เรื่องราว...มรดกไทยในธนบัตร

ธนบัตร สื่อทำหน้าที่เผยแพร่ เอกลักษณ์ประจำชาติให้ทั่วโลกรู้จัก


ธนบัตรเป็นของมีค่าที่ชนในชาติตระหนักในความสำคัญและคุณค่า และยังเป็นสื่อทำหน้าที่เผยแพร่ เอกลักษณ์ประจำชาติให้ทั่วโลกรู้จัก ดังนั้น การพิมพ์ธนบัตรจึงมักนำภาพที่เป็น สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง ความภาคภูมิใจ มาเป็นส่วนประกอบในธนบัตร
ธนบัตรของไทยก็เช่นเดียวกัน ได้แสดงถึงประวัติศาสตร์ และอารยธรรมของไทย ที่ชนชาวไทยมีความ ประทับใจและภาคภูมิใจ บรรดาศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า จึงได้นำมาแสดงไว้ในธนบัตรอย่างผสมกลมกลืน มรดกไทยในธนบัตร แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ


มรดกไทยในธนบัตร แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ


มรดกไทยในธนบัตร แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ ประกอบด้วย พระราชกรณียกิจของพระบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าที่ทรงพระคุณอย่างยิ่งแก่ชาวไทย ได้แก่ธนบัตรแบบ 12 เป็นภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ของมหาราช ผู้ทรงกอบกู้อิสระภาพและรักษา เอกราชของชาติไว้ ส่วนธนบัตรแบบ 13 และต่อมา เป็นภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์กับพระราชกรณียกิจที่สำคัญ

ภาพประธานด้านหลังธนบัตร  ชนิดราคา  100  บาท  แบบ 12ภาพประธานด้านหลังธนบัตร ชนิดราคา 100 บาท แบบ 12


ภาพประธานด้านหลังธนบัตร  ชนิดราคา  100  บาท  แบบ 12ภาพประธานด้านหลังธนบัตร ชนิดราคา 100 บาท แบบ 12




เป็นภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคธาธารชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ ประดิษฐาน ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พระบรมราชานุสาวรีย์นี้เป็นอนุสรณ์ที่พระองค์ ทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ครั้งสงครามยุทธหัตถี ที่หนองสาหร่ายเขตเมืองสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2535 พระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่าที่ยกมารุกรานไทยถูกพระแสงของ้าวสิ้นพระชนม์ และกองทัพพม่า ต้องแตกพ่ายกลับไป

ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา  20  บาท  แบบ  12ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา 20 บาท แบบ 12


ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา  20  บาท  แบบ  12ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา 20 บาท แบบ 12



เป็นภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงม้าศึกพร้อมทหารคู่พระทัยทั้งสี่คือ พระเชียงเงิน หลวงพิชัยอาสา หลวงราชเสนา และหลวงพรหมเสนา ประดิษฐาน ณ สวนสาธารณทุ่งนาเชย อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี พระบรมราชานุสาวรีย์นี้เป็นอนุสรณ์ที่พระองค์ทรงนำไพร่พล ตีฝ่าวงล้อมของกองทัพพม่า ที่ยกมาล้อมกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2310 เมื่อตีฝ่าวงล้อมออกไปได้ ก็มุ่งหน้าไปเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นในการกอบกู้บ้านเมือง และทรงสามารถกระทำได้สำเร็จหลังจาก เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเพียง 7 เดือน

ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา  10  บาท  แบบ  12ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา 10 บาท แบบ 12


ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา  10  บาท  แบบ  12ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา 10 บาท แบบ 12



เป็นภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยะมหาราชทรงม้า หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่าพระบรมรูปทรงม้า ประดิษฐาน ณ ลานพระราชวังดุสิต พระบรมราชานุสาวรีย์นี้เป็นอนุสรณ์ที่พระองค์ทรงทำนุบำรุง อาณาประชาราษฎร์ ให้อยู่เย็นเป็นสุข ตลอดรัชสมัยของพระองค์ อีกทั้งยังทรงนำประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์อีกนานัปการให้เป็นไปด้วยดี และดำรงเอกราชของชาติไว้ได้ท่ามกลางการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในครั้งนั้น นอกจากนั้นยัง ได้ทรงพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้ากว่ายุคใดสมัยใด

ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา  500  บาท  แบบ  13ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา 500 บาท แบบ 13



ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา  500  บาท  แบบ  13ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา 500 บาท แบบ 13



เป็นภาพพระบรมราชนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประดิษฐาน ณ เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า ฝั่งพระนคร พระบรมราชานุสาวรีย์นี้ เป็นอนุสรณ์ที่พระองค์ทรงเป็นพระปฐมกษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสร้างกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี ทรงทำศึกสงครามป้องกันเอกราชอธิปไตย ของชาติ และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจที่สร้างความเจริญรุ่งเรือง และความเป็นปึกแผ่นของประเทศชาติ ไว้เป็นอันมาก

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์