พลิกปลูม ศิลาจารึกหลักที่ 1
ร.4 ขณะดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ และทรงเพศบรรพชิต ได้เสด็จไปจาริกแสวงบุญที่เมืองสุโขทัยเก่า เมื่อ พ.ศ. 2376 และทรงพบจารึกหลักที่ 1 แห่งเดียวกับพระแท่นมนังคศิลา คือ เนินปราสาท ตรงข้ามวัดมหาธาตุ
ศิลาจารึกนี้ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า จารึกของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งได้จารึกขึ้นในปี พ.ศ. 1835
ภาษาที่ใช้และตัวอักษร เป็นภาษาไทย
ตอนที่ 1
ตั้งแต่ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1-18 เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง โดยใช้คำว่า "กู" เป็นพื้น ดังปรากฏหลักฐาน ในศิลาจารึก คือ
"พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูเชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้าย ตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก..."
ตอนที่ 2
ตั้งแต่ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 19 ถึงด้านที่ 4 บรรทัดที่ 11 รวม 90 บรรทัด เป็นการพรรณนาถึงเมืองสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหง เกี่ยวกับสภาพบ้านเมือง ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎหมาย พระพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา การสร้างพระแท่นศิลาบาตร การประดิษฐ์ลายสือไท แต่ไม่ได้ใช้คำว่า "กู" แต่ใช้คำว่า "พ่อขุนรามคำแหง" เช่น "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง...ลายสือไทนี้จึงมีขึ้นเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ "
ตอนที่ 3
ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 11 จนถึงบรรทัดสุดท้าย รวม 16 บรรทัด เป็นการกล่าวสรุปสรรเสริญ และยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช รวมทั้งกล่าวถึงอาณาเขตของอาณาจักร เมืองสุโขทัย
ในตอนนี้ ตัวหนังสือไม่เหมือนกับตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ด้วย มีพยัญชนะลีบกว่า และสระที่ใช้ก็ต่างกันบ้าง