมากมายเพื่ออะไรกันแน่
คดีนี้ เปิดฉากในปี ค.ศ.1935 และจบลงในปี 1940 ตลอดระยะเวลา 5 ปี มีคนตกเป็นเหยื่อของฆาตกรคนนนี้ทั้งสิ้น 12 ราย แยกเป็นชาย 7 ราย หญิง 5 ราย ระบุชื่อศพได้เพียง 2 คน คือ ชายหนุ่มชื่อ เอ็ดเวิร์ด เอ. แอนดราสซี และโสเภณีขี้เมา ฟลอเรนซ์ ซอดี โพลิลโล นอกนั้นเป็นเหยื่อนิรนาม เนื่องจากไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นใคร มาจากไหน เหยื่อทั้งหมดพบในเขตคิงส์เบอรี รัน หรือบริเวณใกล้เคียง ในสภาพตัดศีรษะและแขนขา ลำตัวถูกตัดเป็นท่อน โดยศีรษะและมือค้นหาไม่พบ แต่มีศพที่ 1 , 2 , 3 , 4 ที่เป็นเพศชายทั้งหมด เท่านั้นที่เพียงแค่ตัดศีรษะ และที่น่าแปลกคือศพปราศจากเลือดแสดงว่าชำระล้างร่างกายศพก่อนทิ้ง ทำไมฆาตกรถึงทำอย่างนั้น!
จุดเริ่มต้น
ค.ศ.1934 ชาวบ้านคนหนึ่งได้พบศพหญิงนิรนามคนหนึ่ง ในทะเลสาบใกล้กับคิงส์เบอรี ในสภาพศพที่ถูกตัดศีรษะและแขนขา ลำตัวถูกตัดเป็นสองท่อน โดยที่ศีรษะและมือค้นหาไม่พบ ไม่มีใครรู้ว่าศพนี้เป็นใคร
สภาพศพโดยรอบไม่มีเลือดแม้แต่น้อย ทั้ง ๆ ที่ศพถูกตัดเป็นท่อน ๆ ตัวศพเองก็ขาวซีดเพราะเลือดไหลออกหมด แสดงให้เห็นว่าผู้ตายถูกฆ่าที่อื่นและหั่นร่างจากที่อื่น
แต่ถึงอย่างไร หลังจากพบศพรายอื่น ๆ ทางการไม่ยอมรับว่าเธอไม่ใช้เป็นเหยื่อของฆาตกรต่อเนื่องรายนี้ แต่คนส่วนใหญ่เชื่อว่านี้คือเหยื่อของฆาตกรคิงส์เบอรี รัน พวกหนังสือพิมพ์จึงเรียกเธอว่าสุภาพสตรีแห่งทะเลสาบ หรือ เหยื่อหมายเลข 0 เนื่องจากศพเธอพบกับเหยื่อรายอื่น ๆ
ถึงแม้ว่าศพที่ 1 และ ศพที่ 2 จะปรากฏขึ้นมาพร้อมกัน โดยศพแรกพบบนถนนเป็นศพไร้หัวแยกจากร่างที่เปลือเปล่า สวมถุงเท้าสีดำและอวัยวะเพศถูกตัดออก ส่วนศพที่สองอยู่ห่างออกจากที่พบศพแรกประมาณ 2 เมตร เป็นศพไร้หัวและถูกตัดอวัยวะเพศเหมือนกันใกล้กันนั้นพบศีรษะที่ถูกฝังบนดินตื้นๆ ส่วนอวัยวะเพศถูกทิ้งราวกับขยะ จากการสืบสวนพบว่า ศพรายแรกที่พบชื่อ เอ็ดเวิร์ด เอ. แอนดราสซี ตายมาแล้ว 2-3 วัน มีประวัติว่าเป็นแมงดา และอีกศพตายมาแล้ว 2-3 อาทิตย์ แต่ไม่ทราบว่าผู้ตายเป็นใคร และต่อมามีการพบศพรายที่ 3ในระยะ 18 เดือน โดยพบศพวันที่ 26 มกราคม 1936 บ้านเลขที่ 20 พบศพในสภาพอยู่ในตระกร้าและกระเป๋าใกล้กัน โดยในตระกร้าบรรจุแขน ส่วนในกระเป๋าบรรจุท่อนล่างของผู้หญิง และอีกสองอาทิตย์ต่อมาก็พบแขนอีกข้างและขาทิ้งไว้ใกล้กันนั้น โดยจากการตรวจสอบนิ้วมือพบว่า เป็นของโสเภณีขี้เมา ฟลอเรนซ์ ซอดี โพลิลโล แต่ตอนนั้นยังไม่มีใครเชื่อมโยงว่าเป็นฝีมือของฆาตกรคนเดียวกัน
เอลเลียต เนส
ตอนแรกคดีฆาตกรรมต่อเนื่องนี้ไม่ได้อยู่ในสายตาของตำรวจเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะมือปราบอาชญากรรมผู้โด่งดังนาม เอลเลียต เนส (เขาคือผู้ปราบเจ้าพ้าชื่อดังนามว่า อัล คา โปน) ผู้ที่กำลังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการรักษาความปลอดภัยเมืองคลีฟแลนด์ ยิ่งไปกันใหญ่เลย เพราะเขามัวแต่สนใจการปราบคอรัปชั่นที่กำลังระบาดอยู่ในตอนนี้มากกว่า และภาระหน้าที่นี้จึงตกไปอยู่กับ นายเจมส์ โฮแกน และ เดวิด คาวเลส หัวหน้าห้องปฏิบัติการอาชญากรรมทำกันเองตามลำพังท่ามกลางหลักฐานที่แทบไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เลย
จนกระทั้งการปรากฏตัวของศพรายที่ 4 ที่เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ อาร์เธอร์ เจ.เพียร์ เริ่มสะดุดกับรูปแบบที่น่าสะพรึงกลัวบางอย่าง
"ศพเหล่านี้ที่พบในเขตลำน้ำใน คิงส์เบอรี มีวิธีการฆ่าซ้ำ ๆ ซาก คือ เป็นการฆ่าโดยการตัดศีรษะและ หั่นศพโดยฝีมือของผู้ชำนาญในการใช้มีดเพราะสังเกตได้ว่าเป็นรอยหันแบบเดียวกัน ศพทุกรายปราศจากเลือดคงเนื่องจากฆาตกรหลังฆ่าเหยื่อเสร็จแล้วคงทำความสะอาดศพ ถึงได้ชัดเลยว่าเป็นฝีมือของฆาตกรคนเดียวกัน"
แต่ถึงกระนั้นตำรวจไม่ยอมเชื่อ! ในเองที่ทำให้ฆาตกรยังคงลอยนวลอยู่ และกำจังจ้องสังหารเหยื่อรายต่อไป
เมื่อศพรายที่ห้านิรนามปรากฏตัวนั้นแหละพวกตำรวจถึงยอมรับว่ามีฆาตกรต่อเนื่องออกอาระวาดในเขตนี้แล้ว ~!
แต่การทำงานของพวกตำรวจก็ไปอย่างเชื่อมช้าเช่นเดิม................................
การสืบสวน
เพียงระยะเวลาแค่ 2 เดือนหลังจากพบศพรายที่ 5 และศพรายที่ 6 ทั้งสองศพเป็นศพนิรนาม สื่อมวลชนเริ่มประโคมข่าวที่นำเนอให้ตื่นตัวแก่ชาวเมืองคลีฟแลนด์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จนเกิดความปั่นป่วนไปทั่วเมือง จนบีบให้เอลเลียต เนส ต้องมาช่วยคลี่คลายคดีนี้ เพราะเรื่องราวใหญ่โตเกินกว่าควบคุมแล้ว
ภายในปี 1937 พบศพรายที่ 7 ศพรายที่ 8 และศพรายที่ 9 ทั้งสามศพเป็นศพนิรนามไม่มีใครรู้ที่มาว่าพวกเขาคือใคร และอยู่ที่ไหนเช่นเคย แม้จะมีคนหายจำนวนมากในเมืองคลีฟแลนด์ แต่ก็ไม่สามารถระบุศพได้
จนกระทั้ง ด.ร.ซามูเอล เกอร์เบอร์ ผ้มีความรู้ในการชันสูตรศพ ได้ให้ความเห็นที่มีประโยชน์ว่า
"ฆาตกรต้องเป็นพวกวันแมนโชว์ ลงมือเพียงคนเดียว รูปร่างต้องใหญ่โตแข็งแรงจนสามารถแบกศพไปทิ้งในระยะทางไกล ๆ ได้ อีกทั้งยังมีความรู้ในเรื่องกายวิภาคและการผ่าศพเป็นอย่างดี และที่สำคัญฆาตกรต้องอยู่ในเขตคิงส์เบอรี รัน นั้นเอง"
"แต่ การที่ฆาตกรหั่นศพเป็น 2 ท่อนและตัดศีรษะรวมทั้งแขนและขาออกนั้น ก็เพื่อสะดวกในการนำไปทิ้ง และยังป้องกันการสืบว่าเหยื่อเป็นใคร"
เมื่อได้ข้อสรุปตั้งนี้ ตำรวจมุ่งสงสัยกลุ่มศัลยแพทย์ นักศึกษาแพทย์ รวมทั้งบุรุษพยาบาล จนกระทั้ง.........
ด.ร.แฟรงค์ อี.สวีนีย์
จากการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและคุณสมบัติที่ใกล้เคียงพบว่า ด.ร.แฟรค์ อี สวีนีย์ เป็นบุคคลน่าสงสัยที่สุด
ประวัติและพฤติกรรมเขาน่าสงสัยมาก
สวีนีย์เกิดและเติบโตในเขตคิงส์เบอรี รัน เป็นคนที่มีรูปร่างใหญ่โตแข็งแรง แต่เขามักจะมีปัญหาในเรื่องติดสุราเรื้องรังอย่างหนักเขาเริ่มติดสุ
ราเรือรัง 2 ปี หลังจากแต่งงานกับภรรยา มักมีอารมณ์รุนแรงหลังจากดื่มสุรา ปัญหาเหล่านี้ทำให้เขาแยกกับภรรยาและลูก และมีข่าวลือว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ จนกระทั้งสูญเสียหน้าที่บริหารงานในโรงพยาบาลเซนต์อเล็กซีส
ปี 1934 ความกดดันของด.ร.เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขีดสุด เริ่มช่วงนี้เป็นช่วงปรากฏตัวของ "สุภาพสตรีแห่งทะเลสาบ" พอดี
เจ้าหน้าที่ยิ้ม ฮิ ฮิ คราวนี้จะได้ปิดคดีเสียที
แต่หารู้ไหมว่า เขามีหลักฐานที่อยู่
เขาบอกว่า ช่วงเวลาที่เกิดคดีพบศพเหยื่อ ช่วงเวลานั้นเขามักเดินทางนอกเมืองคลีฟแลนด์และอยู่ในโรงพยาบาลทหารผ่านศึกแซนตัสกี้เพื่อบำบัดอาการติดสุราเรื้อรังอยู่เสมอ
ดูเผินๆ ด.ร. สวีนีย์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้
แต่ผู้กองเดวิด คาวเลส กลับติดใจไม่เลิก ถึงกลับลงทุนไปสืบหาข้อมูลในโรงพยาบาลทหารผ่านศึกแซนตัสกี้ ก็พบข้อเท็จจริงที่ว่า แท้ที่จริงแล้ว ด.ร.แฟรค์ อี.สวีนีย์ ไม่ได้อยู่ในความเข้มงวดของแพทย์ที่ดูแลสักเท่าไร เป็นไปได้ที่เขาจะเดินทางโดยรถและรถไฟเพื่อสังหารเหยื่อและกลับมาโรงพยาบาลใหม่ และก็เป็นจริงถ้าเกิดว่า ด.ร. สวีนีย์ หายตัวเมื่อไร มักจะมีการพบศพเหยื่อเกิดขึ้นเสมอ
แต่ความจริงก็สะดุดลงอีกครั้ง
จุดเริ่มต้นของคดีที่ยิ่งกว่าเชอรรี่ แอน
แม้จะมีหลักฐาน แต่เขาก็ไม่สามารถทำอะไรกับ ด.ร. สวีนีย์ มากนัก เนื่องจากเขาเป็นญาติกับสมาชิกสภาคองเกส มาร์ติน แอล สวีนีย์ นักการเมืองฝีปากกล้า ผู้มีอำนาจมากในการเมืองท้องถิ่นของพรรคเดโมแครต ซึ่งมักเป็นไม้เบื่อไม้เมากับเอลเลียต เนส อยู่บ่อย ๆ
จนกระทั้งศพที่ 10 ปรากฏตัวขึ้น จนแล้วจนรอดตำรวจก็ไม่กล้าแตะต้อง ด.ร. สวีนีย์ แต่กลับส่งคนตามไปสะกดรอยเขาเท่านั้น แต่ ด.ร. สวีนีย์ นั้นฉลาดเป็นกรด สามารถหลบหนีการสะกดรอยตามของตำรวจได้เสมอ
กลางปี 1938 เมืองคลีฟแลนด์ก็ความปั่นป่วนวุ่นวายกลับมาอีกครั้ง เมื่อมีการพบซากศพเหยื่อรายที่ 11 และ 12 แต่ตำรวจไม่เชื่อว่าเป็นฝีมือของฆาตกรคิงส์เบอรี เพราะรูปแบบของศพที่นำมาทิ้งและสถานที่ทิ้งศพแตกต่างไปจากเดิม เห็นชัด ๆ ว่าเป็นฝีมือของพวกเลียนแบบ
แต่นั้นไม่สำคัญเท่ากับที่ประชาชนที่ต่างพากันเชื่อว่าสองศพนี้คือเหยื่อของฆาตกรคิงส์เบอรี ความกดดันทั้งจากประชาชน หนังสือพิมพ์ และการเมือง บีบให้เนสหาทางยุติคดีสะเทือนขวัญโดยร็ว
ทางเลือกสุดท้ายคือการสืบสวนผู้ต้องสงสัยที่เขาไม่อยากแตะต้อง นั้นคือ ด.ร.แฟรงค์ อี.สวีนีย์
ถ้าเกิดพลาดขึ้นมานั้นคือตำแหน่งและหน้าที่การงานของเขา
แต่เขาคาดไม่ถึง ว่านี้คือจุดเริ่มต้นของ"คดีโดเลชาล" คดีที่ยิ่งกว่าเชอรี แอน ที่ทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องตายโดยไม่มีความผิด
การสืบสวน ทำกันอย่างลับสุดยอดภายในห้องหรูของโรงแรมโดยมีผู้ร่วมสอบสวนเพียง 4 คน เท่านั้น คือ เอลเลียต เนส, ด.ร.โรยัส กรอสแมน จิตแพทย์ประจำศาล , ผู้กอง เดวิด คาวเลส และ , ด.ร. เลียวนาร์ด คีเลอร์ ผู้ประดิษฐ์เครื่องจับเท็จที่ลงทนเดินทางจากชิคาโกมาพร้อมเครื่องมือตามคำขอของเนส แต่ทั้งหมดต้องระมัดระวังการใช้คำพูดและกริยาไม่ให้ระคายเคืองแก่ ด.ร.สวีนีย์ เพราะเมื่อใดที่เขาไม่พอใจ เขาอาจไปฟ้อง ส.ส.สวีนีย์ ได้ และเมื่อนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็จบลง
ผลการสอบสวน ด.ร.สวีนีย์ปรากฏว่าเขาฉลาดมากสามารถตอบคำถามหลอกล่อราวกับเตรียมมาพร้อมเสร็จสรรพ แถมยังถามหลอกล่อกับคนถามอีก ดังนั้น เนสจึงตัดสินใจใช่เครื่องจับเท็จกับเขา แล้วตอบคำถามเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ผลปรากฏว่าด.ร.สวีนีย์ คือฆาตกร
แต่ถึงกระนั้น ด.ร.สวีนีย์ กลับไม่แสดงอาการสะทกสะท้าน ซ้ำยังท้าทายให้หาหลักฐานเอาผิดกับเขาอีกต่างหาก
แน่นอนนี้คือจุดอ่อนของการสืบสวนคดีนี้ เขาไม่มีหลักฐานใด ๆ ทั้งสิ้นในการมัดตัวเขาได้ ซ้ำยังมีอิทธิพลกับท่าน ส.ส. อีก จนในที่สุดก็เพียงแค่ปล่อยเขาออกไปและส่งคนสะกดรอยเขาเท่านั้น
นี้คือความพ่ายแพ้ของเจ้าหน้าที่!
ต่อมา ด.ร.สวีนีย์ ก็เข้า ๆ ออก ๆ ในโรงพยาบาลหลายครั้งและย้ายรักษาตัวในโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศ จนกระทั่งเสียชีวิตในโรงพยาบาลทหารผ่านศึกเดย์ตัน ในปี 1965 ทิ้งปริศนาว่าเขาคือฆาตกรคิงส์เบอรี รัน หรือไม่ แต่ในช่วงที่เขาเข้า ๆ ออก โรงพยาบาลนั้น ฆาตกรคิงส์เบอรี รัน ก็หยุดอาระวาดลงโดยบริยายในปี 1938
แพะรับบาป
ในที่สุด การอาละวาดฆ่าคนของฆาตกรคิงส์เบอรี รัน ก็ยุติลงในปี 1938 แต่การล่าตัวฆาตกรยังดำเนินต่อไป เพื่อหาผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้
ทางด้าน ส.ส.มาร์ติน แอล สวีนีย์ เมื่อรู้ว่าญาติของเขาคือผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่งในคดีฆาตกรรมคิงส์เบอรี รัน จึงอยากจะป้องกันชื่อเสียงของเขาขึ้น จึงได้ร่วมมือกับนายอำเภอเขตคูยาโฮกา มาร์ติน แอล.โอดอนเนล เพื่อดำเนินการเรื่องหนึ่ง
หาแพะรับบาป!
และคนที่รับบทเป็นแพะรับบาปคนนั้นก็คือ แรค์ โดเลซาล
เขาถูกบังคับให้รับสารภาพ รวมทั้งการสร้างพยานหลักฐานเท็จเพื่อให้เชื่อว่า เขาคือฆาตกรฆ่าโสเภณี ขี้เมาโพลิสโล เหยื่อรายที่ 2 ของฆาตกรคิงส์เบอรี รัน จากนั้นก็ยัดเข้าห้องขังก่อนที่พวกตำรวจเมืองคลีฟแลนด์มายุ่งเกี่ยว
อย่างไร ความจริงย่อมหนีความจริงไม่พ้น เพราะต่อมาได้มีการพิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จ และตัวโดเลซาลเองในตอนหลังก็กลับคำให้การ โดยอ้างว่าเขาถูกบีบถูกบีบบังคับให้สารภาพ
เมื่อแผนที่วางไว้ไม่เป็นไปตามแผน ทั้งส.ส.และ นายอำเภอจึงมีแผนสำรองเมื่อล้มเหลว
สิงหาคม 1939 มีผู้พบศพโดเลซาลผูกคอตายในห้องขัง !
ไม่มีหลักฐานหรือสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นว่าเขาตัดสินใจฆ่าตัวตายหรือถูกฆ่าตัวตายกันแน่
คดีนี้ก็จบลงว่าเขาตัดสินใจฆ่าตัวตายเพราะทนแรงกดดันไม่ไหว ท่ามกลางความแคลงใจของบรรดาญาติ ๆ และสาธารณชนที่คิดว่าเขาถูกฆ่าปิดปาก
หลังจากนั้นเป็นต้นมาการสืบตัวฆาตกรก็ได้รับความสนใจน้อยลง จนกระทั้งเลิกราไปในที่สุด ทิ้งคดีฆาตกรรมนี้ในแฟ้มประวัติอาชญากรรมที่ไขไม่ออกมาจนกระทั้งทุกวันนี้
http://www.shockfmonline.com/70-shockstory-%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%20%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%99%20%20%E0%B8%86%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7
|
|
|
|
|
|