สังเคราะห์ “ลาเมลลาริน” สารต้านมะเร็ง

ทีมนักวิจัยจุฬาภรณ์ทีมนักวิจัยจุฬาภรณ์


          นักวิจัยจุฬาภรณ์คิดค้นวิธีสังเคราะห์ “ลาเมลลาริน” สารต้านมะเร็งที่มีในสัตว์ทะเลบางชนิดได้สำเร็จ หวังให้มีปริมาณสารเพียงพอต่อการทดสอบฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งโดยไม่ต้องสกัดจาก สัตว์ทะเลแหล่งกำเนิดลาเมลลารินในธรรมชาติที่มีอยู่เพียงน้อยนิด ทั้งยัง
พบสารสังเคราะห์ในกลุ่มเดียวกันที่ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีโดยที่ไม่เป็น พิษกับเซลล์ปกติ
       
          สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์สังเคราะห์ "ลาเมลลาริน" (lamellarin) เลียนแบบที่มีในธรรมชาติได้สำเร็จ ทั้งยังดัดแปลงโครงสร้างสารในกลุ่มนี้จนได้ลาเมลลารินสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ ต้านเซลล์มะเร็งได้ดีโดยที่ไม่ทำลายเซลล์ปกติ ทีมวิจัยเผย จำเป็นต้องสังเคราะห์เพราะในธรรมชาติมีน้อยเกินกว่าจะนำมาใช้ในงานวิจัยได้ และเพื่อปูทางสู่การพัฒนายาต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องรบกวนระบบ นิเวศน์ในทะเล

สัตว์ทะเลสัตว์ทะเล


           ดร.พูนศักดิ์ พลอยประดิษฐ์ นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการเภสัชเคมี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ให้ข้อมูลว่า ในธรรมชาติจะพบกลุ่มสาร "ลาเมลลาริน" ได้ในสัตว์ทะเลจำพวกหอย เพรียง และฟองน้ำ โดยออสเตรเลียรายงานการค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อกว่า 20 ปีก่อน และมีการสกัดสารในกลุ่มลาเมลลารินจากธรรมชาติได้แล้วมากกว่า 35 ตัว พบว่าบางตัวบางมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ และยับยั้งไม่ให้เซลล์มะเร็งดื้อยาได้ด้วย
      
           "ลาเมลลารินในธรรมชาติมีน้อยมากๆ เพราะโครงสร้างของสัตว์ทะเลส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยน้ำและเกลือกว่า 90% และต้องนำ 10% ที่เหลือมาวิเคราะห์หาปริมาณลาเมลลารินที่มีอยู่ไม่มาก ฉะนั้นต้องใช้วัตถุดิบหลายกิโลกรัมกว่าจะได้ลาเมลลารินเพียงไม่กี่มิลลิกรัม และยังไม่เพียงพอต่อการทดสอบ ซึ่งเป็นการรบกวนธรรมชาติในทะเลและ อาจส่งผลให้สัตว์ทะเลเหล่านั้นสูญพันธุ์ได้" ดร.พูนศักดิ์ เผย ซึ่งเขาและทีมวิจัยพยายามสังเคราะห์ลาเมลลารินจนเป็นผลสำเร็จ และนำมาทดสอบการออกฤทธิ์โดยที่ไม่เคยใช้ลาเมลลารินจากธรรมชาติเลย


โครงสร้างลาเมลลารินโครงสร้างลาเมลลาริน


           ดร.พูนศักดิ์ อธิบายต่อว่า ลาเมลลาลินที่มีโครงสร้างเหมือนในธรรมชาติและมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ ขณะเดียวกันก็มีความเป็นพิษกับเซลล์ปกติอีกด้วย ทีมวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้พยายามปรับปรุงสารสังเคราะห์ในกลุ่มลาเมลลารินให้มีโครงสร้างแตกต่างจาก โครงสร้างที่พบในธรรมชาติ โดยที่ยังคงโครงสร้างหลักของลาเมลลารินอยู่ ขณะนี้สังเคราะห์ได้ถึง 50 โครงสร้างแล้ว
      
          "เราทดลองให้ลาเมลลารินกับเซลล์มะเร็งที่ดื้อยาก่อน แล้วค่อยให้ยาที่มันเคยดื้อ กลับกลายเป็นว่ายานั้นมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีเหมือนก่อน และที่สำคัญพบว่า ลาเมลลารินสังเคราะห์บางตัวที่ไม่มีในธรรมชาติมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีและไม่ทำลายเซลล์ปกติเหมือน อย่างลาเมลลารินสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างแบบเดียวกับในธรรมชาติ" ดร.พูนศักดิ์ เผยผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งทางทีมวิจัยเตรียมยื่นของจดสิทธิบัตรลาเมลลาลินสังเคราะห์ที่ไม่มีในธรรมชาติ ขณะที่ได้ยื่นจดสิทธิบัตรกระบวนการสังเคราะห์ลาเมลลารินไปแล้ว

สัตว์ทะเลสัตว์ทะเล


           อย่างไรก็ดี ความเข้าในธรรมชาติของลาเมลลารินยังมีไม่มาก นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าสัตว์ทะเลเหล่านั้นสังเคราะห์ลาเมลลารินขึ้นมาเพื่ออะไร และกลไกการยับยั้งเซลล์มะเร็งของลาเมลลารินเป็นอย่างไร ซึ่งนักวิจัยยังต้องศึกษากันต่อไป แต่ทั้งนี้ นักวิจัยทราบแล้วว่าเอนไซม์โทโพไอโซเมอเรส (topoisomerase) เป็นเอนไซม์สำคัญในเซลล์มะเร็ง
      
            ดร.พูนศักดิ์ อธิบายว่า สามารถออกแบบลาเมลลารินให้มีโครงสร้างเหมาะสมต่อการยับยั้งเอนไซม์โทโพไอโซ เมอเรสได้ แต่ก็ต้องศึกษากลไกการออกฤทธิ์อย่างละเอียดถี่ถ้วน เพราะในเซลล์ปกติก็มีการสร้างเอนไซม์เดียวกันนี้ด้วย ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาที่จะพัฒนาให้เป็นยารักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพและ ไม่เป็นอันตรายกับผู้ป่วย
      
           ส่วนกระบวนการสังเคราะห์ลาเมลลารินนั้น ดร.พูนศักดิ์ ยังต้องการพัฒนาให้มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากมาก ให้ผลิตภัณฑ์สูง มีฤทธิ์ทางยาสูง มีความเป็นพิษต่ำ มีวิธีการที่ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน และไม่สร้างสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม

สัตว์ทะเลสัตว์ทะเล


ขอบคุณข้อมูลจาก manager

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์