ความรู้เรื่องหมู่โลหิต

ความรู้เรื่องหมู่โลหิต


ความรู้เรื่องหมู่โลหิต


ความสำคัญของหมู่โลหิต

          ทุกท่านควรทราบว่าตนเองมีหมู่โลหิตอะไร เพราะมีความสำคัญอย่างมากต่อการรับโลหิตและการบริจาคโลหิตในกรณีเร่งด่วน

          ปัจจุบันหมู่โลหิตสามารถจำแนกได้มากกว่า 20 ระบบ ระบบหมู่โลหิตที่สำคัญที่ทุกคนควรทราบ ได้แก่ หมู่โลหิตระบบ ABO และระบบ Rh

          หมู่โลหิตระบบ ABO

          การ ค้นพบหมู่โลหิตระบบนี้เริ่มในปี ค.ศ.1900 โดย คาร์ล แลนด์ สไตเนอร์ เป็นผู้สังเกตพบว่าเม็ดโลหิตแดงของผู้ร่วมงานทำปฏิกิริยากับน้ำเหลืองอีกคน หนึ่ง เขาจึงได้ทดลองเจาะโลหิตของผู้ร่วมงานจำนวน 6 คน แล้วนำมาแยกเม็ดโลหิตแดงและน้ำเหลืองออกจากกัน ต่อจากนั้นเขาได้นำเม็ดโลหิตแดงและน้ำเหลืองของแต่ละคนมาทำปฏิกิริยาสลับกัน ไปมา ปรากฏว่าบางคู่เกิดปฏิกิริยาจับกลุ่ม จากปรากฏการณ์นี้ต่อมาในปี ค.ศ.1901 คาร์ล แลนด์ สไตเนอร์ จึงสรุปผลการทดลองค้นคว้าว่าโลหิตแบ่งออกเป็น 3 หมู่ คือ หมู่ A,B และ O สำหรับหมู่ที่ 4 คือ AB พบโดย วอน เดอ คาสติโล และสเตอลิ ในปี ค.ศ.1902

           
การจำแนกหมู่โลหิตในระบบ ABO

           จะมีสารโปรตีน (Antigen) เป็นตัวจำแนกหมู่โลหิต คือ สารโปรตีน A (Antigen-A) และสารโปรตีน B (Antigen-B) เป็นตัวกำหนด กล่าวคือ

           หมู่โลหิต A   คือ หมู่โลหิตที่มีสารโปรตีน A (Antigen-A) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง และมี Antibody-B อยู่ในน้ำเหลือง

           หมู่โลหิต B คือ หมู่โลหิตที่มีสารโปรตีน B (Antigen-B) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง และมี Antibody-A อยู่ในน้ำเหลือง

           หมู่โลหิต O คือ หมู่โลหิตที่ไม่มีสารโปรตีน A (Antigen-A) และสารโปรตีน B(Antigen-B) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดงแต่มี Antibody-A และ Antibody-B อยู่ในน้ำเหลือง

           หมู่โลหิต AB   คือ หมู่โลหิตที่มีสารโปรตีน A (Antigen-A) และสารโปรตีน B(Antigen-B) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ไม่มี Antibody-A และ Antibody-B อยู่ในน้ำเหลือง

          
หมู่โลหิตระบบ Rh

             หมู่โลหิตของมนุษย์เรานอกจากจะมีระบบ ABO และ ยังมีหมู่โลหิตอีกระบบที่เรามักจะไม่คุ้นหูกัน คือ หมู่โลหิตระบบอาร์เอช (Rh)

             การ ค้นพบหมู่โลหิตระบบ Rh นั้น ในปี ค.ศ.1939 มีนักวิทยาศาสตร์ 2 คน ชื่อ เลอวิน และ ลีเวน เวล สเต็ดสัน ได้พบว่าหลังจากที่ทำการถ่ายโลหิตให้สตรีผู้หนึ่งซึ่งเสียโลหิตจากการคลอด บุตรที่ตายในครรภ์ จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่าโลหิตในตัวลูกมีปฏิกิริยากับเม็ดโลหิตแดง ของแม่ ทำให้เม็ดโลหิตแดงแตกในตอนนั้นเข้าใจว่าในตัวสตรีผู้นั้นได้รับสารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะต่างจากเม็ดโลหิตแดงของลูกซึ่งถ่ายจากพ่อ ต่อมาในปี ค.ศ.1940 มีนักวิทยาศาสตร์อีก 2 คนชื่อ คาร์ล แลนด์ สไตเนอร์ ร่วมกับอเล็กซานเดอร์ วินเนอร์ ทำการทดลองฉีดเม็ดโลหิตแดงของลิงเข้าไปในกระต่ายและหนู  พบว่าน้ำเหลืองของกระต่ายทำปฏิกิริยากับเม็ดโลหิตแดงของลิง  และยังทำปฏิกิริยากับเม็ดโลหิตแดงของคนอีก 84 % ต่อมาภายหลังได้พบปรากฏการณ์เช่นนี้ในคน 3 คน ที่ได้รับโลหิตหมู่ ABO ที่ตรงกัน ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากโลหิตหมู่พิเศษ นอกเหนือไปจากหมู่โลหิต ABO จึงได้ตั้งชื่อหมู่โลหิตนี้ว่า อาร์เอช ((Rh)

          
การจำแนกหมู่โลหิตระบบ Rh 

             จะ มีสารโปรตีนที่ฉาบอยู่บนผิวของเม็ดโลหิตแดง ซึ่งเรียกว่า สารโปรตีน ดี (Antigen-D) เป็นตัวบ่งบอก หมู่โลหิตระบบ Rh แบ่งออกเป็น 2 หมู่ คือ

           1. หมู่โลหิต Rh บวก (Rh positive) คือ หมู่โลหิตที่มีสารโปรตีน ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยมีหมู่โลหิต Rh บวก ประมาณ 99.7 % ซึ่งหมู่โลหิต Rh บวกนี้ เราเรียกง่าย ๆ ว่า “หมู่โลหิตธรรมดา”

            2. หมู่โลหิต Rh ลบ (Rh negative) คือหมู่โลหิตที่ไม่มีสารโปรตีน ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยพบว่ามีหมู่โลหิตนี้เพียง 0.3 % หรือ 1,000 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น ซึ่งเราเรียกง่ายๆ ว่า "หมู่โลหิตหายาก" หรือ "หมู่โลหิตพิเศษ" (Rh negative) นั่นเอง

สถิติหมู่โลหิตของคนไทย

             O      38 %

             B       34 %

             A       21 %

             AB      7 %

             Rh(-)  0.3 %



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์